มณฑลเจ้อเจียง

(เปลี่ยนทางจาก เจ้อเจียง)

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省; พินอิน: Zhèjiāng shěng เจ้อเจียงเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’(浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว

มณฑลเจ้อเจียง

浙江省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนเจ้อเจียงเฉิ่ง (浙江省 Zhèjiāng Shěng)
 • อักษรย่อZJ / เจ้อ ( Zhè)
 • ภาษาอู๋Tsehkaon San
ทิวทัศน์ภูเขายั่นตั้ง
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจ้อเจียง
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจ้อเจียง
พิกัด: 29°12′N 120°30′E / 29.2°N 120.5°E / 29.2; 120.5
ก่อตั้งมณฑลเจ้อเจียงค.ศ. 1368
ตั้งชื่อจากชื่อเดิมของแม่น้ำเฉียงถาง
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
หางโจว
จำนวนเขตการปกครอง11 จังหวัด, 90 อำเภอ, 1,570 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเชอ จฺวิ้น (车俊)
 • ผู้ว่าราชการยฺเหวียน เจียจฺวิน (袁家军)
พื้นที่
 • ทั้งหมด101,800 ตร.กม. (39,300 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 26
ความสูงจุดสูงสุด1,929 เมตร (6,329 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2018)[1]
 • ทั้งหมด57,370,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 10
 • ความหนาแน่น560 คน/ตร.กม. (1,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 8
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น: 99.2%
เชอ: 0.4%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาอู๋, Huizhou, Jianghuai Mandarin, ภาษาหมิ่นใต้
รหัส ISO 3166CN-ZJ
GDP (ค.ศ. 2018)[2]5.62 ล้านล้านเหรินหมินปี้
849.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 4)
 • ต่อหัว98,643 เหรินหมินปี้
14,907 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 5)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.789[3]
สูง · อันดับที่ 6
เว็บไซต์www.zj.gov.cn

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

มณฑลเจ้อเจียงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

แก้

พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าและลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นขั้นบันได ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเขตภูเขามีความสูงเหนือระดับ น้ำทะเลเฉลี่ย 800 เมตร ยอดเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,500 เมตรรวมอยู่หนาแน่นบริเวณนี้ด้วย ยอดเขาที่สูงที่สุดคือยอด หวงเหมาเจียน(黄茅尖) ในอำเภอหลงเฉวียน สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,929 เมตร

ทรัพยากร

แก้

เจ้อเจียงเป็นแหล่งทรัพยากรสินแร่สำคัญประเภทแร่อโลหะ มีถึง 12 ชนิดที่มีปริมาณสำรองมากเป็นอันดับต้นของประเทศ เช่น ถ่านหิน สารส้ม เถ้าภูเขาไฟใช้ในงานก่อสร้างและงานปูน แร่ฟลูโอไร ดินสาหร่ายเปลือกแข็ง เป็นต้น

ภูมิอากาศ

แก้
 
การปลูกชาในเมืองหางโจว

เจ้อเจียงทอดตัวพาดเขตโซนร้อน มีสภาพอากาศแบบมรสุม มีช่วงแดดสดใสที่ยาวนาน และ 4 ฤดูกาลที่ชัดเจน

กลุ่มเชื้อชาติ เจ้อเจียงเป็นดินแดนหลากหลายเชื้อชาติ มีชนกลุ่มน้อยทั้งหมด 49 กลุ่ม รวมประชากรเกือบ 400,000 คน นับเป็นสัดส่วนประมาณ 0.7% ของประชากรทั้งหมดในมณฑล ในจำนวนนี้ เป็นเซอ 200,000 คน และมุสลิม (หุย) 20,000 คน ในเจ้อเจียงมีเขตปกครองตนเองของชนชาติเซอ (ในระดับอำเภอ) แห่งเดียวในประเทศจีนด้วย

เศรษฐกิจ

แก้
 
ตึกระฟ้าของเมืองหางโจว

ปี พ.ศ. 2547 มูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมทั้งสามภาค เป็นดังนี้

  • ภาคการเกษตรมีมูลค่าเพิ่ม 81,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3.7%
  • ภาคอุตสาหกรรม 604,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 16.2%
  • การบริการและอื่น ๆ 438,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 13.9%

เกษตรกรรม

แก้
 
เรือทางน้ำของ Shaoxing หนึ่งในเรือศูนย์กลางของเมืองหางโจว

ธัญพืชจำพวกข้าวเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ และน้ำมันที่กินได้ เป็นสินค้าหลักของมณฑล

อุตสาหกรรม

แก้

เจ้อเจียงเป็นแดนอุตสาหกรรมชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วยภาคธุรกิจหลาก หลายประเภทได้แก่ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรคมนาคม ยาสมุนไพร

การค้าระหว่างประเทศ

แก้

มูลค่ารวมการส่งออกและนำเข้าปี 2004 เท่ากับ 85,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 38.8% เป็นมูลค่าส่งออกรวม 58,160 ล้านเหรียญฯ นำเข้ารวม 27,070 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 39.8% และ 36.6% ตามลำดับ

การคมนาคม

แก้

ทางรถไฟ

แก้

เจ้อเจียงมีชุมทางคมนาคมอยู่ที่เมืองหางโจว เมืองหลวงของมณฑล โดยมีเส้นทางรถไฟสายสำคัญ 3 สาย เชื่อมต่อหังโจวกับ 3 เขตใหญ่ เซี่ยงไฮ้ เจียงซี และหนิงปอ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางย่อยอีก 2 สาย คือ หังโจว - เซวียนเฉิง และจินหัว - เวินโจว รวมระยะทาง 1,185 กิโลเมตร

ทางหลวง

แก้

เส้นทางหลวงในเจ้อเจียง ประกอบด้วยทางหลวง 6 สาย และทางหลวงของมณฑล 66 สาย รวมระยะทาง 42,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นทางด่วน 770 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมต่อเมืองสำคัญในเขตเศรษฐกิจแยงซี อาทิ เซี่ยงไฮ้ หังโจว หนิงปอ ไถโจว เวินโจว จินหัว หนันจิง (นานกิง) เป็นต้น

ทางทะเล

แก้

เนื่องจากเป็นมณฑลติดชายฝั่งทะเล ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า 300 กิโลเมตร จึงประกอบด้วยท่าเรือเล็กใหญ่ถึง 34 แห่ง ที่สำคัญเป็นท่าเรือใน 5 เมือง คือ ท่าเรือหนิงปอ โจวซัน จ้าพู่ ไห่เหมิน และเวินโจว มีท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าน้ำหนัก 1 หมื่นตันขึ้นไปถึง 44 จุด สามารถขนถ่ายสินค้าได้ถึง 270 ล้านตัน / ปี

อ้างอิง

แก้
  1. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  2. 2013年浙江省国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาChinese (China)). Zhejiang Provincial Statistic Bureau. 2014-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
  3. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้