เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา (เขมร: គ្រឿងឥស្សរិយយសព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា เคฺรืองอิสฺสริยยสพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา; ฝรั่งเศส: Ordre royal du Cambodge) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา สถาปนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1864 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร อันเป็นยุคที่กัมพูชามีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อมอบเป็นบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา | |
---|---|
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา ชั้นมหาเสรีวัฒน์ | |
ประเภท | อิสริยาภรณ์แห่งชาติ จำนวน 5 ขั้น |
วันสถาปนา | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1864 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรกัมพูชา |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัด |
ผู้สมควรได้รับ | เป็นบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน |
สถานะ | ยังคงมีการพระราชทาน |
ผู้สถาปนา | สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ |
ประธาน | พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (สมัยรัฐอารักขา) |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องอิสริยยศชาตูปการ |
รองมา | เครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์ |
ในสมัยที่กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีฐานะเป็นประธานเครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาด้วยเช่นกันจนถึง ค.ศ. 1948 ฐานะประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้จึงตกเป็นสิทธิ์ขาดของพระมหากษัตริย์กัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากฝรั่งเศสได้เริ่มมอบเอกราชบางส่วนให้กัมพูชาปกครองตนเองอีกครั้ง ทั้งนี้ สีของแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แบบที่รัฐบาลฝรั่งเศสมอบให้ จะใช้คนละสีกับแบบที่พระมหากษัตริย์กัมพูชาเป็นผู้พระราชทาน
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาได้มีการพระราชทานสืบต่อกันมาจนกระทั่งต้องยกเลิกไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน ค.ศ. 1975 หลังจากมีการฟื้นฟูพระราชอาณาจักรอีกครั้ง จึงได้เริ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ขึ้นใหม่ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ลงวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1995
ลักษณะ
แก้ลำดับชั้น
แก้เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น มีลักษณะดังนี้ (ชื่อของแต่ละชั้นใช้การปริวรรตอักษรตามภาษาเขมร)[1]
- มหาเสรีวัฒน์ (เขมร: មហាសេរីវឌ្ឍន៍ มหาเสรีวฑฺฒน์; อังกฤษ: Grand Cross; ฝรั่งเศส: Grand-croix) ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายสีแดง ขอบสีเขียว สะพายเฉวียงบ่าของผู้ได้รับพระราชทานจากขวาไปซ้าย มีดาราสีทองประดับอัญมณีที่ใต้อกเสื้อเบื้องซ้าย
- มหาเสนา (เขมร: មហាសេនា มหาเสนา; อังกฤษ: Grand Officer; ฝรั่งเศส: Grand-Officier) ประกอบด้วยดวงตราห้อยแพรแถบสีแดง ขอบสีเขียว สำหรับสวมคอ มีดาราสีทองประดับอัญมณีที่ใต้อกเสื้อเบื้องซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน
- ธิบดินทร์ (เขมร: ធិបឌិន្ទ ธิบฑินฺท; อังกฤษ: Commander; ฝรั่งเศส: Commandeur) ลักษณะดวงตราและการประดับเป็นอย่างเดียวกับชั้นมหาเสนา แต่ไม่มีดาราประกอบ
- เสนา (เขมร: សេនា เสนา; อังกฤษ: Officer; ฝรั่งเศส: Officier) เป็นดวงตราห้อยแพรแถบสีแดง ขอบสีเขียว สำหรับประดับที่เหนือกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน บนแพรแถบประดับด้วยแพรจีบรูปดอกไม้สีเดียวกับกับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้
- อัสสฤทธิ์ (เขมร: អស្សឬទ្ធិ อสฺสฤๅทฺธิ; อังกฤษ: Knight; ฝรั่งเศส: Chevalier) ลักษณะดวงตราและการประดับเป็นอย่างเดียวกับชั้นเสนา แต่ไม่มีการประดับแพรจีบรูปดอกไม้
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาแบบที่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้มอบให้ ใช้สีสายสะพายและสีแพรแถบเป็นสีขาว ขอบสีเหลือง
แพรแถบย่อ
แก้รายนามบุคคลสำคัญที่ได้รับพระราชทาน/รับมอบ
แก้ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา
แก้ต่างประเทศ
แก้- จักรพรรดิอากิฮิโตะ
- พลตรี มาร์เซล อเลสซานดรี
- มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง
- จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ฌ็อง-บาติสต์ บิลโล
- เชา เซน ค็อคซัล ชุม
- สริน ชาก
- ชาร์ล เดอ โกล
- ศรีสุลต่านฮาเมงกูบูโวโนที่ 8
- ฮะซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก
- จักรพรรดิโชวะ
- Ibrahim of Johor
- คิม อิล-ซ็อง[2]
- นิโคไล โคโลเมทเซฟ
- ฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี
- ฟิลิปป์ เลคเลิร์ค เดอ เอาต์เชกลอก
- เลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
- มานูเอล เอเล. เกซอน
- ราอูล มากริน-เวอร์เนอรีย์
- ฮอร์ นัมโบรา
- เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
- ปากูบูโวโน ที่ 10
- ซัยยิด ปูตราแห่งปะลิส
- เต็งกู ฟาวเซียห์
- วิลเลิม โรเซบูม
- จอห์น แซนเดอร์สัน
- โยเฮ ซาซากาวะ
- เจ้าชายวงศ์สว่าง
- ชากัตจิต ซิงห์
- ซัยยิด ซีรอญุดดีนแห่งปะลิส
- จักรพรรดิถั่ญ ท้าย
- ยอซีป บรอซ ตีโต
- มาร์โดเช่ วาลาเบรก
- สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
- ฟรองซัวส์ ซิเมเรย์
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ได้สอบทานชื่อภาษาเขมรจาก ព្រឹទ្ធសភានៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា (2012-11-08). "ឯកឧត្តម ទេព ងន អនុប្រធានទី២ ព្រឹទ្ធសភា បំពាក់គ្រឿងឥស្សរិយយសជូនអ្នករាជការនៃអគ្គលេខាធិការដ្ឋានព្រឹទ្ធសភា នាថ្ងៃទី០៨ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០១២". สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.[ลิงก์เสีย]
- ↑ News from Hsinhua News Agency: Daily Bulletin. London: Xin hua tong xun she. 1 October 1965. p. 53. OCLC 300956682.
อ้างอิง
แก้- David Fay (20 พฤศจิกายน 2010). "THE ORDERS AND MEDALS OF THE KINGDOM OF CAMBODIA: CM01 ROYAL ORDER OF CAMBODIA". สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2014.