พงษ์ ปุณณกันต์

พลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 4 สมัย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 1 สมัย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็นอดีตเลขาธิการคณะปฏิวัติในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501[1]

พลเอก
พงษ์ ปุณณกันต์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 (11 ปี 66 วัน)
นายกรัฐมนตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้า พลเอก สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไป พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (0 ปี 364 วัน)
นายกรัฐมนตรี ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้า พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ถัดไป พลเรือโท ชลี สินธุโสภณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (2 ปี 255 วัน)
นายกรัฐมนตรี ถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2458
ประเทศสยาม
เสียชีวิต 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (74 ปี)
ประเทศไทย
พรรค สหประชาไทย
คู่สมรส คุณหญิงสะอาด ปุณณกันต์

ประวัติแก้ไข

พล.อ.พงษ์ เป็นบุตรของร้อยเอก หลวงพลวินัยกิจ (อำไพ ปุณณกันต์) พล.อ.พงษ์ สมรสกับคุณหญิงสะอาด (สกุลเดิม อดิเรกสาร) มีบุตรคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เหลือพร ปุณณกันต์ และมีศักดิ์เป็นปู่ของพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กับดนุพร ปุณณกันต์[2]

พล.อ.พงษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน ในปี พ.ศ. 2500[3] และลาออกพร้อมกันทั้งคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีกครั้งในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร 3 สมัย (ครม.28, ครม.30[4], ครม.32) และรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ครม.29)[5] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรอีก 1 สมัย (ครม.32) รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อเนื่องทั้งสิ้นกว่า 15 ปี 10 เดือน

พล.อ.พงษ์ ได้เข้าร่วมการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีบทบาทเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ และยังเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค[6]

ยศแก้ไข

  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ร้อยตรี[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข