เซาเปาลู[7] (โปรตุเกส: São Paulo, ออกเสียง: [sɐ̃w ˈpawlu] ( ฟังเสียง)) หรือ เซาเปาโล[7] เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร[8] ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อ เซาเปาลู เป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญเปาโล"

เซาเปาลู
เทศบาลนครเซาเปาลู
Município de São Paulo
ธงของเซาเปาลู
ธง
ตราราชการของเซาเปาลู
ตราอาร์ม
สมญา: 
ดินแดนแห่งฝนพรำ (Terra da Garoa); "ซังปา" (Sampa); "เปาลีแซย์ยา" (Pauliceia)
คำขวัญ: 
"ข้าไม่ได้ถูกนำ ข้าเป็นผู้นำ"
(ละติน: Non ducor, duco)  
เซาเปาลูตั้งอยู่ในบราซิล
เซาเปาลู
เซาเปาลู
เซาเปาลูตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
เซาเปาลู
เซาเปาลู
พิกัด: 23°33′S 46°38′W / 23.550°S 46.633°W / -23.550; -46.633พิกัดภูมิศาสตร์: 23°33′S 46°38′W / 23.550°S 46.633°W / -23.550; -46.633
ประเทศ บราซิล
รัฐเซาเปาลู
ตั้งนคร25 มกราคม 1554; 470 ปีก่อน (1554-01-25)
ผู้ก่อตั้งมานูแวล ดา นอบรึกา และโฆเซ เด อันชิเอตา
ตั้งชื่อจากเปาโลอัครทูต
การปกครอง
 • ประเภทนายกเทศมนตรี–นคร
 • องค์กรสภาเทศบาลนครเซาเปาลู
 • นายกเทศมนตรีรีการ์ดู นูนิส (เอมีเดเบ)
พื้นที่
 • เทศบาลนคร1,521.11 ตร.กม. (587.3039 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง11,698 ตร.กม. (4,517 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,946.96 ตร.กม. (3,068.338 ตร.ไมล์)
 • Macrometropolis53,369.61 ตร.กม. (20,606.12 ตร.ไมล์)
ความสูง760 เมตร (2,493.4 ฟุต)
ประชากร
 (2020)[2][3]
12,400,232 คน
 • อันดับที่ 1 ในประเทศบราซิล
 • ความหนาแน่น8,005.25 คน/ตร.กม. (20,733.5 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล22,001,281[1] (มหานครเซาเปาลู) คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,714.45 คน/ตร.กม. (7,030.4 คน/ตร.ไมล์)
 • Macrometropolis33,652,991[4]
เดมะนิมโปรตุเกส: paulistano
เขตเวลาUTC– 03:00 (เวลาบราซิเลีย)
รหัสไปรษณีย์01000-000
รหัสพื้นที่+55 11
เอชดีไอ (2016)0.843[5] สูงมาก (ที่ 2)
พีพีพี 2018191,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (ที่ 1)
ต่อหัว56,418 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (ที่ 1)
ในนาม 2018274,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (ที่ 1)
ต่อหัว22,502 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (ที่ 1)
เว็บไซต์www.capital.sp.gov.br

เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร[9] และมีประชากร 10,886,518 คน[10] ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้[11] (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) [12]

เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน

เมืองพี่น้อง แก้

  อาบีจาน, โกตดิวัวร์ (1981)
  แอลเจียร์, แอลจีเรีย (2005)
  อัมมาน, จอร์แดน (1997)
  อาซุนซิออน, ปารากวัย (1998)
  บามาโก, มาลี (2000)
  บาร์เซโลนา, สเปน
  ปักกิ่ง, จีน (1999)
  เบรุต, เลบานอน
  เบลูโอรีซองชี, บราซิล
  บูดาเปสต์, ฮังการี (2000)
  บัวโนสไอเรส, อาร์เจนตินา (1999)
  ไคโร, อียิปต์
  กลุฌ-นาปอกา, โรมาเนีย (2000)
  กูอิงบรา, โปรตุเกส (1996)
  กอร์โดบา, สเปน (2001)
  ดามัสกัส, ซีเรีย (1999)
  ฟุงชาล, โปรตุเกส (1998)
  กออิช, โปรตุเกส (2000)
  ฮาวานา, คิวบา (1997)
  โจฮันเนสเบิร์ก, แอฟริกาใต้ (1995)
  ลาปาซ, โบลิเวีย (1999)
  ลาปลาตา, อาร์เจนตินา (1989)
  ไลรีอา, โปรตุเกส (1996)

  ลิมา, เปรู
  ลิสบอน, โปรตุเกส (1995)
  ลูอันดา, แองโกลา (1993)
  มาเก๊า, จีน (1999)
  เมนโดซา, อาร์เจนตินา (1998)
  เม็กซิโกซิตี, เม็กซิโก
  ไมแอมี, สหรัฐอเมริกา (1988)
  มิลาน, อิตาลี (1962)
  มอนเตวิเดโอ, อุรุกวัย (2001)
  นาฮะ, ญี่ปุ่น (1998)
  โอซากะ, ญี่ปุ่น (1985)
  เปรซิเดนเตฟรังโก, ปารากวัย (1994)
  รีโอเดจาเนโร, บราซิล (1995)
  ซานกริสโตบัลเดลาลากูนา, สเปน (1990)
  ซานโฮเซ, คอสตาริกา
  ซานเตียโก, ชิลี (1998)
  ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา, สเปน (2000)
  โซล, เกาหลีใต้ (1977)
  ช่างไห่, จีน (1988)
  ซิดนีย์, ออสเตรเลีย (1997)
  เทลอาวีฟ, อิสราเอล (2004)
  โทรอนโต, แคนาดา (1999)
  เยเรวาน, อาร์มีเนีย (1999)

อ้างอิง แก้

  1. S.A, Empresa Paulista de Planejamento Metropolitano. "Região Metropolitana de São Paulo". EMPLASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 3 January 2017.
  2. "São Paulo, São Paulo § informações completas" (ภาษาโปรตุเกส). ibge.gov.br. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
  3. "Sobre a RMSP" (ภาษาโปรตุเกส). Emplasa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.
  4. S.A, Empresa Paulista de Planejamento Metropolitano. "Macrometrópole Paulista". EMPLASA (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  5. "Archived copy" (PDF). PNADC United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Cidade de São Paulo | Secretaria de Relações Internacionais Prefeitura da Cidade de São Paulo". Prefeitura.sp.gov.br (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2018. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  7. 7.0 7.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  8. http://sp450anos.terra.com.br/interna/0,,OI236169-EI2551,00.html
  9. "IBGE Área Territorial Oficial". Orcamento e Gestão (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ 2006-09-16.
  10. 2007 IBGE population count
  11. Citimayors website - Largest cities
  12. São Paulo developers eye boom times ahead