ถนัด คอมันตร์
พันเอกพิเศษ[3] ถนัด คอมันตร์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
พันเอกพิเศษ ถนัด คอมันตร์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2 | |
---|---|
![]() | |
ถนัดในปี 2518 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (2 ปี 18 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 (0 ปี 362 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (12 ปี 280 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
ถัดไป | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 เมษายน พ.ศ. 2525 (2 ปี 281 วัน) | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | พิชัย รัตตกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 (101 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงโมลี คอมันตร์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ มหาวิทยาลัยปารีส(Ph.D.)[1] |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ปีปฏิบัติงาน | 2506-2559 |
ยศ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
ถนัด คอมันตร์ เดิมมีชื่อว่า "ถนัดกิจ คอมันตร์" เป็นบุตรของพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋ คอมันตร์) เนติบัณฑิตไทยรุ่นแรก กับคุณหญิงถนอม พิพากษาสัตยาธิปตัย
พ.ศ. 2461 เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ถึง พ.ศ. 2465 จึงเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญจนจบมัธยม 5 ในปี พ.ศ. 2471 แล้วไปศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่ประเทศฝรั่งเศส จนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ ปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปารีส
พ.ศ. 2483 ถนัดจึงกลับประเทศไทย เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ และในวันที่ 28 เมษายน ปีถัดมา จึงสมรสกับโมลี วีรางกูร ธิดาคนรองของนายเป๋า วีรางกูร หลานตาของพระยาอนุกูลสยามกิจ (ชุน อนุกูลสยามกิจ)[4]
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ถนัดได้รับพระราชทานยศเป็นพันเอก (พิเศษ) นายทหารพิเศษ สังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ[3] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5]
เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ เป็นต้น ได้รับการยกย่องในฐานะผู้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการก่อตั้ง "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (หรืออาเซียน) ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2510 และต่อมา พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ยังได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกฝ่ายไทย ใน ศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีวาระ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545
ในทางการเมือง เคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2525 หลังหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรงและสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน โดยผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในกรุงเทพฯ ได้ ส.ส. เพียงคนเดียว คือตัว ถนัด เองที่เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 (เขตพญาไทและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) โดย พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องรับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้ และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6] และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[7] เขามีหลานชายคนหนึ่งเป็นนักธุรกิจที่เคลื่อนไหวทางการเมืองคืออัมรินทร์ คอมันตร์
ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512[8] และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง
กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ลงรอยกับพิชัย รัตตกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนถัดมา ในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"[9]
ถึงแก่อสัญกรรมแก้ไข
ถนัด คอมันตร์ ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.49 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 101 ปี 298 วัน ตั้งศพบำเพ็ญที่บ้านพักส่วนตัวที่ถนนเพชรบุรี[10]
วันที่ 5 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ บ้านพักของเขา ต่อมาพระราชทานโกศมณฑป เนื่องจากถึงแก่อสัญกรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพวงมาลาประจำพระองค์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์อีกด้วย
วันที่ 28 กรกฎาคม เวลา 14.00 น. โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
พันเอก ถนัด คอมันตร์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2511 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2502 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2509 - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2486 - เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[15]
- พ.ศ. 2506 - เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2509 - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2503 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[18]
ลำดับสาแหรกแก้ไข
ลำดับสาแหรกของถนัด คอมันตร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ https://www.matichon.co.th/politics/news_58077
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/017/465.PDF
- ↑ 3.0 3.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอน 17 ง หน้า 465 19 กุมภาพันธ์ 2506
- ↑ เอมิล โรเชร์, ชูศรี สาธร แปล. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 77 ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน. กรุงเทพฯ : อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเป๋า วีรางกูร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 21 ธันวาคม 2504, 2504.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ https://www.psu.ac.th/th/node/7059
- ↑ เริงศักดิ์ กำธร. กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา. กรุงเทพฯ : บางหลวง, 2535. 160 หน้า. ISBN 974-85645-2-5
- ↑ หน้า 13 ต่อจากหน้า 2, สิ้น "ถนัด คอมันตร์". "ถนัด คอมันตร์เสียชีวิต". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,249: วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕, ตอน ๓๙ ง, ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๘๓, ตอน ๕๘ ง ฉบับพิเศษ, ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๙, หน้า ๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน หน้า ๒๕๓๑ เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒, ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/053/1448.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญราชการชายแดน] เล่ม ๘๐ ตอน ๕๓ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๖ หน้า ๑๔๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๐๙ ฉบับพิเศษ เล่ม ๘๓ ตอน ๑๑๔ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙ หน้า ๘๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/015/558.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์] เล่ม ๗๗ ตอน ๑๕ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓ หน้า ๕๕๙
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ถนัด คอมันตร์ |
ก่อนหน้า | ถนัด คอมันตร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ทวี จุลละทรัพย์ เสริม ณ นคร สมภพ โหตระกิตย์ เล็ก แนวมาลี |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 42) (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 — 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) (11 มีนาคม พ.ศ. 2524 — 19 มีนาคม พ.ศ. 2526) |
ประจวบ สุนทรางกูร บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พิชัย รัตตกุล สนธิ บุณยะชัย สิทธิ เศวตศิลา | ||
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | ||
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2522 — พ.ศ. 2525) |
พิชัย รัตตกุล |