สาธิต ปิตุเตชะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคกลาง 3 สมัยและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง 4 สมัย
สาธิต ปิตุเตชะ ม.ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | นายแพทย์ สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ |
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ภาคกลาง) | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 31 มกราคม 2557 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (53 ปี) ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | นพเกตุ ปิตุเตชะ |
บุตร | ดญ.เฌอ ปิตุเตชะ ต้นไม้ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
นายสาธิต ปิตุเตชะ (ชื่อเล่น : ตี๋) เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510[1] เป็นบุตรของ นายสาคร ปิตุเตชะ อดีตกำนันตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) กับ นางทอด ปิตุเตชะ และเป็นน้องชายของนายปิยะ ปิตุเตชะ อดีต ส.ส. ระยอง 3 สมัย และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง สมรสกับ น.ส.บี นพเกตุ บุตรสาวของ นายสมเกียรติ นพเกตุ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ ด.ญ.เฌอ ปิตุเตชะ (น้องต้นไม้)
นายสาธิต เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนื่องจากสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่ติด และเข้าสู่แวดวงการเมือง จากการได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 หลังจากสำเร็จการศึกษาไม่นาน ขณะที่เป็นทนายความฝึกหัดอยู่ โดยเข้าร่วมชุมนุมในฐานะผู้ชุมนุมทั่วไป พร้อมกับเพื่อน ๆ หลายคนที่ต่อมาได้กลายเป็นดารา นักแสดงที่มีชื่อเสียง เช่น ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, ชลิตา พานิชการ ซึ่งนายสาธิตได้ถูกทหารทำร้ายร่างกายด้วยการตบหน้าด้วยด้ามปืนด้วย[2]
การศึกษาแก้ไข
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธาณะ จาก มหาวิทยาลัยบูรพา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม) ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2561
หลักสูตรอบรมแก้ไข
1. พ.ศ. 2547 หลักสูตรบริหารพรรคการเมือง สถาบันพระปกเกล้า รุ่น 1
2. พ.ศ. 2551 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่น 7
3. พ.ศ. 2553 หลักสูตรวิทยาลัยตลาดทุน รุ่น 11
การทำงานแก้ไข
นายสาธิต ปิตุเตชะ ประกอบอาชีพทนายความ โดยเปิดสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ก่อนเข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกโดยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ทั้งที่มีฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย ทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2538 และได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3 ของจำนวนสมาชิกสภาจังหวัด 9 คน และได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาจังหวัด โดยมีอายุน้อยที่สุดในสภาจังหวัดขณะนั้น และได้ดำรงตำแหน่งอยู่จนครบวาระ
นายสาธิต ปิตุเตชะ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศครั้งแรก โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขต 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แข่งขันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย จาก พรรคไทยรักไทย สามารถชนะการเลือกตั้งโดยทิ้งคู่แข่งกว่า 10,000 คะแนน และได้รับรางวัล ส.ส. ที่ไม่เคยขาดประชุม ปี พ.ศ. 2546 จาก นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อีกด้วย
ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายสาธิต ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 1 จังหวัดระยอง ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายสาธิต ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา[3]
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายสาธิต ปิตุเตชะ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายสาธิต ได้ลงสมัคร ส.ส.จังหวัดระยอง เขต1 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกหนึ่งสมัย
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ดร.สาธิต ได้ลงสมัคร ส.ส.จังหวัดระยอง เขต1 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกหนึ่งสมัย ซึ่งเป็น ส.ส.จังหวัดระยอง สมัยที่ 4
การดำรงตำแหน่งทางการเมืองแก้ไข
ตำแหน่งภายในพรรคแก้ไข
1. รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดูแลพื้นที่ภาคกลาง
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เงา
3. กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
4. รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ตำแหน่งทางการเมืองแก้ไข
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขต 1 4 สมัย
ปี 1. พ.ศ. 2562 2. พ.ศ. 2554 3.พ.ศ. 2551 4. พ.ศ. 2544
2. ประธานกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร
3. ประธานกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายพรบ.ตำรวจแห่งชาติและพรบ.เงินเดือน
4. กรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณปี 2547
5. รองประธานกรรมาธิการการพาณิชย์สภาผู้แทนราษฎร
6.เลขาธิการกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
7.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
ผลงานในพรรคประชาธิปัตย์แก้ไข
1. เป็นผู้เริ่มปักธง ส.ส. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ใน จ.ระยองคนแรกหลังพรรคประชาธิปัตย์ไม่มี ส.ส. ประชาธิปัตย์มาหลายสมัย และเป็นผู้จัดการทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 4 คน ยกทั้งจังหวัดมา 2 สมัยติดต่อกัน และยังรักษาที่นั่ง ส.ส.ในจังหวัดระยอง ไว้ได้ 3 ใน 4 เขต อย่างเหนี่ยวแน่นในสถานการณ์ที่ตกต่ำที่สุดของพรรคในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562
2. ต่อสู้ จับผิด ก.ก.ต. จนได้ที่นั่ง ส.ส. จังหวัดนครปฐม เขต 1 จากการนับคะแนนผิดพลาดของ กกต. กลับมาเป็นของพรรคประชาธิปัตย์
ความสนใจแก้ไข
กีฬา
สาธิต สนใจกีฬาฟุตบอลตั้งแต่เด็ก โดยตำแหน่งที่เล่นคือกองหน้า และเบอร์เสื้อที่ชื่นชอบที่สุดคือเบอร์ 11 โดยสโมสรฟุตบอลที่ชื่นชอบคือ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ดนตรี
สาธิต ชอบเล่นดนตรี ตั้งแต่สมัยเรียนและได้ตั้งวงดนตรี กับเพื่อนๆโดยเครื่องดนตรีที่ชอบเล่นที่สุดคือ กีต้าไฟฟ้า และชอบฟังเพลง Rock วงดนตรีที่ชอบที่สุดคือวง สกอร์เปียนส์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2554 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ บ้านนี้สีฟ้า (รีรัน), รายการทางบลูสกายแชนแนล: เสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2556
- ↑ เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2554
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์ส่วนตัว : สาธิต ปิตุเตชะ http://www.satitlifes.net
- เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com