เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์

เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (ฝรั่งเศส: Ordre national de la Légion d'honneur, ออกเสียง: [ɔʀdʀ nasjɔnal də la leʒjɔ̃ dɔnœʀ]; อังกฤษ: National Order of the Legion of Honour) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศฝรั่งเศส มอบเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ทหารและพลเรือน นโปเลียน โบนาปาร์ต กงสุลเอกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2345 มีห้าชั้น ได้แก่ กร็อง-ครัว กร็องตอฟีซีเย กอม็องเดอร์ ออฟีซีเย และเชอวาลีเย ตามอันดับ

เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
เครื่องอิสริยาภรณ์ประจำชาติกองทหารเกียรติยศ

เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
ชั้นกร็อง-ครัว (แบบปัจจุบัน)
ประเภทอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนา19 พฤษภาคม พ.ศ. 2345
ประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส
ผู้สมควรได้รับผู้ประกอบความชอบตามที่
คณะกรรมการเครื่อง
อิสริยาภรณ์กำหนด
ผู้สถาปนานโปเลียน โบนาปาร์ต
ประธานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
สถิติการมอบ
รายแรกเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2437
ทั้งหมดกร็อง-ครัว 61 ราย
กร็องตอฟีซีเย 321 ราย
กอม็องเดอร์ 3,626 ราย
ออฟีซีเย 22,401 ราย
เชอวาลีเย 87,371 ราย
ลำดับเกียรติ
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์ลีเบราซียง
(ฝรั่งเศส: Libération)

ปัจจุบัน มีประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเป็นประธาน และรักษาไว้ที่ "ตำหนักเลฌียงดอเนอร์" (ฝรั่งเศส: Palais de la Légion D'honneur) ริมฝั่งซ้ายน้ำแซน ณ กรุงปารีส ทั้งนี้ คำว่า "เลฌียงดอเนอร์" มีความหมายว่า "กองพลเกียรติยศ" และคติพจน์แห่งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ คือ "เกียรติยศและปิตุภูมิ" (ฝรั่งเศส: Honneur et Patrie; อังกฤษ: Honour and Fatherland)

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ แก้

 
"รัฐบัญญัติสถาปนาเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2345" ("Loi du 19 mai 1802 portant création de la Légion d'honneur")

ปัจจุบัน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นประธานแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานโดยตำแหน่ง โดยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งตามที่ประธานแต่งตั้งเป็นเลขาธิการแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์ดังกล่าว

ประธานมีอำนาจแต่งตั้งให้บุคคลเป็นสมาชิกตามชั้นสูงต่ำโดยสมควร และเรียกคืนเครื่องอิสริยาภรณ์ ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี

บุคคลผู้มีสัญชาติฝรั่งเศสอาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในการสนองราชการพลเรือนหรือราชการทหาร เป็นต้นว่า ทหารผ่านศึก ซึ่งปรกติมักเริ่มที่ชั้นเชอวาลีเย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้มีการขยายวงผู้อาจได้รับแต่งตั้งไปถึงผู้มีสัญชาติอื่นแต่ได้มีความชอบเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศสอย่างถึงขนาดด้วย เป็นต้นว่า เซลีน ดิออน นักร้องชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ได้รับมอบเชอวาลีเยเลฌียงดอเนอร์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในฐานะที่ได้สนับสนุนให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นไปในสากล[1] กับทั้งประมุขแห่งรัฐต่างประเทศและคู่สมรส ตลอดจนราชวงศ์ต่างประเทศ ก็อาจได้รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ตามมารยาทในการเจริญสันถวไมตรี

ทั้งนี้ มีข้อห้ามมิให้แต่งตั้งสมาชิกแห่งรัฐสภาเป็นสมาชิกแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ เว้นแต่กรณีที่ผู้นั้นมีความชอบในราชการสงคราม กับทั้งห้ามมิให้คณะรัฐมนตรีเสนอให้ผู้ช่วยปฏิบัติงานส่วนตนได้รับมอบด้วย

เพื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกในชั้นสูงขึ้น ผู้นั้นต้องมีความดีความชอบใหม่นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์ในชั้นปัจจุบันเป็นต้นไป

 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้น กร็อง-ครัว ประมาณปี ค.ศ.1863

เมื่อแรกสถาปนาเครื่องอิสริยาภรณ์ มีการจำกัดจำนวนสำหรับแต่ละชั้นไว้ดังต่อไปนี้

  • ชั้นสูงสุดกร็อง-ครัวให้มีสมาชิก 75 คน
  • ชั้นกร็องตอฟีซีเยให้มีสมาชิก 250 คน
  • ชั้นกอม็องเดอร์ให้มีสมาชิก 1,250 คน
  • ชั้นออฟีซีเยให้มีสมาชิก 10,000 คน และ
  • ชั้นเชอวาลีเยให้มีสมาชิก 113,425 คน


ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา จำนวนดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปดังต่อไปนี้

  • ชั้นสูงสุดกร็อง-ครัวให้มี 61 คน
  • ชั้นกร็องตอฟีซีเยให้มี 321 คน
  • ชั้นกอม็องเดอร์ให้มี 3,626 คน
  • ชั้นออฟีซีเยให้มี 22,401 คน และ
  • ชั้นเชอวาลีเยให้มี 87,371 คน

ด้วยจำนวนที่มากมายนี้จึงมีเรื่องตลกของประเทศฝรั่งเศสอยู่ว่า ประชาชนกว่าครึ่งประเทศต้องการเป็นสมาชิกเครื่องอิสริยาภรณ์ และกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว

บุคคลผู้ได้รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์และได้กระทำความผิดอาญาตามกฎหมายอาจถูกเรียกคืนเครื่องอิสริยาภรณ์ การประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิถือเป็นความผิดอาญา และห้ามมิให้ชาวฝรั่งเศสประดับสายสะพายอิสริยาภรณ์ต่างประเทศซึ่งมีสีแดงเหมือนเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์

ชั้นและเครื่องยศ แก้

 
การประดับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นต่าง ๆ

เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์แบ่งเป็นห้าชั้นและมีเครื่องยศจากต่ำไปสูงดังต่อไปนี้ :

  1. เชอวาลีเย (ฝรั่งเศส: Chevalier ชั้นอัศวิน) : ประดับดวงตรา โดยไม่มีแถบลายเถากุหลาบ เหนืออกซ้าย ตามรูปที่ 1
  2. ออฟีซีเย (ฝรั่งเศส: Officier ชั้นเจ้าพนักงาน) : ประดับดวงตราพร้อมแถบลายเถากุหลาบเหนืออกซ้าย ตามรูปที่ 2
  3. กอม็องเดอร์ (ฝรั่งเศส: Commandeur ชั้นนายกอง) : ประดับดวงตราบนกัณฐาภรณ์ (necklet) หรือแถบห้อยคอ ตามรูปที่ 3
  4. กร็องตอฟีซีเย (ฝรั่งเศส: Grand Officier ชั้นนายทัพ) : ประดับดวงตราพร้อมแถบลายเถากุหลาบเหนืออกซ้าย และประดับดาราเหนืออกขวา ตามรูปที่ 4
  5. กร็อง-ครัว (ฝรั่งเศส: Grand-Croix ชั้นมหากางเขน) : เป็นชั้นสูงสุด ประดับดวงตราและสายสะพายพาดเฉียงจากบ่าขวา และประดับดาราเหนืออกซ้าย ตามรูปที่ 5 (ในภาพเป็นสำรับบุรุษ)
เครื่องหมายแพรแถบย่อ
 
