จังหวัดระยอง

จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ระยอง)

ระยอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ และผลิตภัณฑ์รวมจังหวัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตรกรรม

จังหวัดระยอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Rayong
คำขวัญ: 
ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า
น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู
สุนทรภู่กวีเอก
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระยองเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระยองเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระยองเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด3,552.0 ตร.กม. (1,371.4 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 57
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด771,189 คน
 • อันดับอันดับที่ 31
 • ความหนาแน่น217.11 คน/ตร.กม. (562.3 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 14
รหัส ISO 3166TH-21
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ประดู่
 • ดอกไม้ประดู่
 • สัตว์น้ำปลาพลวงทอง
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดระยอง เลขที่ 999 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
 • โทรศัพท์0 3869 4000
 • โทรสาร0 3869 4010
เว็บไซต์http://www.rayong.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชื่อ

แก้

คำว่าระยองเพี้ยนมาจาก "ราย็อง" เป็นภาษาชอง อาจมีความหมายสองอย่าง คือ เขตแดน หรือ ไม้ประดู่ นอกจากนี้ชื่อสถานที่ในจังหวัดระยองยังมีที่มาจากภาษาชอง เช่นคำว่า เพ, ชะเมา, แกลง

มีการกล่าวอ้างว่าแต่เดิมมีหญิงชราชื่อว่า "ยายยอง" เป็นผู้มาตั้งหลักฐานประกอบอาชีพทำไร่ในแถบนี้ก่อนผู้ใด จึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า "ไร่ยายยอง"” ต่อมาภาษาพูดเพี้ยนไปจนกลายเป็น "ระยอง" อีกข้อสันนิษฐานคือ "ระยอง" มาจาก "แร่นอง" เพี้ยนเป็น "ระนอง" ก่อนที่จะมาเป็น "ระยอง" เพราะเป็นแหล่งพบทรัพยากรแร่ธรรมชาติเป็นอันมาก[3]

ประวัติ

แก้

สมัยขอม

แก้

มีข้อสันนิษฐานที่พอเชื่อได้ว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยขอม ประมาณ พ.ศ. 1500 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมมีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเมืองนครธมเป็นราชธานี สร้างเมืองนครพนมเป็นเมืองหน้าด่านแรก เมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชและได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครธม มีเมืองจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบัน เป็นเมืองหน้าด่านเมืองแรก จึงพออนุมานได้ว่าขอมเป็นผู้สร้างเมืองระยอง แต่ไมปรากฏแน่ชัดว่าสร้างสมัยใด

ด้านหลักฐานทางโบราณคดี พบซากหินสลักรูปต่าง ๆ ที่บ้านดอน บ้านหนองเต่า ตำบลเชิงเนิน คูค่ายและซากศิลาแลงบ้านคลองยายล้ำ ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย ซึ่งมีการก่อสร้างแบบขอม[4] ชุมชนที่เก่าที่สุดเท่าที่พบคือ ชุมชมวัดบ้านค่าย เป็นชุมชนคนจีนซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลัง พ.ศ. 1700[5]

สมัยกรุงศรีอยุธยา

แก้

ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง เมื่อปี พ.ศ. 1998 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบุเมืองระยองเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีเจ้าเมืองตำแหน่งออกพระราชภักดีสงคราม[6]

และยังปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อ พ.ศ. 2113 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาละแวกเจ้าเมืองเขมรได้บุกรุกเข้ามาดินแดนไทยแถบหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก แต่ไม่สามารถยึดหัวเมืองได้ จึงกวาดต้อนผู้คนไปยังเขมรรวมถึงชาวเมืองระยองด้วยที่ถูกกวาดต้อนไปไม่น้อย

ในช่วงใกล้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระยาวชิรปราการหรือพระเจ้าตากสิน แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกเกณฑ์ให้มารักษากรุงขณะที่ถูกพม่าล้อมระหว่าง พ.ศ. 2306–2310 จนราวเดือนยี่ ท่านได้พิจารณาเห็นแล้วว่ากรุงศรีอยุธยาคงเสียแก่พม่าเป็นแน่แท้ จึงได้รวบรวมพรรคพวกประมาณ 500 คน ออกไปตั้งหลักที่วัดพิชัย แล้วยกทัพมุ่งไปทางตะวันออก พระเจ้าตากได้พักแรมอยู่ที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล สองคืน จึงได้ตั้งค่ายที่บริเวณนี้ จากนั้นจึงได้ยึดเมืองระยองแล้วโปรดให้พักไพร่พลอยู่ในเมือง 7–8 วัน แล้วจึงเสด็จต่อไปจันทบุรีเพื่อยึดที่ตั้งมั่นต่อไป ก่อนกู้อิสรภาพของชาติคืนจากพม่าต่อไป

สมัยรัตนโกสินทร์

แก้

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เป็นหัวเมืองชั้นนอก ขึ้นสังกัดกับกรมท่า หัวเมืองชั้นนอกที่ขึ้นสังกัดกรมท่าในครั้งนั้นมีสามเมืองคือ เมืองระยอง เมืองจันทบูร และเมืองตราด โดยเมื่อปี พ.ศ. 2449 เมืองระยองขึ้นกับมณฑลจันทบุรี จากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2451 ได้โอนอำเภอเมืองแกลงจากเมืองจันทบุรีมาขึ้นกับเมืองระยอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเมืองระยองมาเป็นจังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. 2459 โดยยังขึ้นต่อมณฑลจันทบุรี จากนั้นปี พ.ศ. 2474 ยุบมณฑลจันทบุรี จังหวัดระยองย้ายไปขึ้นกับมณฑลปราจีนบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อมีการยกเลิกระบบเทศาภิบาล จังหวัดระยองจึงขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย[6]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แก้
 
