สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Thailand Volleyball Association) เป็นองค์กรกีฬาระดับชาติ สำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยรับผิดชอบในการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด รวมทั้งให้การสนับสนุนวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ทั้ง ทีมชาย และ ทีมหญิง สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ชื่อย่อ | TVA |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2502 |
สํานักงานใหญ่ | กรุงเทพมหานคร |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ไทย |
ภาษาทางการ | ภาษาไทย |
องค์กรปกครอง | เอวีซี เอฟไอวีบี |
เว็บไซต์ | http://www.volleyball.or.th/ |
ประวัติ
แก้จากการที่ประเทศไทยได้ริเริ่มและรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games – SEAP Games หรือเซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ได้เลือกกีฬาวอลเลย์บอล (ประเภททีมชาย) เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่แข่งขัน แต่ประเทศไทยยังไม่มีสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลมารับผิดชอบ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรระดับชาติที่สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียรับรองและต้องเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และจะเป็นสมาชิกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับฯ อาจารย์แมน พลพยุหคีรี ซึ่งรู้จักกับบุคลากรในกรมพลศึกษามาก เป็นตัวหลักในการจัดตั้งสมาคม จึงได้ชักชวนคณะบุคคล รวม 7 คน ร่วมกันจัดตั้งสมาคมขึ้น ประกอบด้วย พลเอก สุรจิต จารุเศรณี นายกอง วิสุทธารมณ์ นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ นายเสรี ไตรรัตน์ นายนิคม พลสุวรรณ นายแมน พลพยุหคีรี และนายเฉลิม บุณยะสุนทร โดยในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดตั้งสมาคมและพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมขึ้น นายกอง วิสุทธารมณ์ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้เป็นผู้แทนดำเนินการ ได้ติดต่อขออนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับอนุญาตให้เป็น สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Amateur Volleyball Association of Thailand) ตามคำสั่งของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติที่ ต.11/2502 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยมี นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมฯ และได้จดทะเบียนสมาคมที่กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502[1] โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้มีประกาศใช้ข้อบังคับของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นฉบับแรก โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร 7 ตำแหน่ง อยู่ในตำแหน่งสมัยละ 4 ปี คณะกรรมการฯ ชุดนี้ถือเป็นคณะกรรมการบริหารชุดแรกของสมาคมฯ ประกอบด้วย
- พลเอก สุรจิต จารุเศรณี เป็นนายกสมาคมฯ
- นายกอง วิสุทธารมณ์ เป็นอุปนายก
- นายแมน พลพยุหคีรี เป็นเหรัญญิก
- นายเฉลิม บุณยะสุนทร เป็นเลขานุการ
- นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นกรรมการ
- นายเสรี ไตรรัตน์ เป็นกรรมการ
- นายนิคม พลสุวรรณ เป็นกรรมการ
ช่วง 25 ปีแรก (พ.ศ. 2502–2527)
แก้หลังจากกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 สมาคมฯ มีกิจกรรมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยระดับประชาชนเพียงรายการเดียว ปีละครั้งกับกีฬาแห่งชาติ (กีฬาเขตแห่งประเทศไทยเดิม จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย) ที่ทีมชาติลงแข่งขันไม่ได้เท่านั้นก่อนซีเกมส์ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2528) มีทีมชาติไทยไม่ได้พัฒนาเพราะได้แข่งขันในระดับนานาชาติเฉพาะกีฬาเซียพเกมส์และกีฬาซีเกมส์ (2 ปี ต่อครั้ง) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียครั้งที่ 1 ที่เกาหลีใต้ และทีมชายได้ไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเท่านั้น
