หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร นามเดิม สุทธิ เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานรัฐสภาคนแรกที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2500 (0 ปี 85 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
ถัดไป | พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (9 ปี 85 วัน) | |
ก่อนหน้า | พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
ถัดไป | ทวี บุณยเกตุ |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2500 (0 ปี 85 วัน) | |
ก่อนหน้า | พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
ถัดไป | พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (9 ปี 85 วัน) | |
ถัดไป | ทวี บุณยเกตุ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มกราคม พ.ศ. 2444 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 17 เมษายน พ.ศ. 2511 (67 ปี 76 วัน) |
คู่สมรส | คุณหญิงทิพย์ สุทธิสารรณกร |
การเข้าเป็นทหาร | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพไทย |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ประวัติแก้ไข
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (ชื่อเดิม สุทธิ สุขะวาที) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2444 ที่ตำบลเสาชิงช้า อำเภอสำราญราษฎร์ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ หลวงเพราะสำเนียง (ชื่อเดิม ศุข ศุขวาที) และ คุณแม่จีบ สมรส สมรสกับ คุณหญิง ทิพย์ สุทธิสารรณกร
การศึกษาแก้ไข
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี 2465
บรรดาศักดิ์แก้ไข
- 18 พฤษภาคม 2475 หลวงสุทธิสารรณกร
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 - ขุนสุทธิสารรณกร ถือศักดินา ๖๐๐[1]
ตำแหน่งสำคัญทางทหารและยศแก้ไข
- 1 มกราคม 2503 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรักษาราชการ รองผู้บัญชาการทหารบก
- 16 กันยายน 2497 รองผู้บัญชาการทหารบก
- 20 พฤษภาคม 2497 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- 4 มิถุนายน 2493 เสนาธิการทหารบก
- 9 ตุลาคม 2491 - รองเสนาธิการทหารบกและรักษาราชการผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- 14 กุมภาพันธ์ 2491 - เจ้ากรมการรักษาดินแดน
- 28 มกราคม 2491 - ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 1 มกราคม 2489 - ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2[2]
- 29 พฤษภาคม 2488 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 31 สิงหาคม 2487 ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ตามคำสั่งกรมบัญชาการกองทัพใหญ่
- 8 เมษายน 2483 เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 4
- 1 สิงหาคม 2475 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 - ร้อยโท[3]
- 1 พฤษภาคม 2470 - ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - ร้อยตรี[4]
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 - ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4
ตำแหน่งนายทหารพิเศษแก้ไข
- 29 พฤศจิกายน 2498 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- 3 พฤษภาคม 2494 ราชองครักษ์พิเศษ
- 24 พฤศจิกายน 2487 ราชองครักษ์เวร
ตำแหน่งสำคัญทางการเมืองแก้ไข
- 10 เมษายน 2495 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2499 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2495
- 5 กรกฎาคม 2499 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 16 กันยายน 2500
- 30 พฤศจิกายน 2494 - 18 กันยายน 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
- 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500 ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
- 18 กันยายน 2500 - 20 ตุลาคม 2501 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
- 3 กุมภาพันธ์ 2502 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511 ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- กุมภาพันธ์ 2502 เป็นมนตรีสหภาพรัฐสภา
- 19 กุมภาพันธ์ 2502 เป็นกรรมาธิการการทหาร ถึงวันที่ 7 กันยายน 2502 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2502
- 26 สิงหาคม 2502 - 4 กันยายน 2502 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยรัฐสภาไทยไปประชุมสหภาพรัฐสภา ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
- 25 สิงหาคม 2506 เป็นหัวหน้าคณะไปเยือนนิวซีแลนด์ ตามคำเชิญของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์
- 7 กันยายน 17 กันยายน 2508 เป็นหัวหน้าหน่วยรัฐสภาไทย ไปประชุมสหภาพ รัฐสภา ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา
- 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2510 เป็นประธานที่ประชุมในการประชุม สหภาพสมาชิกรัฐสภาอาเซีย ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
- 28 พฤศจิกายน 2510 เป็นประธานสหภาพสมาชิกรัฐสภาอาเซีย
- 3 กุมภาพันธ์ 2511 - 17 เมษายน 2511 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภาแก้ไข
- 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
- 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[13]
ถึงแก่อสัญกรรมแก้ไข
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ถึงแก่อสัญกรรมในขณะดำรงตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 17 เมษายน 2511
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๕๓)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๔๑๙)
- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๘๐๖)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๒๓๒๔, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๑, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๒๐, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๒๒๗๗, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