ต้นกระทิง

อาณาเขตติดต่อ

แก้

หน่วยการปกครอง

แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 58 ตำบล 442 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองระยอง
  2. อำเภอบ้านฉาง
  3. อำเภอแกลง
  4. อำเภอวังจันทร์
  5. อำเภอบ้านค่าย
  6. อำเภอปลวกแดง
  7. อำเภอเขาชะเมา
  8. อำเภอนิคมพัฒนา
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

เทศบาลนคร

แก้

มีเทศบาลนคร 1 แห่ง คือ

  1. เทศบาลนครระยอง

เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล

แก้

มีเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 27 แห่ง คือ

  1. เทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง/อำเภอนิคมพัฒนา
  2. เทศบาลเมืองบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง
  3. เทศบาลตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง
  4. เทศบาลตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง
  5. เทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง
  6. เทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง
  7. เทศบาลตำบลบ้านเพ อำเภอเมืองระยอง
  8. เทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมืองระยอง
  9. เทศบาลตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง
  10. เทศบาลตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง
  11. เทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง
  12. เทศบาลตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา
  13. เทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา
  14. เทศบาลตำบลมะขามคู่ อำเภอนิคมพัฒนา
  15. เทศบาลตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย
  16. เทศบาลตำบลบ้านค่ายพัฒนา อำเภอบ้านค่าย
  17. เทศบาลตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย
  18. เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง อำเภอปลวกแดง
  19. เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา อำเภอปลวกแดง
  20. เทศบาลตำบลเมืองแกลง อำเภอแกลง
  21. เทศบาลตำบลสุนทรภู่ อำเภอแกลง
  22. เทศบาลตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง
  23. เทศบาลตำบลสองสลึง อำเภอแกลง
  24. เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง
  25. เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอแกลง
  26. เทศบาลตำบลกองดิน อำเภอแกลง
  27. เทศบาลตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง
  28. เทศบาลตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์
  29. เทศบาลตำบลซำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา

ประชากร

แก้

จากสถิติทางการทะเบียนในจังหวัดระยอง พ.ศ. 2566 พบว่าจังหวัดระยอง มีประชากรทั้งสิ้น 771,189 คน ชาย 378,051 คน ร้อยละ 49.02 หญิง 393,138 คน ร้อยละ 50.98[7] ในด้านแรงงานมีประชากรภาคแรงงาน เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้นจำนวน 585,316 คน จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แรงงานในภาคเกษตร และแรงงานนอกภาคเกษตร ซึ่งแบ่งเป็น แรงงานในภาคเกษตร 112,471 คน ร้อยละ 19.22 และแรงงานนอกภาคเกษตร 472,845 คน ร้อยละ 80.78

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดระยอง
ปีประชากร±%
2553 626,402—    
2554 637,736+1.8%
2555 649,275+1.8%
2556 661,220+1.8%
2557 674,393+2.0%
2558 688,999+2.2%
2559 700,223+1.6%
2560 711,236+1.6%
2561 723,316+1.7%
2562 734,753+1.6%
2563 741,524+0.9%
2564 751,343+1.3%
2565 759,386+1.1%
2566 771,189+1.6%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[7]

การศึกษา

แก้

สถาบันอุดมศึกษา

แก้

สถาบันอาชีวศึกษา

แก้

โรงเรียนมัธยมศึกษา

แก้

สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

แก้
 
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
อำเภอบ้านฉาง
  • ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
  • ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด
  • นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
  • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)
  • นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
  • นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด
  • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง
  • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด
  • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
  • นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
  • นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
  • นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
  • อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
  • อ่างเก็บน้ำดอกกราย

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร

แก้

อาหารพื้นเมือง

แก้
 
หมูชะมวง
  • หมูชะมวง
  • แกงส้มหน่อไม้ดองไข่ปลาเรียวเซียว
  • น้ำพริกระกำ
  • แมงกะพรุนจิ้มน้ำจิ้ม
  • แจงลอน
  • แกงป่าปลาเห็ดโคน
  • ขนมนิ่มนวล

การขนส่ง

แก้

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ

แก้

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

แก้

อุทยานแห่งชาติ

แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 19 มกราคม 2567.
  3. กำพล จำปาพันธ์. "ราย็อง (ระยอง) : เมืองชองบนเส้นทางอารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก". p. 10.
  4. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดระยอง. ระยอง : ธนชาติการพิมพ์ ,2525.
  5. "'ระยอง' ประวัติศาสตร์แห่ง 'ความสุข' บนเส้นทางการค้า 2,000 ปี". มติชน.
  6. 6.0 6.1 "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์". กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
  7. 7.0 7.1 "จำนวนประชากรแยกรายอายุ จังหวัดระยอง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566". ระบบสถิติทางการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

แก้

เว็บไซต์

แก้

12°41′N 101°17′E / 12.68°N 101.28°E / 12.68; 101.28