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2502 จนถึงครั้งที่ 8 ทีมชายได้เหรียญทองเพียงครั้งเดียวในการแข่งขันครั้งที่ 1 แต่ยังได้เหรียญเงินและทองแดง ทุกครั้ง ยกเว้นครั้งที่ 5 ที่ไม่ได้ส่งแข่ง และครั้งที่ 7 ที่ไม่ได้เหรียญใดเลย ส่วนทีมหญิงมีโอกาสได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งที่ 4 และ 8 ซึ่งจัดการแข่งขันที่กรุงเทพฯ และในการแข่งขันครั้งอื่น ๆ ได้เหรียญเงิน หรือทองแดงทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) เป็นซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ในการแข่งขันครั้งที่ 9 ทีมชาย-หญิง ยังคงได้หรียญทองแดงส่วนในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพทั้ง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2509 ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2513 และ ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2521 ทีมวอลเลย์บอลไม่ประสบผลสำเร็จเพียงเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพเท่านั้น
ทีมวอลเลย์บอลไทยประสบภาวะตกต่ำไม่ได้เหรียญใด ๆ เลย ถึง 3 ครั้ง ติดต่อกันตั้งแต่กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10–12 ประกอบกับมีปัญหาด้านการบริหารสมาคม ทำให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่ โดยได้เรียนเชิญ นายพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้นเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฯ
เมื่อรับตำแหน่งนายกสมาคมฯ ปลัดพิศาลฯ ได้แนะนำให้เชิญผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาร่วมบริหารในสมาคมฯ อีกมากมาย แม้ปลัดพิศาลฯ จะมีภารกิจมาก แต่ก็ให้ความสนใจกับงานของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง
การที่สมาคมฯ มีฐานการทำงานที่แข็งแกร่งจากกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศให้ความร่วมมือสนับสนุนวงการวอลเลย์บอล เป็นการกระจายฐานของกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยออกไปในวงกว้างทั่วประเทศ
ผู้บริหารของสมาคมฯ ในยุคต่อ ๆ มาได้ดำเนินงานตามนโยบายที่นายกฯ พิศาลฯ ให้ไว้มาโดยตลอด และสร้างโอกาสให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาได้เรียนรู้การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลอย่างต่อเนื่องจนผู้ฝึกสอนไทยมีความสามารถสร้างทีมแข่งขันในระดับทวีปและระดับโลก ประกอบกับสมาคมฯ มีแผนงานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตามปฏิทินที่กำหนดไว้ทุกปี และมีผู้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนสามารถจัดการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลก และร่วมการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลกเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในยุคต่อ ๆ มา ภายใต้การนำของนายกสมาคมฯ นายอารีย์ วงศ์อารยะ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และนายพงศ์โพยม วาศภูติ ตลอดจนนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่ติดต่อกันมาตามลำดับ และในแต่ละยุคก็สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในประเทศ ระดับทวีปและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง
การจัดการแข่งขันระดับอายุต่าง ๆ ภายในประเทศ
แก้ภายหลังการเข้ามาบริหารของนายพิศาล มูลศาสตรสาทร ในปี พ.ศ. 2528 นอกจากจัดการแข่งขันระดับประชาชนเป็นปฏิทินประจำปีแล้ว สมาคมฯ พยายามขยายพื้นที่โดยได้เริ่มจัดการแข่งขันให้มากขึ้นทั่วประเทศเพื่อเป็นการพัฒนาระดับรากหญ้าทั่วประเทศ ถ้วยแรกที่ประสบความสำเร็จ คือ พาวเวอร์ทัวร์นาเมนท์ เป็นทัวร์นาเมนท์แรกที่จัดกันทั่วประเทศ โดยคุณจรูญ วานิชชา หรือ จุ่น บางระจัน ร่วมกับ คุณสมิต มานัสฤดี หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในขณะนั้น ได้เสนอให้บริษัทรองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งมีคุณเฉลิม จันทร์อุไร เป็นผู้จัดการ และคุณระวีวรรณ แจ้งเจนกิจ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ให้เข้ามาช่วยเป็นผู้สนับสนุนสมาคมฯ จัดการแข่งขันในระดับอายุไม่เกิน 18 ปี คัดเลือกผู้ชนะในแต่ละภาคมาแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ และสมาคมฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจในภายหลัง จึงได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนมาเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จนถึงปัจจุบัน
การแข่งขันระดับอายุ 14 ปี เป็นรายการที่ 2 เริ่มจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เข้ามาให้การสนับสนุนจัดการแข่งขันยุวชนเครือซิเมนต์ไทย ต่อมาได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ บริษัทสุพรีม ดิสตริบิวชั่น จำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรายการวอลเลย์บอลยุวชน แอร์เอเชีย
