พจน์ สารสิน
พจน์ สารสิน ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๓ (25 มีนาคม พ.ศ. 2448 – 28 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งประเทศเวียดนามใต้ และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
พจน์ สารสิน | |
---|---|
พจน์ ใน พ.ศ. 2498 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 9 | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501[1] (0 ปี 102 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (หัวหน้าคณะปฏิวัติ) |
ถัดไป | ถนอม กิตติขจร |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (2 ปี 253 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ประภาส จารุเสถียร | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 (0 ปี 139 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 3 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
ถัดไป | เสริม วินิจฉัยกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (7 ปี 341 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 (1 ปี 26 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
ถัดไป | บุญชนะ อัตถากร |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2509 – 9 เมษายน พ.ศ. 2512 (2 ปี 300 วัน) | |
ถัดไป | ศาสตราจารย์พิมล กลกิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พจน์ 25 มีนาคม พ.ศ. 2448 เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 28 กันยายน พ.ศ. 2543 (95 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | สหประชาไทย |
คู่สมรส | ศิริ โชติกเสถียร |
บุตร | |
บุพการี |
|
ประวัติและครอบครัว
แก้พจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2449 (นับแบบใหม่) ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก เมืองพระนคร (ในปัจจุบันคือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) กับคุณหญิงสุ่น สารสินสวามิภักดิ์ เริ่มศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ต่อจากนั้นถูงส่งไปเรียนที่สหรัฐ เมื่อกลับสู่ประเทศสยาม ได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ
โดยที่บิดา คือ พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้; จีน: 黄天喜)[2] เป็นแพทย์ชาวจีนอพยพเชื้อสายไหหลำที่เดินทางมาอาศัยยังประเทศสยามตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2443 และรับราชการเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตระกูลสารสินถือเป็นตระกูลนักธุรกิจที่มั่งคั่งและมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง และมีสายสัมพันธ์อันดีกับทางราชการมาโดยตลอด[3]
พจน์ สารสิน สมรสกับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน (สกุลเดิม โชติกเสถียร) มีบุตรธิดาทั้งหมด 5 คน คือ เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองที่มีชื่อเสียง พลตำรวจเอกเภา สารสิน เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจ บัณฑิต บุณยะปาณะ เป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง อาสา สารสิน เป็นอดีตราชเลขาธิการใน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[4][5][6]
ชีวิตการเมือง
แก้พจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม โดยการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[8] แต่ภายหลังได้ลาออก[9] เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งประเทศเวียดนามใต้
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2500 เวลา 23.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการให้เลิกประกาศกฎอัยการศึกในบางจังหวัด โดยทรงยกเลิกกฎอัยการศึกทั้งหมด 46 จังหวัด และให้คงกฎอัยการศึกไว้ทั้งหมด 26 จังหวัด จากทั้งหมด 72 จังหวัด โดยพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[10]
ในปี พ.ศ. 2506 พจน์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ[11]
งานระหว่างประเทศ
แก้ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2500 พจน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้พจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500[12] หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว พจน์ สารสินก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม หลังชีวิตราชการพจน์พำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง [13]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พจน์ สารสิน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2543 เวลา 11.40 น. ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รวมอายุได้ 95 ปี 187 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[18]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของพจน์ สารสิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- บุญพิสิฐ ศรีหงส์. “ถ้าเราไม่เริ่มกระทำในสิ่งที่ถูกกันแล้ว ก็คงจะไม่มีโอกาสทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปในอนาคต.” ใน วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (บรรณาธิการ), สารสิน: อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายพงส์ สารสิน. หน้า 106-179. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2564.
อ้างอิง
แก้- ↑ นายกรัฐมนตรีไทย (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) เก็บถาวร 2015-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 30 มิถุนายน 2557
- ↑ [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (April 2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. p. 17. ISBN 962-620-127-4.
- ↑ Chris Baker, Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press. p. 98. ISBN 0-521-81615-7.
- ↑ "Pao Sarasin dies at 83". Bangkok Post. 2013-03-08. สืบค้นเมื่อ 2013-03-30.
- ↑ "Former deputy PM Pao Sarasin dies". The Nation (Thailand). 2013-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-30.
- ↑ Menues chroniques d'un séjour en Thaïlande (1989-1992)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ลาออก โดยแต่งตั้ง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และนายพจน์ สารสิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่งตั้ง นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ ฯ แทน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการให้เลิกประกาศกฎอัยการศึก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายพจน์ สารสิน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนพิเศษที่ 79ก วันที่ 21 กันยายน 2500
- ↑ "ชีวประวัติจากสำนักนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๑, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๑๑๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๗๗๗, ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
ก่อนหน้า | พจน์ สารสิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แปลก พิบูลสงคราม | นายกรัฐมนตรีไทย (21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501) |
ถนอม กิตติขจร | ||
ประภาส จารุเสถียร | รองนายกรัฐมนตรีไทย (9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
ประภาส จารุเสถียร | ||
แปลก พิบูลสงคราม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2493) |
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | ||
สุนทร หงส์ลดารมภ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512) |
บุญชนะ อัตถากร | ||
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 กันยายน พ.ศ. 2500) |
เสริม วินิจฉัยกุล | ||
พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
ยกเลิกตำแหน่ง | ||
สถาปนาตำแหน่ง | อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (14 มิถุนายน พ.ศ. 2509 - 9 เมษายน พ.ศ. 2512) |
ศาสตราจารย์พิมล กลกิจ |