หม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร

หม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร หรือสะกดว่า อับษรสมาน[1] (ราชสกุลเดิม เทวกุล; 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) บ้างออกนามว่า ท่านหญิงใหญ่[1] เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา เป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ21 ตุลาคม พ.ศ. 2420
สิ้นชีพิตักษัย4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 (61 ปี)
สวามีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระบุตร12 องค์
ราชสกุลเทวกุล (ประสูติ)
กิติยากร (เสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
พระมารดาหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา

พระโอรส–ธิดา

แก้

หม่อมเจ้าอับศรสมาน เสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 มีพระโอรส-ธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าเกียรติกำจร (พระราชนัดดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
  3. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
  4. หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล
  5. หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร
  6. หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
  7. หม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ วรวรรณ
  8. หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ โสณกุล
  9. หม่อมเจ้าจิตรบรรจง ลดาวัลย์
  10. หม่อมเจ้าทรงอัปษร รพีพัฒน์
  11. หม่อมเจ้าสรัทจันทร์ กิติยากร
  12. หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน เทวกุล และพระโอรส-ธิดา

สิ้นชีพิตักษัย

แก้

หม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 สิริชันษา 61 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 หม่อมเจ้าวงศนิชร เทวกุล (2513). ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง. พระนคร: ตีรณสาร. p. 109.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีฉัตรมงคล แลถวายบังคมพระบรมรูป เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454, หน้า 1767
  3. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๔๙๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  4. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 5 ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 1887. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม 38, 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464, หน้า 2378
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)