ฉาย วิโรจน์ศิริ

ฉาย วิโรจน์ศิริ นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 2 สมัย ในช่วงปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2500 และเป็นอดีตเลขานุการส่วนตัวของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[1]

ฉาย วิโรจน์ศิริ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (61 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา

ประวัติ

แก้

ฉาย วิโรจน์ศิริ เดิมสกุล เกลี้งเกลา เป็นบุตรของนายหรอย กับนางฮวย เกลี้ยงเกลา เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีพี่น้อง 7 คน ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จนต่อมาเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ และเข้าเรียนครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ จนจบประโยคครูประถม (ป.ป.) เมื่อ พ.ศ. 2465

การทำงาน

แก้

ฉาย เริ่มเข้ารับราชการตอนอายุ 19 ปี เป็นครูโรงเรียนวัดราชบพิธ ในขณะนั้นเขาก็ใช้เวลาหลังจากการทำงานไปเรียนต่อประโยคครูมัธยม (ป.ม.) จนจบในปี พ.ศ. 2473 และเขาก็ได้ไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองไปด้วย แต่ก็ไม่ได้เรียนต่อจนจบการศึกษา เนื่องจากภาระการสอนจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 เขาได้รับแต่งตั้งให้รักษาการครูใหญ่โรงเรียนวัดสระเกศ[2] และเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศในอีก 2 ปีต่อมา และย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย จนกระทั่งเขาลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2489 และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกัน

ฉาย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งนำโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ฉาย เป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ติดตามจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลบหนีโดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ดไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา[3] เมื่อครั้งเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500[4] ส่วนอีกสองคนที่ติดตามไปในครั้งนั้น พล.ต.บุลศักดิ์ วรรณมาศ นายทหารคนสนิท, และ พ.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจรักษาความปลอดภัย[5]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

ฉาย ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 รวมอายุ 61 ปี เขามีบุตรธิดา 10 คน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ฉาย วิโรจน์ศิริ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 87ปี ประชาธิปไตย ยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม "เลือกตั้งสกปรกที่สุด"
  2. "ประวัติโรงเรียนวัดสระเกศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
  3. เลียววาริณ, วินทร์ (2540). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. ดอกหญ้า. ISBN 974-85854-7-6. หน้า 421
  4. เพื่อนร่วมตาย คืนปฏิวัติ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐[ลิงก์เสีย]
  5. อดีตกำนันบ้านหาดเล็ก เล่าเหตุการณ์พา “จอมพล ป.” หนีไปกัมพูชา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๒, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๖, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๓๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๕, ๑๐ มกราคม ๒๔๙๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้