คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29
อดีตคณะรัฐมนตรีไทย
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีสฤษดิ์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506 | |
วันแต่งตั้ง | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 |
วันสิ้นสุด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (4 ปี 302 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30 |
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
แก้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502[1]
- พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายโชติ คุณะเกษม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสวัสดิ์ มหาผล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
- พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายบุณย์ เจริญไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
แก้1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
แก้พ้นจากตำแหน่ง
แก้- โชติ คุณะเกษม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โยกย้ายตำแหน่ง
แก้- สุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่งตั้ง
แก้26 สิงหาคม พ.ศ. 2502
แก้ถึงแก่อนิจกรรม
แก้9 กันยายน พ.ศ. 2502
แก้แต่งตั้ง
แก้23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
แก้แต่งตั้ง
แก้มีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ จึงมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี[3]
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง
- พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- สุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- บุญชนะ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
แก้คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก สุรจิต จารุเศรนี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตช์ พระประกาศสหกรณ์ พลเอก ประภาส จารุเสถียร นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พันเอก ถนัด คอมันตร์ นายบุญชนะ อัตถากร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการไว้ทุกข์ เนื่องในการที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรม