เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก (สวีเดน: Nordstjärneorden, อังกฤษ: Order of the Polar Star) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศสวีเดน[1] สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2291 |
ประเทศ | สวีเดน |
ผู้สมควรได้รับ | ผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศสวีเดนทั้งชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศ |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | พระมหากษัตริย์สวีเดน |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มอบให้กับชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศที่อุทิศให้กับวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม การศึกษา และการกระทำคุณความดีอื่นๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อประเทศวสีเดนและชาวสวีเดน ซึ่งมอบให้กับชาวสวีเดนมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2518 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มิได้มอบให้กับชาวสวีเดน แต่มอบให้กับชาวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกราชวงศ์ หรือบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ (อาทิ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี) และมอบให้กับสมาชิกราชวงศ์ของสวีเดนที่ไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม[3] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 รัฐสภาสวีเดนได้มีมติแก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสวีเดนใหม่ และนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มามอบให้แก่ชาวสวีเดนอีกครั้ง[4]
คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือ "เนสคิตออกัสซึม" เดิมมีทั้งสิ้น 4 ชั้น และใช้แพรแถบแบบสีดำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนมาใช้แพรแถบสีฟ้าขนาบด้วยแถบสีเหลืองทั้งสองข้างซึ่งเป็นสีของธงชาติประเทศสวีเดนและเพิ่มขึ้นมาเป็น 5 ชั้น
ลำดับชั้น
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 5 ชั้น ได้แก่[2]
- ชั้นประถมาภรณ์ (KmstkNO)
- ชั้นทวีตริตาภรณ์ (KNO1kl)
- ชั้นตริตาภรณ์ (KNO)
- ชั้นจตุรถาภรณ์ (RNO1kl)
- ชั้นเบญจมาภรณ์หรือชั้นสมาชิก (RNO1kl)
แพรแถบย่อ
แก้แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2291 - พ.ศ. 2518)
แก้แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518)
แก้สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง
แก้- มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย[5]
- ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
- ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13
- อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี คนที่ 18
- ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23[6]
- พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี และ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16
- พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีและนายกรัฐมนตรี คนที่ 24
- แก้วขวัญ วัชโรทัย อดีตเลขาธิการพระราชวังของไทย
- สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย
- จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10
อ้างอิง
แก้- ↑ De svenska riddarordnarna, Jonas Arnell.
- ↑ 2.0 2.1 http://www.arnell.cc/fortjanstordnar.htm
- ↑ "Принц Даниэль Шведский с орденом Полярной звезды. Октябрь 2013 г." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ "Dir. 2019:76 Kommittédirektiv Det offentliga belöningssystemet, de allmänna flaggdagarna och utformningen av anslaget till hovet" (PDF) (ภาษาสวีเดน). Government of Sweden. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.
- ↑ "MAHATHIR". Ray Azrul. Scribd. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2013-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ หน้า ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Swedish Royal Court: Orders and medals เก็บถาวร 2011-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน