นรนิติ เศรษฐบุตร
ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร (อ่านว่า นอ-ระ-นิด) กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า[1] นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน) และศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชารัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ ภายหลังได้รับเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถานอีกด้วย
นรนิติ เศรษฐบุตร | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562 | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน 2534 – 14 กรกฎาคม 2537 | |
ก่อนหน้า | ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม |
ถัดไป | ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 19 กรกฎาคม 2538 – 19 สิงหาคม 2541 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.พนัส สิมะเสถียร (รักษาการ) |
ถัดไป | รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 (82 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2484 จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วุฒิบัตรด้านโซเวียตศึกษา จากมหาวิทยาลัย Fribourg สวิตเซอร์แลนด์, ปริญญาโทด้านการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และรัสเซียศึกษา จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2521-2522 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2532 - ?) ดำแหน่งทางวิชาการสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ รองศาสตราจารย์ ภายหลัง (พ.ศ. 2554) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชารัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] เคยดำรงตำแหน่งกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) และเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา[3]
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายไชยวัฒน์ บุนนาค นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ นายนรนิติ เศรษฐบุตร)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๖, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Prof.Noranit Setabutr (อังกฤษ)
- Prof.Noranit Setabutr เก็บถาวร 2008-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ประวัติรองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร เก็บถาวร 2006-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ธรรมศาสตร์
ก่อนหน้า | นรนิติ เศรษฐบุตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยที่ 1 (1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) |
ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | ||
ศาสตราจารย์ ดร.พนัส สิมะเสถียร (รักษาการ) | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยที่ 2 (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541) |
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร |