คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: National Olympic Committee of Thailand under the Royal Patronage of His Majesty the King: NOCT) เป็นหน่วยงานภายใต้ความดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ บ้านอัมพวัน เลขที่ 226 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
![]() | |
ชื่อย่อ | คอท./NOCT |
---|---|
ก่อตั้ง | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2491 |
ประเภท | กรม |
สํานักงานใหญ่ | บ้านอัมพวัน เลขที่ 226 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ภาษาทางการ | ไทย |
ประธานกรรมการ | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
เว็บไซต์ | www.olympicthai.org |
มีหน้าที่จัดส่งและนำคณะนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และกีฬาระดับภูมิภาค ระดับทวีป หรือระดับโลก ซึ่งรับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล นอกจากนั้น ยังเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติใดๆ ของคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประจำทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวด้วย
ประวัติแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดมีชื่อเรียกว่า "คณะกรรมการต้อนรับระหว่างประเทศฝ่ายกีฬา" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวต่างประเทศที่มาพำนัก อยู่ในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีโอกาสเล่นและแข่งขันกีฬา โดยรวบรวมรายได้ จากการเก็บค่าผ่านประตูส่งบำรุงสภากาชาดไทย และบำรุงการกุศลสาธารณประโยชน์ด้านการกีฬา
ต่อมาที่ประชุมเห็นว่าน่าจะมีองค์กรโอลิมปิกมาดำเนินการแทน คณะกรรมการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีด้านการกีฬากับนานาประเทศ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พร้อมทั้งมีหนังสือถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เพื่อขอให้ดำเนินการรับรองอย่างเป็นทางการต่อไป หลังจากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้นำเรื่องนี้เสนอเข้าที่ประชุม ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ในการนี้ที่ประชุมได้ให้การรับรอง คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ อย่างเป็นทางการและเป็นเอกฉันท์
ในระหว่างที่คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย กำลังทำเรื่องขอให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล รับรองอย่างเป็นทางการอยู่นั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ก็ได้นำเรื่องขอพระราชทาน พระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ อันเป็นการดำเนินเรื่องให้สอดคล้องกับนานาประเทศ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยท่านราชเลขานุการในพระองค์ได้เชิญกระแสรับสั่งมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ตราของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลายพระหัตถ์ของท่านราชเลขาธิการ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2494
รายนามคณะกรรมการบริหารแก้ไข
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย วาระดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2568 มีรายนามดังต่อไปนี้[1]
- ประธานกิตติมศักดิ์คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
- พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
- พลตรีจารึก อารีราชการัณย์
- ประธานกรรมการ
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
- รองประธานคณะกรรมการ
- นาย ธรรมนูญ หวั่งหลี
- นายกองเอก ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์
- ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต
- นาย พิชัย ชุณหวชิร
- ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ
- คุณหญิง ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล
- เลขาธิการ
- รองเลขาธิการ
- พลเรือเอกอภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
- พลเอกรณชัย มัญชุสุนทรกุล
- ดร.สีหศักดิ์ อารีราชการัณย์
- พลเอกณัฐ อินทรเจริญ
- เหรัญญิก และ รองประธานคณะกรรมการ
- นาย ธนา ไชยประสิทธิ์
- ผู้ช่วยเหรัญญิก
- พันตำรวจเอกโกวิทย์ จิรชนานนท์
- กรรมการบริหาร[2]
- คุณหญิง ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล (IOC Member)
- พลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์
- พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
- พลเอกเดชา เหมกระศรี
- พลเรือเอกชัยณรงค์ เจริญรักษ์
- นายสงวน โฆษะวินทะ
- นายสมบัติ คุรุพันธ์
- นายสมพร ใช้บางยาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมล ศรีวิกรม์
- นายสุชัย พรชัยศักดิ์อุดม
- นาย วิจิตร สิทธินาวิน
- ดร.ฮาราลด์ ลิงค์
- นายณัฐวุฒิ เรืองเวส
- ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์
- ร้อยโทหญิงชนาธิป ซ้อนขำ