ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) เป็นนายทหารและเป็นนักการเมือง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเอก ผิน ชุณหะวัณ พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ พันเอก นายวรการบัญชา |
ถัดไป | พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พลโท ประภาส จารุเสถียร สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลโท ประยูร ภมรมนตรี |
ถัดไป | หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2500 | |
ก่อนหน้า | หลวงเทวฤทธิ์พันลึก |
ถัดไป | เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 ตำบลพระราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 (86 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | คุณหญิงสอาดจิตต์ ฤทธาคนี (แยกจากกัน) ประดับ ฤทธาคนี |
บุตร | 5 คน |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี มีนามเดิมว่า ฟื้น ฤทธาคนี เป็นบุตรของนายฟุ้ง ฤทธาคนีและนางพุดตาน ฤทธาคนี [1] ศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452 สมัครเข้าโรงเรียนนายร้อย ประจำกรมทหารพราน และเป็นศิษย์การบินโรงเรียนการบินเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. 2456 เข้าประจำการกรมอากาศยาน กองทัพบก เมื่อ พ.ศ. 2457 ย้ายเหล่าทัพไปประจำกองทัพอากาศไทย ยศนายเรืออากาศเอก เมื่อ พ.ศ. 2470 และไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2477 [2]
รับราชการ
แก้ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับฝูงบินพิบูลสงคราม นำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดทำลายฐานทัพฝรั่งเศส ที่เมืองสตึงเตรง พระตะบองและเสียมราฐ [3] [4]
ช่วงปี พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2500 ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้สถาปนา"โรงเรียนนายเรืออากาศ" (ปัจจุบันคือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช) และก็เกษียณอายุราชการที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2504
บทบาททางการเมือง
แก้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2498
เป็นรองนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2500[5] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วงสั้นๆ ในปีพ.ศ. 2500 ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[6]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 สิริอายุ 86 ปี 137 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ยศทหาร
แก้- 10 ธ.ค. 2463 : นายร้อยตรี[7]
- 8 พ.ค. 2469 : นายร้อยโท
- 22 เม.ย. 2475 : นายร้อยเอก
- 1 ธ.ค. 2479 : นายเรืออากาศเอก
- 1 เม.ย. 2481 : นายนาวาอากาศตรี
- 1 เม.ย. 2483 : นายนาวาอากาศโท
- 19 มิ.ย. 2484 : นายนาวาอากาศเอก
- 1 ม.ค. 2485 : พลอากาศตรี
- 1 ม.ค. 2491 : พลอากาศโท
- 7 ก.ค. 2493 : พลอากาศเอก
- 16 เม.ย. 2495: พลเอก พลเรือเอก[8]
- 20 ก.ค. 2497 : จอมพลอากาศ และเป็น"จอมพลอากาศ"คนแรกของกองทัพอากาศไทย[9] [2] [1]
หลักสูตรการทหาร
แก้ไทย
แก้- พ.ศ. 2476 - หลักสูตรนักบิน ของกองทัพอากาศไทย ฝึกจนถึงระดับชั้นมงกุฎ
ต่างประเทศ
แก้- พ.ศ. 2497 - หลักสูตรนักบินชั้นสูง และเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของกองทัพอากาศสหรัฐ
- พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
- พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2500 - หลักสูตรนักบิน ของกองทัพอากาศสหภาพพม่า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[13]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[16]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[18]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[19]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหราชอาณาจักร:
- พ.ศ. 2480 - เหรียญบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
- พ.ศ. 2480 - เหรียญบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- กัมพูชา:
- พ.ศ. 2497 - เครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี ชั้นมหาเสรีวัฒน์ [20]
- สหรัฐ:
- พ.ศ. 2498 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[21]
- ลาว:
- พม่า:
- พ.ศ. 2501 - เครื่องอิสริยาภรณ์อัครมหาสเรสินธุ[22]
สถานที่อันเนื่องด้วยนาม
แก้- อำเภอรณนภากาศ (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองระสือ จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ประวัติจาก กองบัญชาการทหารสูงสุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "ประวัติ จากกองทัพอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ ประวัติศาสตร์การรบของกองทัพอากาศไทย
- ↑ "ประวัติการยุทธทางอากาศ กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3149. 26 ธันวาคม 1920.
- ↑ "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ "จอมพลอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๑, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๔๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2022-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๕, ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๕, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๑, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๙๓, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 74 หน้า 2279, 20 กันยายน 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 36 หน้า 1118, 17 พฤษภาคม 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 23 หน้า 932, 25 มีนาคม 2501