สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ

สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale de Volleyball) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า FIVB เป็นการดูแลระหว่างประเทศเพื่อการกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดและวอลเลย์บอลในร่ม ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ตั้งอยู่ในโลซาน สวิตเซอร์แลนด์ และมีประธานปัจจุบันคือ อาลี กราซา

สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ
ชื่อย่อFIVB
คําขวัญGet involved, keep the ball flying!
ก่อนหน้าสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติ
ก่อตั้ง20 เมษายน 1947; 78 ปีก่อน (1947-04-20)
ก่อตั้งที่ปารีส ฝรั่งเศส
ประเภทสหพันธ์กีฬา
สถานะตามกฎหมายดูแลการกีฬาวอลเลย์บอล
วัตถุประสงค์ธรรมาภิบาลกีฬา
สํานักงานใหญ่โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์
พิกัด46°30′26.87″N 6°38′8.7″E / 46.5074639°N 6.635750°E / 46.5074639; 6.635750
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
222 สมาคมแห่งชาติ
ภาษาทางการอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, อาหรับ,
โปรตุเกส, รัสเซีย[1]
ประธาน
ประเทศบราซิล ฟาบีโอ อาเซเวโด
องค์กรแม่สภา
หน่วยงานในกํากับ
สังกัดคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
เว็บไซต์www.fivb.com

ประวัติ

แก้

ก่อนที่สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศจะก่อตั้งขึ้น กีฬาวอลเลย์บอลอยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติ โดยเอฟไอวีบีได้รับการก่อตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1947[2] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งชาติของทวีปยุโรปบางประเทศเริ่มหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรบริหารระดับนานาชาติสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล ซึ่งการพูดคุยเบื้องต้นนำไปสู่การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1947 มีสหพันธ์ระดับชาติจาก 14 ประเทศใน 5 ทวีป เข้าร่วมการประชุมระหว่างวันที่ 18–20 เมษายน และได้มีการก่อตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการ โดยมีนายปอล ลีบ็อง ชาวฝรั่งเศสเป็นประธานคนแรกของเอฟไอวีบี การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียครั้งแรกจัดขึ้นที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1955 และในการแข่งขันชิงแชมป์ครั้งนี้ ทีมชาติอินเดียสามารถเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นได้ในรอบชิงชนะเลิศ

หนึ่งในเป้าหมายหลักของการประชุมในปี ค.ศ. 1947 ได้บรรลุผลสำเร็จในอีกสองปีต่อมาด้วยการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติรายการใหญ่รายการแรก ซึ่งก็คือการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก และในปี ค.ศ. 1952 ได้มีการจัดการแข่งขันประเภทหญิงเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้รับรองให้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าสู่รายการแข่งขันโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ ภายในช่วงเวลานั้น จำนวนสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งชาติที่ขึ้นทะเบียนกับเอฟไอวีบีได้เพิ่มขึ้นเป็น 89 สหพันธ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติรายการใหม่ขึ้น คือ วอลเลย์บอลเวิลด์คัพ ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1991 ได้ถูกกำหนดให้เป็นการแข่งขันคัดเลือกทีมเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2008 นายเว่ย์ จี้จง (魏纪中) จากประเทศจีน ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานคนที่หนึ่งในขณะนั้น ได้เข้ารับตำแหน่งแทนระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ของเอฟไอวีบี ครั้งที่ 31 จัดขึ้นที่ดูไบ หลังจากที่นายรูเบน อาโกสตา ตัดสินใจลาออก นายเว่ย์ จี้จง จึงกลายเป็นประธานคนที่สามในประวัติศาสตร์ของเอฟไอวีบี โดยพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน

ในปี ค.ศ. 2020 เอฟไอวีบี มีสหพันธ์สมาชิกทั้งหมด 222 สหพันธ์

การแข่งขัน

แก้

การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด:

และด้านล่างนี้เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดเยาวชนระดับนานาชาติ:

แชมป์ในการแข่งขันปัจจุบัน

แก้

วอลเลย์บอลในร่ม

แก้

ระดับทีมชาติ

แก้
รายการ ชุดใหญ่
(ชาย) – (หญิง)
ยู-23
(ชาย) – (หญิง)
เยาวชน
(ชาย ยู-21) – (หญิง ยู-21)
ยุวชน
(ชาย ยู-19) – (หญิง ยู-19)
ยุวชน
(ชาย ยู-17) – (หญิง ยู-17)
ชิงแชมป์โลก (ชาย)   อิตาลี (2022)   อาร์เจนตินา (2017)   อิหร่าน (2023)   ฝรั่งเศส (2023)   อิตาลี (2024)
(หญิง)   เซอร์เบีย (2022)   ตุรกี (2017)   จีน (2023)   สหรัฐ (2023)   จีน (2024)
กีฬาโอลิมปิก (ชาย)   ฝรั่งเศส (2024) N/A   คิวบา (2010) N/A
(หญิง)   อิตาลี (2024)   เบลเยียม (2010)
เวิลด์คัพ (ชาย)   บราซิล (2019) N/A
(หญิง)   จีน (2019)
เวิลด์แกรนด์แชมเปียนคัพ (ชาย)   บราซิล (2017) N/A
(หญิง)   จีน (2017)
วอลเลย์บอลเนชันส์ลีก (ชาย)   ฝรั่งเศส (2024) N/A
(หญิง)   อิตาลี (2024)
รายการชิงแชมป์ทวีป ชุดใหญ่ ยู-23 ยู-21/ยู-20 ยู-19/ยู-18 ยู-17/ยู-16
แอฟริกา (ซีเอวีบี) (ชาย)   อียิปต์ (2023)   แอลจีเรีย (2017)   ตูนิเซีย (2024)   ตูนิเซีย (2024)   อียิปต์ (2023)
(หญิง)   เคนยา (2023)   อียิปต์ (2016)   ตูนิเซีย (2024)   ตูนิเซีย (2024)   อียิปต์ (2023)
เอเชียและโอเชียเนีย (เอวีซี) (ชาย)   ญี่ปุ่น (2023)   จีนไทเป (2019)   อิหร่าน (2024)   ญี่ปุ่น (2024)   อิหร่าน (2023)
(หญิง)   ไทย (2023)   จีน (2019)   จีน (2024)   จีน (2024)   ญี่ปุ่น (2023)
ยุโรป (ซีอีวี) (ชาย)   โปแลนด์ (2023)   ฝรั่งเศส (2024)   รัสเซีย (2024)   อิตาลี (2024)   อิตาลี (2023)
(หญิง)   ตุรกี (2023)   อิตาลี (2024)   ตุรกี (2024)   รัสเซีย (2024)   อิตาลี (2023)
อเมริกาเหนือ (นอร์เซกา) (ชาย)   สหรัฐ (2023) N/A   สหรัฐ (2024)   สหรัฐ (2024)   ปวยร์โตรีโก (2023)
(หญิง)   สาธารณรัฐโดมินิกัน (2023)   สหรัฐ (2024)   สหรัฐ (2024)   เม็กซิโก (2023)
อเมริกาใต้ (ซีเอสวี) (ชาย)   อาร์เจนตินา (2023)   บราซิล (2016)   บราซิล (2024)   อาร์เจนตินา (2024)   บราซิล (2023)
(หญิง)   บราซิล (2023)   บราซิล (2016)   บราซิล (2024)   บราซิล (2024)   อาร์เจนตินา (2023)

ระดับสโมสร

แก้
รายการ ชาย หญิง
ชิงแชมป์สโมสรโลก (ชาย) (หญิง)   ซาดากรูเซย์รูโวเลย์ (2021)   วาคึฟบังค์อิสตันบูล (2021)
ชิงแชมป์สโมสรแอฟริกัน   อัลอะฮ์ลี (2022)   คลับเฟมีนิน เด คาร์เธจ (2021)
ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย   เพย์กอน เตหะราน (2022)   สปอร์ต​คลับ1 (2023)
ยูโรเปียนแชมเปียนส์ลีก (ชาย) (หญิง)   ซักซาแกนแจชึน-กอชแล (2022)   วาคึฟบังค์อิสตันบูล (2022)
ชิงแชมป์สโมสรอเมริกาใต้   ซาดากรูเซย์รูโวเลย์ (2022)   มีนัสเตนิสกลูบี (2022)

วอลเลย์บอลชายหาด

แก้
รายการ ชาย หญิง
กีฬาโอลิมปิก   Anders Mol และ Christian Sørum (NOR) (2020)   April Ross และ Alix Klineman (USA) (2020)
ชิงแชมป์โลก   Oleg Stoyanovskiy และ Viacheslav Krasilnikov (RUS) (2019)   Sarah Pavan และ Melissa Humana-Paredes (CAN) (2019)
เวิลด์ทัวร์   Viacheslav Krasilnikov และ Oleg Stoyanovskiy (RUS) (2019)   Laura Ludwig และ Margareta Kozuch (GER) (2019)
กีฬาโอลิมปิกเยาวชน   David Åhman และ Jonatan Hellvig (SWE) (2018)   Maria Voronina และ Maria Bocharova (RUS) (2018)
ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี   Maciej Kosiak และ Maciej Rudol (POL) (2014)   Nicole Laird และ Mariafe Artacho (AUS) (2014)
ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี   Renato Carvalho และ Rafael Carvalho (BRA) (2019)   Victoria Tosta และ Vitoria Rodrigues (BRA) (2019)
ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี   Denis Shekunov และ Dmitrii Veretiuk (RUS) (2018)   Maria Voronina และ Maria Bocharova (RUS) (2018)
ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี   Florian Breer และ Yves Haussener (SUI) (2014)   Morgan Martin และ Kathryn Plummer (USA) (2014)

รายการแข่งขันอื่น ๆ

แก้

เอฟไอวีบียังเป็นผู้รับผิดชอบการแข่งขันวอลเลย์บอลบางส่วนในระดับภูมิภาค ได้แก่

องค์กร

แก้
 
แผนที่ของทวีปสหพันธ์ร่วมกับเอฟไอวีบี

ประธานสหพันธ์

แก้
  •   ปอล ลีบ็อง (1947–1984)
  •   รูเบน อาโกสตา (1984–2008)
  •   เว่ย์ จี้จง (2008–2012)
  •   อาลี กราซา (2012–2024)
  •   ฟาบีโอ อาเซเวโด (2024–)

หมายเหตุ

แก้
  1. การแข่งขันชิงแชมป์โลกประเภททีมชายครั้งที่ 2 จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1952 และหลังจากนั้นได้จัดขึ้นทุก 4 ปี

อ้างอิง

แก้
  1. "FIVB Constitution (Edition 2014)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Fédération Internationale de Volleyball. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  2. "FIVB History" (ภาษาอังกฤษ). Fédération Internationale de Volleyball. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้