แสวง เสนาณรงค์
พลเอก แสวง เสนาณรงค์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เขาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของจอมพล ถนอม กิตติขจร[1]
แสวง เสนาณรงค์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (5 ปี 74 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) |
ถัดไป | มนูญ บริสุทธิ์ |
เลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | ฉาย วิโรจน์ศิริ |
ถัดไป | พลตรี เนตร เขมะโยธิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 จังหวัดธนบุรี |
เสียชีวิต | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (61 ปี) |
พรรคการเมือง | สหประชาไทย |
คู่สมรส | หม่อมหลวงนวลผ่อง เสนาณรงค์ |
ประวัติ
แก้พลเอก แสวง เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของพลเอก หลวงเสนาณรงค์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วจึงได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แต่แสวง เรียนถึงแค่ปี 3 ก็ถูกคัดเลือกส่งไปเรียนวิชาทหารต่อที่ประเทศเบลเยียม เมื่อปี พ.ศ. 2480 เรียนได้ 3 ปี เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป เขาจึงต้องย้ายไปเรียนที่อิตาลี ต่อมารัฐบาลไทยจึงให้แสวงกับ สนั่น พูนพัฒน์ เดินทางขึ้นไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ไปเรียน “วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง” จึงมีส่วนทำให้เขาเป็นทหารการเมืองมาก ได้ศึกษาทั้งเรื่องทหารและการเมืองอย่างลึกซึ้ง ครั้นสงครามโลกสิ้นสุดลง แสวงก็ได้เดินทางกลับไทยในปี พ.ศ. 2489
- หลังจบการศึกษาเขากลับมารับราชการทหารที่จังหวัดลพบุรี ต่อมาได้เข้ามาช่วยงานในพรรคเสรีมนังคศิลา และแสวงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน 3 รัฐบาลต่อเนื่องกัน (ครม.31, ครม.32, ครม.33) แต่ที่รู้กันทั่วไปคือบทบาทสำคัญของท่านในการตั้งพรรคสหประชาไทย หลังมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 โดยเขาเป็นรองเลขาธิการ[2][3] พรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งขึ้นมารวบรวมนักการเมืองส่งลงแข่งขันเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2512 มีบทบาทสำคัญคุมเสียงข้างมากในสภาฯระหว่างปี 2512 ถึงปี 2514
พลเอก แสวง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511 และลาออกในปี พ.ศ. 2512[4] รวมทั้งยังเคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประทศ
แก้- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2496 - เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นเชอวาลีเย[8]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 2[9]
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[10]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ[11]
- มาเลเซีย :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[13]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นทวีติยาภรณ์[13]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[13]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นทวีติยาภรณ์[13]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 2[13]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมสายสะพาย)[13]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1[13]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 2[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ นายกรัฐมนตรีทหารของไทย
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสหประชาไทย) เล่ม 85 ตอน 117 ง พิเศษ หน้า 3375 10 ธันวาคม พ.ศ. 2511
- ↑ 24 ต.ค.2511 รู้จักมั้ยคนไทย พรรคสหประชาไทย โดยจอมพลถนอม
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (27 พฤษภาคม 2512). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2512" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 86 (46ง): 1836. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (8 กันยายน 2507). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 81 (85ง): 2337. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (29 สิงหาคม 2510). "แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2510" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 84 (80ง): 2447. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 70 ตอนที่ 80 หน้า 5534, 29 ธันวาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 95 หน้า 2430, 22 พฤศจิกายน 2503
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1318, 30 เมษายน 2506
- ↑ 11.0 11.1 11.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 90 หน้า 2451, 22 กันยายน 2507
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 13, 14 กรกฎาคม 2510
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2354, 15 ตุลาคม 2510