อำเภอเขาชะเมา

อำเภอในจังหวัดระยอง ประเทศไทย

เขาชะเมา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยอง เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นลำดับ 7 ของจังหวัด มีชื่อมาจากอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีที่ทำการอุทยานอยู่ในเขตพื้นที่ ต่อมาตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2536[1] และต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550[2]

อำเภอเขาชะเมา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khao Chamao
น้ำตกเขาชะเมา ในท้องที่ตำบลน้ำเป็น เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมีน้ำใสสะอาดตลอดทั้งปี โดยแบ่งออกเป็น 8 ชั้น ได้แก่ วังหนึ่ง วังมัจฉา วังมรกต วังไทรงาม ผากล้วยไม้ ช่องแคบ น้ำตกหกสาย และผาสูง เป็นต้น ในน้ำตกยังเป็นที่อาศัยของปลาพลวงจำนวนมาก
น้ำตกเขาชะเมา ในท้องที่ตำบลน้ำเป็น เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมีน้ำใสสะอาดตลอดทั้งปี โดยแบ่งออกเป็น 8 ชั้น ได้แก่ วังหนึ่ง วังมัจฉา วังมรกต วังไทรงาม ผากล้วยไม้ ช่องแคบ น้ำตกหกสาย และผาสูง เป็นต้น ในน้ำตกยังเป็นที่อาศัยของปลาพลวงจำนวนมาก
คำขวัญ: 
น้ำตกมีชื่อ เลื่องลือผลไม้ หลากหลายสัตว์ป่า
ยางพาราชั้นดี มากมีถ้ำภูผา งามธาราอ่างเขาจุก
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอเขาชะเมา
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอเขาชะเมา
พิกัด: 12°58′30″N 101°41′6″E / 12.97500°N 101.68500°E / 12.97500; 101.68500
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด269.95 ตร.กม. (104.23 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด23,609 คน
 • ความหนาแน่น87.46 คน/ตร.กม. (226.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 21110
รหัสภูมิศาสตร์2107
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขาชะเมา เลขที่ 105 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยทับมอญ อำเภอ
เขาชะเมา จังหวัดระยอง 21110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง มีที่ทำการอยู่ในเขตตำบลน้ำเป็น อำเภอเขาชะเมา

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเขาชะเมามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2535 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวม 4 ตำบล ได้พิจารณาว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต และความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทย จึงได้ประกาศเขตท้องที่อำเภอแกลงแยกพื้นที่ตำบลน้ำเป็น ตำบลห้วยทับมอญ ตำบลชำฆ้อ และตำบลเขาน้อย ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาชะเมา[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเขาชะเมา โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2] เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 7 ของจังหวัดระยอง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเขาชะเมาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน[3] ได้แก่

1. น้ำเป็น (Nam Pen) 7 หมู่บ้าน
2. ห้วยทับมอญ (Huai Thap Mon) 8 หมู่บ้าน
3. ชำฆ้อ (Cham Kho) 9 หมู่บ้าน
4. เขาน้อย (Khao Noi) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเขาชะเมาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลชำฆ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชำฆ้อทั้งตำบล[4]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเป็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะเมา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทับมอญทั้งตำบล (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญเดิม)[5]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาน้อยทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาชะเมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (74 ง): 16. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2536
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 111 ง): 102–115. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง เป็นเทศบาลตำบลชำฆ้อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 111 ง): 5. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทับมอญ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะเมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (ตอนพิเศษ 149 ง): 25. วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556