ทวี จุลละทรัพย์
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2457 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เป็นหนึ่งในอดีตเสรีไทย และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เคยเป็นพระเอกภาพยนตร์ของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" เมื่อ พ.ศ. 2484 [1]
ทวี จุลละทรัพย์ | |
---|---|
พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ในปี 2508 | |
รองนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤษภาคม 2522 – 3 มีนาคม 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2516 – 22 พฤษภาคม 2517 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | ครวญ สุทธานินทร์ |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2516 – 30 กันยายน 2517 | |
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | กฤษณ์ สีวะรา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2457 จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 (81 ปี) โรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคสหประชาไทย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เสรีไทย |
คู่สมรส | อารีย์ ปิ่นแสง |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ประวัติ
แก้พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เกิดที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของรองอำมาตย์โท หรุ่น และนางจ่าง จุลละทรัพย์[2] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนการบิน และศึกษาวิชาการบิน และเสนาธิการ จากประเทศอังกฤษและอเมริกา เคยเป็นนายทหารเสรีไทยในอเมริกา[3] รับราชการในกองทัพอากาศไทย มีตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุด [4]
พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2514[5] ภายหลังจากนั้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ สมรสกับคุณหญิงอารี จุลละทรัพย์ (นามสกุลเดิม: ปิ่นแสง) รองนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2483 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 อายุ 81 ปี 180 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
การทำงาน
แก้งานการเมือง
แก้พล.อ.อ. ทวี เข้าทำงานการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค ส่วน พล.อ.อ. ทวี เป็นเลขาธิการพรรค [6]
พล.อ.อ. ทวี เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร[7] และได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ในปีนั้น[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2514 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เช่นเดียวกัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด[9]และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[10] ในรัฐบาลศ. สัญญา ธรรมศักดิ์
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช[11] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์เช่นเดียวกัน[12] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากรัฐประหารในปีพ.ศ. 2520 นำโดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
ในปี พ.ศ. 2522 พล.อ.อ. ทวี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4][13]
งานกีฬา
แก้พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นบุคคลสำคัญในวงการกีฬาของไทย ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2516 สืบต่อจากจอมพล ประภาส จารุเสถียร และดำรงตำแหน่งติดต่อกันหลายสมัย ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2538 นอกจากนี้ยังเคยเป็นนักกีฬาเรือใบ เคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 5 และเหรียญเงินจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 8 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ [4]
ยศ
แก้รางวัลและเกียรติยศ
แก้พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2508[16]
- อิสริยาภรณ์โอลิมปิกสากล (Olympic Order In Gold) จากสภาโอลิมปิกสากล (IOCC)
- อิสริยาภรณ์ ANOC AWARD จากสมาคมโอลิมปิกนานาชาติ (IOA)
- รางวัล ASIAN MERIT AWARD จากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA)
- อิสริยาภรณ์ซีเกมส์ จากสมาพันธ์ซีเกมส์ (SEA Games Federation)
- รางวัล Distinguished Service Award by the United States Sports Academy ในปี พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[20]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[21]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[22]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[23]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[24]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[25]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[26]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[27]
- พ.ศ. 2491 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[29]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 4 (อ.ป.ร.4)[30]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[31]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2490 - เหรียญออฟฟรีดอม ประดับใบปาร์มสีบรอนซ์[32]
- พ.ศ. 2506 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บัญชาการ[33]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญเอเซียติค-แปซิฟิกแคมเพน
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สอง
- เวียดนามใต้ :
- พม่า :
- พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นสะโดมหาสเรสิตู (ฝ่ายทหาร)[34]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและแบนเนอร์ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นพิเศษ[35]
- เอธิโอเปีย :
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1
- มาเลเซีย :
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซานมาร์ติน ชั้นประถมาภรณ์
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2508 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิบริติช ชั้นทุติยาภรณ์ (ฝ่ายทหาร) (KBE)
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ชั้นอธิปุรณา
- เกาหลีใต้ :
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[36]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์เงิน (พร้อมสายสะพาย)[39]
- อิหร่าน :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1
- ลาว :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นประถมาภรณ์
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นสูงสุด
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นโกมันดัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ กองดุริยางค์ทหารอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
- ↑ "ประวัติจาก หอพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
- ↑ นายทหารเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ "ทุเรียนเหล็กแห่งบ้านอัมพวัน" ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
- ↑ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ↑ "ระบอบเผด็จการทหาร สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-01. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
- ↑ "แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
- ↑ "ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๖)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๔๕)
- ↑ "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-31. สืบค้นเมื่อ 2018-05-31.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รามาธิบดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๔๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชี รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๓๗๐, ๕ มิถุนายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๙, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 61 ตอนที่ 77 หน้า 2447, 26 ธันวาคม 2490
- ↑ AGO 1963-02 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLES AWARDS BY PARAGRAPHS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 76 ตอนที่ 95 หน้า 2252, 23 ตุลาคม 2505
- ↑ 36.0 36.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 73 หน้า 2237, 8 สิงหาคม 2510
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964
- ↑ "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan"
- ↑ https://www.parlament.gv.at/dokument/XXIV/AB/10542/imfname_251156.pdf