พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 - 5 กันยายน พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า และทรงเสนอให้คณะรัฐมนตรีสมัยคณะราษฎรจัดตั้ง "โรงเรียนการเมืองชั้นสูง" (เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) พระปรีชาสามารถในด้านการทูตและการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก และทรงมีชื่อเสียงการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต[2] อาทิคำว่า รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย วัฒนธรรม สื่อสารมวลชน นโยบาย ปฎิวัติ[3]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ | |||||
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2499 – พ.ศ. 2500 | |||||
ก่อนหน้า | รูเดซินโด ออร์เตกา | ||||
ถัดไป | เลสลี มันโร | ||||
ประธานสมัชชาแห่งชาติ | |||||
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | ||||
ก่อนหน้า | ศิริ สิริโยธิน (ในฐานะประธานรัฐสภา) | ||||
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ในฐานะประธานรัฐสภา) | ||||
รองนายกรัฐมนตรี | |||||
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จอมพลประภาส จารุเสถียร และสุกิจ นิมมานเหมินท์ | |||||
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร | ||||
ก่อนหน้า | ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) | ||||
ถัดไป | พระองค์เอง ถนอม กิตติขจร | ||||
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ถนอม กิตติขจร และประภาส จารุเสถียร | |||||
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร | ||||
ก่อนหน้า | พระองค์เอง ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล | ||||
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร พจน์ สารสิน | ||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |||||
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |||||
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม พจน์ สารสิน ถนอม กิตติขจร | ||||
รัฐมนตรีช่วย | เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ รักษ์ ปันยารชุน วิสูตร อรรถยุกติ | ||||
ก่อนหน้า | นายวรการบัญชา | ||||
ถัดไป | ถนัด คอมันตร์ | ||||
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |||||
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2514 | |||||
นายกสภา | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ||||
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร | ||||
ถัดไป | สัญญา ธรรมศักดิ์ | ||||
ประสูติ | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) | ||||
สิ้นพระชนม์ | 5 กันยายน พ.ศ. 2519 (85 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||||
พระชายา | หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร | ||||
หม่อม | พร้อยสุพิณ บุนนาค | ||||
| |||||
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร | ||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||
ราชสกุล | วรวรรณ | ||||
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ | ||||
พระมารดา | หม่อมหลวงต่วนศรี มนตรีกุล | ||||
ศาสนา | เถรวาท | ||||
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง นักวิชาการ | ||||
ลายพระอภิไธย | |||||
การศึกษา | |||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
รับใช้ | ไทย | ||||
แผนก/ | กองทัพบกไทย | ||||
ชั้นยศ | พลตรี[1] | ||||
พระประวัติและการศึกษา
แก้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 ที่ตำบลบ้านตะนาว อำเภอสำราญราษฎร์ จังหวัดพระนคร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร หรือ พระองค์วรรณ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ
หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และย้ายมาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาด โรงเรียนปิดชั่วคราว จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 1 ปี (ที่จริงคือตามไปใช้สถานที่เรียน) ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสาวลี เปิดทำการจึงย้ายมาศึกษาต่อ และสอบได้ทุน King's scholarship ได้เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ โดยเข้าอยู่ประจำที่ 'วิทยาลัยแบเลียล' (Balliol College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในระดับเกียรตินิยมและปริญญาโท จากคณะบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) สาขาวิชาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ท่านจึงมีความสามารถในการบัญญัติศัพท์ กระทั่งเป็นผู้วางกฎเกณฑ์การบัญญัติศัพท์โดยใช้คำบาลีและสันสกฤตให้ราชบัณฑิตยสถาน และใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้
มีคำศัพท์มากมายที่ทรงบัญญัติและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น
- อัตโนมัติ (automatic)
- รัฐธรรมนูญ (constitution)
- ประชาธิปไตย (democracy)
- โทรทัศน์ (television)
- วิทยุ (radio)
เสกสมรส
แก้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร มีบุตร คือ
- หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงทิพพากร อาภากร
- หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
- หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ
และต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สมรสอีกครั้งกับหม่อมพร้อยสุพิณ วรวรรณ ณ อยุธยา (บุนนาค) มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร (วรวรรณ)
สิ้นพระชนม์
แก้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริพระชันษา 85 ปี
ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงาน
แก้- พ.ศ. 2460 - เลขานุการตรี ประจำสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส และเลขานุการคณะทูตไทย ที่ประชุมสันติภาพ ภายหลังมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2463 - หัวหน้ากองบัญชาการ กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2465 - องคมนตรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2467 - ปลัดทูลฉลอง กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2469 - เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม
- พ.ศ. 2473 - ศาสตราจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4][5][6]
- พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2490 - นายกราชบัณฑิตยสถาน
- พ.ศ. 2484 - หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาสันติภาพฝ่ายไทยในกรณีพิพาทอินโดจีน
- พ.ศ. 2486 - นายกสมาคมราชวิทยาลัย เป็นสมาคมนักเรียนเก่าของโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (เดิมคือโรงเรียนราชวิทยาลัย)
- พ.ศ. 2489 - นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นพระองค์แรก
- พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2496 - ประธานกรรมการไทยประกันชีวิต
- พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2501 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[7][8]
- พ.ศ. 2498 - หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเอเชีย-แอฟริกา (การประชุมบันดุง)ณ เมืองบันดุง อินโดนีเซีย และทรงได้รับเลือกให้เป็นผู้เสนอรายงาน (Rapporteur)ของที่ประชุมดังกล่าว
- พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2500 - ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 11
- พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2503 - ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ
- พ.ศ. 2501 - ประธานราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา เป็นองค์กรที่ฟื้นฟูและก่อตั้งโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ในปัจจุบัน (เดิมคือโรงเรียนราชวิทยาลัย)
- พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2513 - รองนายกรัฐมนตรี[9]
- พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2514 - อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 - นายกราชบัณฑิตยสถาน
- พ.ศ. 2516 - ประธานสมัชชาแห่งชาติ
พระเกียรติคุณ
แก้- พลตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานยศทหาร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และราชองครักษ์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2496[10]
- ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศพระเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญประจำปี พ.ศ. 2534
- รางวัลนราธิป โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในโอกาสสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งครบ 30 ปี และครบรอบ 100 ปีแห่งชาตะกาลของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
- ห้องประชุมวรรณไวทยากร โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงตึกโดม ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และตั้งชื่อห้องประชุมที่ปรับปรุงใหม่เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2548
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- พ.ศ. 2434 - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
- พ.ศ. 2482 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร[11]
- พ.ศ. 2486 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
- พ.ศ. 2495 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์[12]
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2486 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[17]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[18]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[19]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[20]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[21]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[22]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[23]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[24]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[25]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[26]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[27]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[28]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[29]
- สเปน :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นที่ 1[30]
- เปรู :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องอิสริยาภรณ์พระอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นที่ 1[31]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1[32]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1[33]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[34]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1[35]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2471 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ ชั้นที่ 1[36]
- ไรช์เยอรมัน :
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2483 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[39]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2492 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นพิเศษ[40]
- สเปน :
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 1[41]
- กัมพูชา :
- พ.ศ. 2498 – เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา ชั้นที่ 1[42]
- ลาว :
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 1[43]
- พม่า :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพแห่งสหภาพพม่า ชั้นอัคคมหาสเรสิตู (ฝ่ายทหาร)[44]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟีนิกซ์ ชั้นที่ 1[45]
- คิวบา :
- พ.ศ. 2500 – เครื่องอิสริยาภรณ์การ์โลส เด มานูเอล เซสเปเตส ชั้นที่ 1[46]
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2500 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 1[47]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2501 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[48][49]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นที่ 1[50]
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[51]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[52]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวนเนการา ชั้นที่ 1[52]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1[53]
- อิตาลี :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นที่ 1
พระยศ
แก้พระยศทางทหาร
แก้- 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496: พลตรี นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษ[54]
สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม
แก้- อำเภอวรรณไวทยากร (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาวและประเทศกัมพูชา)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
- ↑ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ กรมหมื่นนราธิปฯ กับการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย และการก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ”
- ↑ ศาสตราจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ 120ปีพระชาตกาลกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
- ↑ พระราชทานพระอิสริยยศ
- ↑ พระราชทานพระอิสริยยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๓, ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๕, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๒๔, ๑๗ กันยายน ๒๔๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๙, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๓๒, ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๑, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๑, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๗๙, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๗, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๑๐๑๑, ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๕, ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๐, ๓๑ ตุลาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๗๗, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๗, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๓, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๘, ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๒๒, ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒, ๑๘ เมษายน ๒๔๘๑
- ↑ "Hitler Honours Siamese". The Straits Times. 3 April 1938. p. 3.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๔๘, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๕๑๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๑๘๙๖, ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๒๕๖๒, ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๕, ๓๑ มกราคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๗๔๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕๙ ง หน้า ๑๖๕๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๖๔๘, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๐
- ↑ AGO 1958-07 — INDIVIDUAL AWARDS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๙ ง หน้า ๗๐๑, ๔ มีนาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราขทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๒๙, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๑๙, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ 52.0 52.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๕๐, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พระราชประวัติ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
- มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ "วิทยทัศน์พระองค์วรรณฯ ครบ 110 ปี วันประสูติ 25 สิงหาคม 2544" กรุงเทพฯ:มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ, พิมพ์ครั้งที่1 2544
- ธารา กนกมณี (บรรณาธิการ) “100 ปี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์” กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 2534
- นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "งานบัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ธนาคารกรุงเทพ จำกัด พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ณ เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 28 ตุลาคม 2519 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2519
- นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์.คณะกรรมการบัญญัติศัพท์" กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2516
- [Wan 1970] Wan Waithayakon, Prince "Coining Thai Words" in: Tej Bunnag und Michael Smithies (Hg.) In Memoriam Phya Anuman Rajadhon. Bangkok: Siam Society, 1970
- มานวราชเสวี, พระยา (ผู้รวบรวม) "ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506
- นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ประทานให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประมวลวินิจฉัย (ชัติ สุวรรณทัต) ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร วันที่ 3 มิถุนายน 2499