พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) (22 มีนาคม พ.ศ. 2439 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 | |
ก่อนหน้า | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | พจน์ สารสิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 9 กันยายน พ.ศ. 2507 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ถัดไป | พลโท แสวง เสนาณรงค์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มีนาคม พ.ศ. 2439 |
เสียชีวิต | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (81 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงอุดมพร ประกาศสหกรณ์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2474 มีตำแหน่งเป็นสารวัตรใหญ่สหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์[1] เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติม พ.ศ. 2477 ฉบับที่ 3 ยกฐานะทบวงเกษตราธิการเป็น กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระประกาศสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 จนถึง พ.ศ. 2485[2] จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตราธิการ[3]
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พระประกาศสหกรณ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ในรัฐบาลพลโท ถนอม กิตติขจร[4] และดำรงตำแหน่งต่อมาจนถึงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[5] ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเพิ่มอีกสองตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม[6] ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี[7] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในรัฐบาลพลเอก ถนอม กิตติขจร วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2507 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512[8]
พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521[9]
ครอบครัวแก้ไข
พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) สมรสกับคุณหญิงอุดมพร ประกาศสหกรณ์ (วีรเธียร) มีบุตร-ธิดา 3 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2511 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2504 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2497 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
- ↑ ทำเนียบนายทะเบียนสหกรณ์
- ↑ ประวัติกรมส่งเสริมสหกรณ์
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕, ตอน ๓๙ ง, ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์