วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก
วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก (อังกฤษ: FIVB Volleyball Women's Club World Championship) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงระดับนานาชาติ อยู่ภายใต้การกำกับของสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (เอฟไอวีบี) การแข่งขันจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1991 ที่ ประเทศบราซิล และไม่ได้จัดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2009 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 การแข่งขันที่ได้รับการจัดขึ้นทุกปี โดยมีประเทศกาตาร์, สวิตเซอร์แลนด์, ฟิลิปปินส์, จีน, ญี่ปุ่น และตุรกีได้หน้าที่เป็นเจ้าภาพ
การแข่งหรือฤดูกาลปัจจุบัน: วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก 2022 | |
กีฬา | วอลเลย์บอล |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1991 |
ฤดูกาลแรก | 1991 |
จำนวนทีม | 6 ทีม |
ประเทศ | สมาชิกเอฟไอวีบี |
ทวีป | ระหว่างประเทศ (เอฟไอวีบี) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | อีโมโกวอลเลย์โกเนลยาโน (2 สมัย) |
ทีมชนะเลิศสูงสุด | วาคึฟบังค์อิสตันบูล (4 สมัย) |
หุ้นส่วนสตรีมมิง | Volleyball TV (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018) |
เว็บไซต์ | Volleyball Club World Championship |
รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ทีม ซึ่งทีมที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนของ สมาพันธ์วอลเลย์บอลอเมริกาใต้ (อเมริกาใต้) สมาพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป (ยุโรป) สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (เอเชีย) ทีมเจ้าภาพ และทีมที่ได้รับเชิญจากเอฟไอวีบีโดยตรง
แชมป์ปัจจุบันเป็นของอีโมโกวอลเลย์โกเนลยาโน จากประเทศอิตาลี ในรอบชิงชนะเลิศอีโมโกวอลเลย์โกเนลยาโน ชนะวาคึฟบังค์อิสตันบูล 3–1 เซ็ต
สรุปผลการแข่งขัน
แก้สรุปผลการแข่งขันแบ่งตามสมาพันธ์
แก้สมาพันธ์ | ชนะเลิศ | อันดับ 2 | อันดับ 3 | อันดับ 4 |
---|---|---|---|---|
สมาพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป | 11 | 7 | 9 | 8 |
สมาพันธ์วอลเลย์บอลอเมริกาใต้ | 3 | 7 | 3 | 3 |
สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย | — | — | 1 | — |
สมาพันธ์วอลเลย์บอลนอร์เซกา | — | — | — | 3 |
สมาพันธ์วอลเลย์บอลแอฟริกา | — | — | — | — |
รวม | 14 | 14 | 14 | 14 |
สรุปเหรียญการแข่งขัน
แก้ตารางเหรียญแบ่งตามสโมสร
แก้อันดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | วาคึฟบังค์อิสตันบูล | 3 | 1 | 1 | 5 |
2 | เอจซาซีบาซีวิตรา | 2 | 1 | 1 | 4 |
2 | โอซาสกู | 1 | 2 | 2 | 5 |
4 | ราบิตา บากู | 1 | 1 | 0 | 2 |
5 | เฟแนร์บาห์แช | 1 | 0 | 1 | 2 |
6 | ดีนาโมคาซาน | 1 | 0 | 0 | 1 |
เลย์ตีโมซาโซโรกาบา | 1 | 0 | 0 | 1 | |
เตโอโดราราเวนนา | 1 | 0 | 0 | 1 | |
ซาจีอาเซาเปาลู | 1 | 0 | 0 | 1 | |
อีโมโกวอลเลย์ | 1 | 0 | 0 | 1 | |
10 | ดีนาโมครัสโนดาร์ | 0 | 1 | 0 | 1 |
โปมิ กาซัลมัจจีโอเร | 0 | 1 | 0 | 1 | |
รีอูจีฌาเนย์รู | 0 | 2 | 0 | 2 | |
มาเตรา | 0 | 1 | 0 | 1 | |
มีนัสเตนิสกลูบี | 0 | 2 | 0 | 2 | |
ซาจีอาเซาเปาลู | 0 | 1 | 0 | 1 | |
16 | โวเลโรซือริช | 0 | 0 | 2 | 2 |
17 | เซซีเซาเปาลู | 0 | 0 | 1 | 1 |
กวางตุ้งเอเวอร์แกรนด์ | 0 | 0 | 1 | 1 | |
แบร์กาโม | 0 | 0 | 1 | 1 | |
อูรารอชกา เยคาเตรินบุร์ก | 0 | 0 | 1 | 1 | |
มลาดอสต์ ซาเกร็บ[A] | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม | 12 | 12 | 12 | 36 |
ตารางเหรียญแบ่งตามประเทศ
แก้อันดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | ตุรกี | 6 | 2 | 4 | 12 |
2 | บราซิล | 3 | 7 | 3 | 13 |
3 | อิตาลี | 2 | 2 | 1 | 5 |
4 | รัสเซีย | 1 | 1 | 1 | 3 |
5 | อาเซอร์ไบจาน | 1 | 1 | 0 | 2 |
6 | สวิตเซอร์แลนด์ | 0 | 0 | 2 | 2 |
7 | จีน | 0 | 0 | 1 | 1 |
เซอร์เบีย[A] | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม | 13 | 13 | 13 | 39 |
ผู้เล่นทรงคุณค่า
แก้- 2010 – คาทาร์ซีนา สโกวรอญสกา-โดลาตา (เฟแนร์บาห์แช)
- 2011 – นาตาชา ออสโมโครวิช (ราบิตา บากู)
- 2012 – ชีลา คาสโตร (โอซัสโก)
- 2013 – โจวานา บราโคเซวิช (วาคึฟบังค์อิสตันบูล)
- 2014 – เยคาเตรีนา กาโมวา (ไดนาโมคาซาน)
- 2015 – จอร์แดน ลาร์สัน (เอจซาซีบาซีวิตรา)
- 2016 – ทิยานา บอสโควิช (เอจซาซีบาซีวิตรา)
- 2017 – จู ถิง (วาคึฟบังค์อิสตันบูล)
- 2018 – จู ถิง (วาคึฟบังค์อิสตันบูล)
- 2019 – ปาโอลา เอโกนู (อีโมโกโกเนลยาโน)
- 2021 – อิซาเบลล์ ฮาค (วาคึฟบังค์อิสตันบูล)
- 2022 – อิซาเบลล์ ฮาค (อีโมโกโกเนลยาโน)
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 เอฟไอวีบี พิจารณาให้ประเทศเซอร์เบีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2007) รับช่วงต่อจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1948 – ค.ศ. 1991), สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1992 – ค.ศ. 2002) และเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (ค.ศ. 2003 – ค.ศ. 2006)