การแข่งขันระดับอายุ 16 ปี เป็นรายการที่ 3 ที่สมาคมฯ จัดขึ้นทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) จัดการแข่งขันยุวชนเป๊ปซี่ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 19 สมาคมฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรายการวอลเลย์บอลยุวชน เอสโคล่า
บริษัทไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือสหพัฒนพิบูล เริ่มเข้ามาช่วยการแข่งขันในระดับอายุ 12 ปี ไลอ้อนคัพ ซึ่งเป็นการจัดที่ไม่ค่อยมีใครอยากจัด แทบจะไม่ได้ผลตอบแทนจากการประชาสัมพันธ์เลย เพราะไม่ค่อยมีผู้สนใจกับการแข่งขันของเด็กๆ อายุ 12 ปี สักเท่าไร ช่วงหลังเมื่อเครือสหพัฒน์หยุดสนับสนุน บริษัทสยามกว้างไพศาล เข้ามาช่วยจัดการแข่งขันปลายิ้ม มินิวอลเลย์บอล ได้นำทีมที่ชนะเลิศไปแข่งขันและทัศนศึกษาที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกงบ้าง แม้ระยะหลังบริษัทสยามกว้างไพศาลจะถอนตัวจากการเป็นผู้สนับสนุนไป สมาคมฯ ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด อย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันได้มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนร่วมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นการกลับมาจัดได้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน
สมาคมฯ ได้จัดการแข่งขัน 4 ระดับอายุ คือ 12, 14, 16 และ 18 ปี ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน จากการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับโลกเป็นประจำทุกปี ทำให้เด็ก ๆ ในสถาบันการศึกษาหันมาสนับสนุนและเล่นวอลเลย์บอลกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศและทุกระดับอายุเช่นในปัจจุบัน
จากสมัครเล่นสู่อาชีพ
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
การจัดแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ
แก้สำหรับการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลลีกอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ร่วมกับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2548 (ฤดูกาล 2005/2006) และดำเนินการมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ขยายไปถึงลีกระดับรองคือ วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์) ตลอดจน วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก ซึ่งเป็นการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลให้มีศักยภาพสู่การเป็นกีฬาอาชีพอย่างแท้จริง และไทยมีนักกีฬาป้อนเข้าสู่ทีมชาติได้อย่างต่อเนื่อง
รายนามนายกสมาคม
แก้- สุรจิต จารุเศรณี (พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2505)
- บุญชิต เกตุรายนาค (พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2511)
- อนุ รมยานนท์ (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2528)
- พิศาล มูลศาสตรสาทร (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2536)
- อารีย์ วงศ์อารยะ (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540)
- ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2546)
- เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550)
- พงศ์โพยม วาศภูติ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554)
- สมพร ใช้บางยาง (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน
แก้- นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
- อุปนายกสมาคมฯ
- นายฉัตรชัย พรหมเลิศ (ฝ่ายบริหาร)
- นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ (ฝ่ายกิจการพิเศษ)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว (ฝ่ายวอลเลย์บอลชายหาด)
- นางธารทิพย์ ศิรินุพงศ์ (ฝ่ายสื่อสารองค์กร)
- นายธิติ พฤกษ์ชะอุ่ม (ฝ่ายกีฬาอาชีพ)
- จ่าอากาศเอก เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร (ฝ่ายเทคนิค)
- รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ คชสิทธิ์ (ฝ่ายวอลเลย์บอลชายหาด)
- นายศุภชัย เอกอุ่น (ฝ่ายวอลเลย์บอลในร่ม)
- กรรมการ
- นายสนิท แย้มเกษร (ประธานฝ่ายผู้ตัดสิน)
- นายสุรพล อุทินทุ
- พันโทอภินันท์ พิศนุวรรณเวช
- นายสมศักดิ์ เวชากร (นายทะเบียน)
- ดร.ชัย นิมากร (เหรัญญิก)
- เลขาธิการสมาคมฯ
- พันจ่าอากาศเอก นัฐพงศ์ เกษาพันธ์
- นายกกิตติมศักดิ์
- นายพลากร สุวรรณรัฐ
- นายอารีย์ วงศ์อารยะ
- นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
- นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
- นายพงศ์โพยม วาศภูติ
- นายไกรสร จันศิริ
- นายเกรียงไกร นพสงค์
- นายกิจ พฤกษ์ชอุ่ม
- นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
- นายกกิตติมศักดิ์ / เลขาธิการกิตติมศักดิ์ / ประธานอำนวยการสมาคม
- เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ
- ที่ปรึกษาสมาคมฯ
- นายอนุชา โมกขะเวส
- นายจาดุร อภิชาตบุตร
- นายเจษฎา เดชสกุลฤทธิ์
- นายเฉลิมศักดิ์ ศรีสวัสดิ์
- ร้อยตำรวจโท ดร.จุฑาพล เมตตาสัตย์
- นายเชน วิพัฒน์บวรวงศ์
- นาวาอากาศเอกชูเกียรติ ไทยใหญ่
- นายเชษฐวิทย์ ตันติพันธุ์วดี
- นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง
- ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ
- นายนิพนธ์ บุญญามณี
- นายปานชัย บวรรัตนปราณ
- นายปรีชา ประยูรพัฒน์
- นายมนตรี ไชยพันธุ์
- นายวิชัย ศรีขวัญ
- นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตต์
- นางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฐ์
- นายสมเกียรติ เลียงประสิทธิ์
- นายสมควร รวิรัช
- ดร.สมจิตร์ ศิริเสนา
- นายสมชาติ สุรจิตติพงศ์
- พันโท ดร.สินธพ แก้วพิจิตร
- ดร.สิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ
- ดร.สุรินทร์ โตทับเที่ยง
- นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม
- นายธนาคม จงจิระ
- นายประยูร รัตนเสนีย์
การจัดการแข่งขันภายในประเทศ
แก้ระดับอายุไม่เกิน 12 ปี
แก้ระดับอายุไม่เกิน 14 ปี
แก้ระดับอายุไม่เกิน 16 ปี
แก้ระดับอายุไม่เกิน 18 ปี
แก้- วอลเลย์บอลเยาวชน PEA ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
- วอลเลย์บอล "ซีเล็คทูน่า" เยาวชน ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ระดับอุดมศึกษาและระดับประชาชน
แก้- แชมป์กีฬา 7 สี วอลเลย์บอลอุดมศึกษา
- วอลเลย์บอลยูแชมเปียนส์คัพ
- วอลเลย์บอล "ซีเล็คทูน่า" ประชาชน ก ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
- วอลเลย์บอล "ซีเล็คทูน่า" ประชาชน ข ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
วอลเลย์บอลลีกอาชีพ
แก้- วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก
- วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
- วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์)
- วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก
วอลเลย์บอลชายหาด
แก้การจัดการแข่งขันระดับนานาชาติในประเทศ
แก้ปี พ.ศ. | สถานที่ | รายการแข่งขัน |
---|---|---|
พ.ศ. 2529 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันเยาวชนชาย และหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2533 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันเยาวชนชายชิงแชมป์เอเชีย ที่กรุงเทพมหานคร |
เชียงใหม่ | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดเชียงใหม่ | |
พ.ศ. 2534 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียหญิง ที่กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2535 | ชลบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนซีรี ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี |
พ.ศ. 2536 | นครราชสีมา | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียชาย ที่จังหวัดนครราชสีมา |
ชลบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนซีรีส์ ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี | |
พ.ศ. 2537 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่กรุงเทพมหานคร |
ชลบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนซีรีส์ ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี | |
พ.ศ. 2538 | เชียงใหม่ | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียหญิง ที่จังหวัดเชียงใหม่ |
ยะลา | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดยะลา | |
ระยอง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนซีรีส์ จังหวัดระยอง | |
พ.ศ. 2539 | เชียงใหม่ | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดเชียงใหม่ |
ระยอง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนซีรีส์ จังหวัดระยอง | |
พ.ศ. 2540 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่กรุงเทพมหานคร |
เชียงใหม่ | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดเชียงใหม่ | |
ตรัง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ จังหวัดตรัง | |
พ.ศ. 2541 | ตรัง | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดตรัง |
ตรัง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ จังหวัดตรัง | |
พ.ศ. 2542 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันชิงแชมป์สโมสรเอเชียหญิง ที่กรุงเทพมหานคร |
ศรีสะเกษ | การแข่งขันเยาวชนชายชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ | |
ศรีสะเกษ | การแข่งขันชิงชนะเลิศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชายและหญิง ที่จังหวัดศรีสะเกษ | |
อุบลราชธานี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงชนะเลิศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชายและหญิง ที่จังหวัดอุบลราชธานี (กีฬาซีเกมส์ที่บรูไน ดารุสซาลามไม่มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอล จึงมีรายการนี้ขึ้นเพื่อชดเชย) | |
ตรัง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ จังหวัดตรัง | |
พ.ศ. 2543 | สุพรรณบุรี | การแข่งขันชิงแชมป์สโมสรเอเชียชาย ที่จังหวัดสุพรรณบุรี |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
พ.ศ. 2544 | ตรัง | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดตรัง |
ตรัง | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียหญิง ที่จังหวัดนครราชสีมา | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่จังหวัดสงขลา | |
พ.ศ. 2545 | กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันชิงแชมป์สโมสรเอเชียหญิง ที่กรุงเทพมหานคร |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
พ.ศ. 2546 | ศรีสะเกษ | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดศรีสะเกษ |
สุพรรณบุรี | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดสุพรรณบุรี | |
สุพรรณบุรี | การแข่งขันยุวชนชายชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดสุพรรณบุรี | |
ชลบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด อายุไม่เกิน 18 ปี ชิงแชมป์โลก จังหวัดชลบุรี | |
พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
พ.ศ. 2547 | พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
พ.ศ. 2548 | สุพรรณบุรี | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียชาย ที่จังหวัดสุพรรณบุรี |
พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่จังหวัดสงขลา | |
ชัยภูมิ | การแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดชัยภูมิ | |
พ.ศ. 2549 | นครราชสีมา | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดนครราชสีมา |
พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2550 | กำแพงเพชร | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่จังหวัดกำแพงเพชร |
นครราชสีมา | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียหญิง ที่จังหวัดนครราชสีมา | |
นครราชสีมา | การแข่งขันเยาวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดนครราชสีมา | |
พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่จังหวัดสงขลา | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2551 | พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2552 | นครปฐม | การแข่งขันชิงแชมป์สโมสรเอเชียหญิง ที่จังหวัดนครปฐม |
นครราชสีมา | การแข่งขันยุวชนหญิงชิงแชมป์โลก ที่จังหวัดนครราชสีมา | |
กรุงเทพมหานคร | การแข่งขันชิงแชมป์เอเชียมหาวิทยาลัยหญิง กรุงเทพมหานคร | |
นครศรีธรรมราช | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช | |
พัทลุง | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดพัทลุง | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2553 | ราชบุรี | การแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดราชบุรี |
นครปฐม ราชบุรี | การแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่จังหวัดนครปฐมและราชบุรี | |
นครศรีธรรมราช | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช | |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2554 | สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา |
เพชรบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดรอบคัดเลือกโอลิมปิกเกม โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดเพชรบุรี | |
ภูเก็ต | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดภูเก็ต | |
พ.ศ. 2555 | นครศรีธรรมราช | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช |
สงขลา | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยน ทัวร์ ที่จังหวัดสงขลา | |
ชลบุรี | การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด เวิลด์ ทัวร์ ที่จังหวัดชลบุรี | |
พ.ศ. 2556 | นครราชสีมา | วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 |
พ.ศ. 2557 | นครราชสีมา | วอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2014 |
ภูเก็ต | วอลเลย์บอลชายหาด เอเชี่ยนบีช ครั้งที่ 4 | |
ปทุมธานี | วอลเลย์บอลชายหาดโอลิมปิค รอบคัดเลือกโซนอาเซี่ยน | |
ชลบุรี | วอลเลย์บอลชายหาดรายการ "เอฟไอวีบี พัทยา ไทยแลนด์ชาเลนเจอร์" | |
กาญจนบุรี | วอลเลย์บอลนักเรียนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 | |
กรุงเทพมหานคร | วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2014 สัปดาห์ที่ 3 | |
พ.ศ. 2558 | กรุงเทพมหานคร | วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2015 สัปดาห์ที่ 1 |
สงขลา | วอลเลย์บอลชายหาด “สมิหลา-ช้าง” เอวีซีบีชทัวร์ ครั้งที่ 16 | |
นครศรีธรรมราช | วอลเลย์บอลชายหาด “นครศรี-ช้าง-ซีเล็คทูน่า” เอวีซีบีชทัวร์ ครั้งที่ 6 | |
หนองคาย | วอลเลย์บอลชายหาด”หนองคาย-ช้าง” รอบคัดเลือกโอลิมปิก โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |
พ.ศ. 2559 | นครศรีธรรมราช | วอลเลย์บอลชายหาด ขนอม-ช้าง เอเชียนทัวร์ ครั้งที่ 7 |
สงขลา | วอลเลย์บอลชายหาด สมิหลา-ช้าง เอเชียนทัวร์ ครั้งที่ 17 | |
สงขลา | วอลเลย์บอลชายหาด อายุไม่เกิน 17 ปี ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 | |
ศรีสะเกษ | "ปริ๊สเซส คัพ" วอลเลย์บอลเยาวชนหญิง อายุไม่เกิน 19 ปี ชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 19 | |
นครราชสีมา | วอลเลย์บอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2016 | |
กรุงเทพมหานคร | วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2016 รอบสุดท้าย | |
นครปฐม | วอลเลย์บอลชายเอวีซีคัพ 2016 | |
พ.ศ. 2560 | นครราชสีมา | วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2017 |
บุคลากรของสมาคมที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับเอฟไอวีบี และเอวีซี
แก้บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ
- FIVB กรรมการบริหาร กรรมการสภาการจัดการแข่งขัน ประธานเทคนิคสภาเวิลด์กรังด์ปรีซ์
- AVC รองประธานสหพันธ์ ประธานสภาการจัดการแข่งขัน
- ดร.ประเวช รัตนเพียร
- AVC ประธานสภาวอลเลย์บอลชายหาด ปี 2547 – 2550
- อาจารย์ทรงศักดิ์ เจริญพงศ์
- FIVB กรรมการฝ่ายผู้ตัดสิน
- AVC เลขานุการฝ่ายผู้ตัดสิน
- นพ.เรืองศักดิ์ ศิริผล
- AVC กรรมการสมทบสภาการจัดการแข่งขัน เลขานุกาคณะกรรมการฝ่ายการแพทย์
- เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
- FIVB กรรมการฝ่ายผู้ฝึกสอน ปี 2548 – 2550
- กฤษฎา ปาณะเสรี
- FIVB ผู้ตัดสินวอลเลย์บอลชายหาดนานาชาติ ปฏิบัติหน้าที่ในรายการต่าง ๆ ของสหพันธ์
- AVC ผู้ควบคุมผู้ตัดสิน ผู้ควบคุมการแข่งขัน ในรายการต่าง ๆ
- ภาวนา ศรีธูป
- FIVB ผู้แทนวิเคราะห์การแข่งขันทางสถิติ ผู้ควบคุมการวิเคราะห์การแข่งขันรายการต่าง ๆ
- AVC ผู้แทนวิเคราะห์การแข่งขันทางสถิติ ผู้ควบคุมการวิเคราะห์การแข่งขันรายการต่าง ๆ
- ปรีชาชาญ วิริยานุภาพพงศ์
- FIVB ผู้แทนฝ่ายสื่อมวลชนในการแข่งขันต่าง ๆ เขียนข่าวการแข่งขันรายการต่าง ๆ ลงเว็บไซต์
- AVC ผู้แทนฝ่ายสื่อมวลชนในการแข่งขันต่าง ๆ เขียนข่าวการแข่งขันรายการต่าง ๆ ลงเว็บไซต์
- จันทร์เพ็ญ จิรัคคกุล
- FIVB ผู้ตัดสินนานาชาติ ในการแข่งขันชิงแชมป์โลก กีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง
- AVC ผู้ตัดสินนานาชาติ ในการแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย ระดับต่าง ๆ
- พัลลภ โสวภาค
- FIVB ผู้ตัดสินนานาชาติ ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกระดับเยาวชน คัดเลือกชิงแชมป์โลก เวิลด์กรังด์ปรีซ์ เวิลด์ลีก
- AVC ผู้ตัดสินนานาชาติ ในการแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย ระดับต่าง ๆ
แนวคิดการพัฒนาทีมชาติในอนาคต