เชอวาลีเย
 
ออฟีซีเย
 
กอม็องเดอร์
 
กร็องตอฟีซีเย
 
กร็อง-ครัว

สมาชิกเลฌียงดอเนอร์ชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง แก้

  1. อิตาลี: วาเลนตีโน การาวานี (Valentino Garavani) นักออกแบบพัสตาภรณ์ ได้รับในเดือนกรกฎาคม 2549
  2. รัสเซีย: วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดี ได้รับในเดือนกันยายน 2549[2]
  3. ออสเตรเลีย : พลอากาศเอกแองกัส ฮูสตัน (Angus Houston) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับกอม็องเดอร์ใน พ.ศ. 2550
  4. อินเดีย: อมิตาภ พัจจัน (Amitabh Bachchan) นักแสดง ได้รับออฟีซีเยในเดือนมกราคม 2550 [3]
  5. สหรัฐ: เดวิด ลินช์ (David Lynch) ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับเชอวาลีเยในเดือนตุลาคม 2550 [4]
  6. ฮ่องกง: ศาสตราจารย์ฉูหลี่จื้อ (Lap-Chee Tsui) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้รับเชอวาลีเยในเดือนตุลาคม 2550
  7. ศรีลังกา: มาลิก เปรีส (Malik Peiris) ราชบัณฑิตแห่งสหราชอาณาจักร ได้รับเชอวาลีเยในเดือนตุลาคม 2550
  8. เกาหลีใต้: อิม คว็อนแต็ก (Im Kwon-taek) ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับใน พ.ศ. 2550 [5]
  9. อิสราเอล: ชิมอน เปเรส (Shimon Peres) ประธานาธิบดี ได้รับในเดือนมีนาคม 2551[6]
  10. ไทย:
  11. บอตสวานา: เฟอร์ทัส โมแก (Festus Mogae) ประธานาธิบดี ได้รับในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551[9]
  12. สหรัฐ: สตีเวน สปีลเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับเชอวาลีเยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551[10]
  13. แคนาดา: นักร้องเซลีน ดิออน ได้รับเชอวาลีเยจาก นีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ณ พระราชวังเอลีเซ (ฝรั่งเศส: Palais de l’Élysée)[1]

นอกจากนั้นมีบุคคลต่างชาติที่ได้รับอิสริยาภรณ์นี้อีก อาทิ คลินท์ อิสต์วู้ด ดาราภาพยนตร์สหรัฐอเมริกา และ พ.ญ. แอนสัน ชาน อธิบดีกรมสาธารณสุขฮ่องกง เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Celine1
  2. Dailymotion.com. (2006, 13 October). Chirac décore Poutine. [Online]. Available: http://www.dailymotion.com/video/xhvhv_chirac-decore-poutine. (25 May 2008).
  3. BBC News. (2006, 12 October). Bollywood star gets French honour. [Online]. Available: http://news.bbc.co.uk/2/hi/entertainment/6044614.stm. (25 May 2008).
  4. Global Good News. (2007, October 4). Dr David Lynch awarded highest civilian honour of France, the Legion of Honour, and inspires President Nicolas Sarkozy to bring invincibility to his nation. [Online]. Available: http://www.globalgoodnews.com/world-peace-a.html?art=1191356142257645. (25 May 2008).
  5. Lee Hyo-won. (2007, 28 November). France to Award Director Im Kwon-taek. [Online]. Available: http://www.koreatimes.co.kr/www/news/art/2007/12/141_14567.html. (4 December 2007).
  6. Ynetnews. (2008, 10 March). Sarkozy tells Peres France is Israel's true friend. [Online]. Available: http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3517500,00.html. (25 May 2008).
  7. การประดิษฐานพระโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท. (2551, 23 กุมภาพันธ์). เดลินิวส์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uc.in.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=53315&NewsType=2&Template=1 เก็บถาวร 2009-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (22 พฤษภาคม 2551).
  8. สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประเทศไทย. (2550, 25 ธันวาคม). พิธีทูลเกล้าฯ ถวายอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศสแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ambafrance-th.org/spip.php?article872. (23 พฤษภาคม 2551).
  9. AFP. (2008, 20 March). Sarkozy décore le président du Botswana pour sa bonne gouvernance. [Online]. Available: http://www.jeuneafrique.com/fluxafp/fil_info.asp?reg_id=0&art_cle=43493 เก็บถาวร 2008-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (25 May 2008).
  10. MSN Celebrity UK. (2008, 21 May). MSN article about Spielberg receiving the honour. [Online]. http://entertainment.uk.msn.com/celebrity/news/Article.aspx?cp-documentid=8350390 เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (25 May 2008).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:เครื่องอิสริยาภรณ์ฝรั่งเศส