พรรคเสรีมนังคศิลา

พรรคเสรีมนังคศิลา เป็นพรรคการเมืองในลำดับแรกประเทศไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2498[1] หลังจากมี พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ออกมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เปิดให้จดทะเบียนพรรคการเมืองได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีหัวหน้าพรรค คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลขาธิการพรรคคือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ มีรองหัวหน้าพรรคได้แก่ พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลตรีประภาส จารุเสถียร เป็นต้น มีที่ทำการพรรคอยู่ที่บ้านมนังคศิลา อันเป็นที่มาของชื่อพรรคโดยได้มีพิธีเปิดป้ายที่ทำการพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 [2]

พรรคเสรีมนังคศิลา
หัวหน้าจอมพล ป. พิบูลสงคราม
รองหัวหน้าจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
เลขาธิการพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2500)
ก่อตั้ง29 กันยายน พ.ศ. 2498
ถูกยุบ21 ธันวาคม พ.ศ. 2500 (2 ปี 83 วัน)
ยุบรวมกับพรรคชาติสังคม
ที่ทำการบ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง เขตดุสิต กรุงเทพ
อุดมการณ์อนุรักษนิยม
ชาตินิยม
อำนาจนิยม
สภาผู้แทนราษฎร ก.พ. พ.ศ. 2500
83 / 160
สภาผู้แทนราษฎร ธ.ค. พ.ศ. 2500
4 / 160
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเสรีมนังคศิลา เอาชนะการเลือกตั้งได้ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[3] เพราะมีการใช้กลโกงต่าง ๆ สารพัด ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร พรรคเสรีมนังคศิลาได้รับเลือกตั้งมาทั้งหมด 6 คน และผลรวมทั้งประเทศได้ 83 คน จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 160 คน แต่ผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลไม่เป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปได้เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งไปยังทำเนียบรัฐบาล มีการลดธงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง เหตุการณ์บานปลายต่อเนื่องจนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทหารของพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และกลุ่มทหารของจอมพล ป. และกลุ่มตำรวจของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จนกลายเป็นการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ทางพรรคได้ถูกยุบรวมเข้ากับ พรรคชาติสังคม ก่อนที่สฤษดิ์จะกระทำการ รัฐประหารซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2501 ซึ่งประกาศของคณะรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด รวมทั้งพรรคการเมืองด้วย บทบาทของพรรคเสรีมนังคศิลา ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้[4]

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

แก้

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (วาระ: 2500)

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเสรีมนังคศิลาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอน 86ง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2498
  2. ซึ่งฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการคัดเลือกจากหอภาพยนตร์ให้เป็นภาพยนตร์มรดกของชาติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560
  3. 26 กุมภาพันธ์ 2500 – เลือกตั้งสกปรกที่สุดในประวัติศาสต์การเมืองไทย
  4. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูล

แก้