พงศ์โพยม วาศภูติ
พงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด
พงศ์โพยม วาศภูติ | |
---|---|
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
ก่อนหน้า | นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ |
ถัดไป | นายวิชัย ศรีขวัญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางมัณฑนา วาศภูติ |
ประวัติ
แก้นายพงศ์โพยม วาศภูติ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 สมรสกับนางมัณฑนา วาศภูติ [1] จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พงศ์โพยม จบหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่16 วิทยาลัยการปกครอง หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 20 วิทยาลัยการปกครอง หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ กองอาสารักษาดินแดน รวมทั้งจบการศึกษาอบรมจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 6 และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
การทำงาน
แก้พงศ์โพยม วาศภูติ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายแห่ง ได้แก่ นายอำเภอนาหว้า [2] นายอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม นายอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เคยเป็นผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพ กรมการปกครอง
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[3] ต่อมาถกย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พงศ์โพยม วาศภูติ เคยถูกย้ายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2548[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2549 [5]
ในปี พ.ศ. 2557 พงศ์โพยม ได้ร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. โดยขึ้นเวทีปราศรัยแถลงจุดยืนสนับสนุนให้มีการปฏิรูปประเทศ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557[6]
พงศ์โพยม วาศภูติ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้- พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก พงศ์โพยม วาศภูติ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ พงศ์โพยมผงาด ปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ↑ "รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-08-04.
- ↑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ สิงห์ทองผงาดขึ้นผู้ว่าฯคนแรกพงศ์โพยมถูกเด้งเข้ากรุฐานอัดนโยบายแก้จน
- ↑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ↑ กปปส.แน่นปทุมวัน"มาร์ค-ชวน"ร่วมทักทายมวลชน
- ↑ ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๕, ๑๘ มกราคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๕ ข หน้า ๓๘๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