วอลเลย์บอลยุวชนอายุไม่เกิน 14 ปี ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย

วอลเลย์บอลยุวชนอายุไม่เกิน 14 ปี ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ วอลเลย์บอลยุวชน "แอร์เอเชีย" รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ตามชื่อผู้สนับสนุนคือ แอร์เอเชีย เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับยุวชนรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533[ต้องการอ้างอิง] จัดการแข่งขันโดยสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ยุวชน ได้มีระเบียบมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ตลอดจนรู้จักใช้เวลาว่างให้กิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญคือยุวชนได้ห่างไกลยาเสพติด[2] ซึ่งทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลถ้วยประทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี[3]

วอลเลย์บอลยุวชนอายุไม่เกิน 14 ปี ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
กีฬาวอลเลย์บอล
ก่อตั้งพ.ศ. 2533
จำนวนทีมชาย: 16 ทีม
หญิง: 16 ทีม
ประเทศ ไทย
ทวีปเอวีซี (เอเชีย)
ทีมชนะเลิศสูงสุดชาย: โรงเรียนอัสสัมชัญ (3 สมัย)
หญิง: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (3 สมัย)[1]

ทำเนียบแชมป์ แก้

ประเภททีมชาย แก้

ปี จังหวัดเจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงอันดับ 3 จำนวนทีม
ชนะเลิศ คะแนน รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 คะแนน อันดับที่ 4
2556   อุบลราชธานี โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร
(จังหวัดกาฬสินธุ์)
โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6
(จังหวัดนนทบุรี)
2557   นครศรีธรรมราช โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
(จังหวัดสระบุรี)
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
(จังหวัดนครสวรรค์)
โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ (จังหวัดภูเก็ต) และ โรงเรียนเทศบาล 4 เชาวนปรีชาอุทิศ (จังหวัดนครปฐม) 16
2558[4]   สงขลา โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
3–1 โรงเรียนมักกะสันพิทยา
(กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (จังหวัดสุพรรณบุรี) และ โรงเรียนขามทะเลสอวิทยา (จังหวัดนครราชสีมา) 12
2559[5]   สุพรรณบุรี โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
(จังหวัดสระบุรี)
3–1 โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร (จังหวัดกาฬสินธุ์) และ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม (จังหวัดนครสวรรค์) 12
2560[6]   ร้อยเอ็ด โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
3–0 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
(จังหวัดนครสวรรค์)
โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร (จังหวัดกาฬสินธุ์) และ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) 16
2561[7]   นครศรีธรรมราช โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
(จังหวัดนครสวรรค์)
3–1 โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนด่านช้างวิทยา (จังหวัดสุพรรณบุรี) และ โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (จังหวัดสุพรรณบุรี) 16
2562[8]   หนองคาย โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
(จังหวัดร้อยเอ็ด)
3–2 โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
(จังหวัดร้อยเอ็ด)
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม (จังหวัดนครสวรรค์) และ โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพมหานคร) 16
2563[9]   สงขลา โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
3–1 โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
(จังหวัดร้อยเอ็ด)
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (จังหวัดสุพรรณบุรี) และ โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม (จังหวัดสระบุรี) 16
2564[10]   นครราชสีมา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
(จังหวัดสุพรรณบุรี)
3–2 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
(จังหวัดสระบุรี)
โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม (จังหวัดขอนแก่น) และ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม (จังหวัดนครสวรรค์) 16
2565   มหาสารคาม โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
(จังหวัดสุพรรณบุรี)
3–1 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
(จังหวัดสระบุรี)
โรงเรียนอัสสัมชัญ
(กรุงเทพมหานคร)
3–1 โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม
(จังหวัดชลบุรี)
16