แก้บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ช่วงปีที่ผ่านมา สมาคมฯ มีผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณชน ความสำเร็จการแข่งขันในระดับนานาชาติแม้จะไม่โดดเด่น โดยรวมถือว่ายังคงรักษามาตรฐานได้เป็นอย่างดี จากความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ที่วอลเลย์บอลทีมชาติไทยยังสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้ทั้งประเภททีมหญิงและทีมชาย ขณะเดียวกันรายการเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ทีมหญิงยังคงได้สิทธิ์อยู่ในกลุ่ม 1 ต่อไป
นอกจากนี้นักกีฬาระดับรองลงไปซึ่งเป็นอนาคตของทีมชาติได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชียเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก 2015 ทั้งในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ที่เปรู และรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ตุรกี ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติของทุกประเภททั้งในร่มและชายหาดก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญมีนักกีฬาที่มีศักยภาพพร้อมที่จะทดแทนรุ่นพี่ ๆ ได้จำนวนมาก
ในส่วนของการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไปสู่อาชีพ การแข่งขันไทยแลนด์ลีก ได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการจัดการแข่งขัน การพัฒนาของสโมสรและแฟนคลับ การแข่งขันที่สนุกสูสี ตื่นเต้น ได้รับความสนใจของผู้ชมทั้งในสนามต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่คือ การที่สโมสรบางกอกกล๊าสสามารถชนะเลิศการแข่งขันสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2015 ทำให้ได้สิทธิ์ไปชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 ต่อไป
ความสำเร็จที่ปรากฏและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทั้งสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ คือผลการดำเนินงานในด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาภายในและภายนอกประเทศ การจัดการแข่งขันทุกประเภททั้งในร่มและชายหาด ทุกรุ่นอายุกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศยังคงดำเนินต่อเนื่อง และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีสถาบันการศึกษาระดับประถมและมัธยมส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในโครงการเยาวชนคนของชาติที่เสาะแสวงหาและให้โอกาสกับเด็ก เยาวชน ที่มีความสูงได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา ทั้งชายและหญิง มากกว่า 40 คน รวมทั้งสร้างกระแสความสนใจกีฬาวอลเลย์บอลได้อย่างดียิ่ง
จากการที่ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ เป็นอย่างดีมาโดยตลอด และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียมีมติให้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ประเทศไทย โดยได้เปิดทำการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ จากผลความสำเร็จทั้งในด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาและความร่วมมือที่ยอดเยี่ยมของครอบครัววอลเลย์บอลไทยจนประสบผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนต่อเนื่อง ทำให้สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ยกระดับประเทศไทยจากระดับ 4 ขึ้นสู่ระดับสูงสุดคือระดับ 5 เทียบเท่า สหรัฐอเมริกา บราซิล อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน นอกจากนี้ยังย่องในความสำเร็จจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์กรังด์ปรีซ์รอบชิงชนะเลิศเมื่อเดือนกรกฎาคม 2016
จากการเริ่มเข้าแข่งขันระดับนานาชาติ ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้าร่วมแข่งขันใหม่ ๆ ทีมวอลเลย์บอลไทยอยู่อันดับเกือบท้าย ๆ ของเอเชีย ในกีฬาซีเกมส์สู้อินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์ไม่ได้ ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี ในการไล่ตามและชนะได้อย่างถาวรจนถึงปัจจุบัน และใช้เวลาถึง 14 ปี ในการไล่ทันไต้หวัน อดีตเสือตัวที่ 4 ของเอเซีย และในปัจจุบันทีมไทยกำลังไล่ทันเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งถึงแม้ว่าจะแพ้มากกว่าชนะ แต่ถึงปัจจุบันเกือบจะไม่ได้ต่างกันแล้ว ขึ้นอยู่กับจังหวะในการเล่นเท่านั้นเอง ซึ่งคงต้องการพัฒนาต่อไปอีก ถึงแม้ว่าการได้แชมป์เอเชียหญิงในปี 2552 และ 2556 ได้เหรียญทองแดงเอเชียนเกมส์ในปี 2557 รวมทั้งเคยได้อันดับโลกของเอฟไอวีบีสูงสุดถึงอันดับ 10 เมื่อปี 2554 แล้วก็ตาม แต่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่คือการเข้าร่วมมหกรรมกีฬาโอลิมปิกส์ยังอยู่ข้างหน้า ซึ่งสมาคมฯ จะต้องมุ่งไปสู่จุดหมายดังกล่าวในอนาคต