ประเภททีมหญิง แก้

ปี จังหวัดเจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงอันดับ 3 จำนวนทีม
ชนะเลิศ คะแนน รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 คะแนน อันดับที่ 4
2556   อุบลราชธานี โรงเรียนสตรีนนทบุรี
(จังหวัดนนทบุรี)
โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส
(จังหวัดสุพรรณบุรี)
2557   นครศรีธรรมราช โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส
(จังหวัดสุพรรณบุรี)
โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6
(จังหวัดนนทบุรี)
โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง (จังหวัดภูเก็ต) และ โรงเรียนหนองเรือวิทยา (จังหวัดขอนแก่น) 16
2558[4]   สงขลา โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6
(จังหวัดนนทบุรี)
3–0 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
(จังหวัดภูเก็ต)
โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส (จังหวัดสุพรรณบุรี) และ โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) (จังหวัดสงขลา) 12
2559[5]   สุพรรณบุรี โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส
(จังหวัดสุพรรณบุรี)
3–2 โรงเรียนสตรีสิริเกศ
(จังหวัดศรีสะเกษ)
โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และ โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 (จังหวัดนนทบุรี) 12
2560[11]   ร้อยเอ็ด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
(จังหวัดนนทบุรี)
3–1 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โรงเรียนอุลิตไพบูลย์ชนูปถัมภ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และ โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 (จังหวัดนนทบุรี) 16
2561[7]   นครศรีธรรมราช โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
(จังหวัดนนทบุรี)
3–0 โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6
(จังหวัดนนทบุรี)
โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (จังหวัดสุโขทัย) และ โรงเรียนอุลิตไพบูลย์ชนูปถัมป์ (จังหวัดชัยนาท) 16
2562[8]   หนองคาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
(จังหวัดนนทบุรี)
3–2 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 (จังหวัดนนทบุรี) และ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (กรุงเทพมหานคร) 16
2563[9]   สงขลา โรงเรียนสุรนารีวิทยา
(จังหวัดนครราชสีมา)
3–0 โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6
(จังหวัดนนทบุรี)
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (กรุงเทพมหานคร) และ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
(จังหวัดนนทบุรี)
16
2564[10]   นครราชสีมา โรงเรียนเทศบาล 2 ชุมชนป้อมเพชร
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
3–2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
(กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ (ชลบุรี) และ โรงเรียนสุรนารีวิทยา (จังหวัดนครราชสีมา) 16
2565   มหาสารคาม โรงเรียนเทศบาล 2 ชุมชนป้อมเพชร
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
3–1 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง
(จังหวัดอ่างทอง)
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
(กรุงเทพมหานคร)
3–2 โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม
(จังหวัดนครปฐม)
16

จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ แก้

ประเภททีมชาย แก้

โรงเรียน ครั้ง ปีที่ชนะเลิศ
โรงเรียนอัสสัมชัญ 3 2558, 2560, 2563
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
2
2564, 2565
โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม 2557, 2559
โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
1
2562
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม 2561
โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร 2556

ประเภททีมหญิง แก้

โรงเรียน ครั้ง ปีที่ชนะเลิศ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี 3 2560, 2561, 2562
โรงเรียนเทศบาล 2 ชุมชนป้อมเพชร
2
2564, 2565
โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส 2557, 2559
โรงเรียนสุรนารีวิทยา
1
2563
โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 2558
โรงเรียนสตรีนนทบุรี 2556

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ทำเนียบแชมป์ วอลเลย์บอลยุวชน อายุไม่เกิน 14 ปี". smmsport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.
  2. "สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประทศไทย และเทศบาลเมืองทุ่งสง ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชน อายิโนะโมะโต๊ะ อายุไม่เกิน 14 ปี ครั้งที่ 1 ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 ชิงถ้วยประทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี รอบคัดเลือกภาคใต้". สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-16. สืบค้นเมื่อ 2023-02-13.
  3. ""แอร์เอเชีย" ทุ่ม 1.7 ลบ.จัดลูกยาง 14 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2023-02-13.
  4. 4.0 4.1 "อัสสัมชัญ ควง นครนนท์ ซิวแชมป์เอเชียรอบประเทศ". smmsport. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "สระบุรีวิทยา ควง วัดไชนาวาส คว้าแชมป์แอร์เอเชีย 2559". smmsport. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.[ลิงก์เสีย]
  6. "อัสสัมฯฟอร์มแจ่มทุบมัชฌิมสามเซตรวดซิวแชมป์แอร์เอเชีย 14 ปี". smmsport. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 "สวนกุหลาบนนท์ ควง มัชฌิมนครสวรรค์ ครองถ้วยแชมป์ยุวชน 14 ปี". smmsport. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 "สาวสวนกุหลาบนนท์ ควง หนุ่มวัดสระทอง คว้าแชมป์ประเทศอายิโนะโมะโต๊ะ". volleyball.or.th. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.
  9. 9.0 9.1 "หนุ่มอัสสัมชัญ – สาวสุรนารี คว้าแชมป์ 14 ปีอายิโนะโมะโต๊ะ ประจำปี 2563". volleyball.or.th. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.
  10. 10.0 10.1 "กีฬาสุพรรณบุรี ควง ป้อมเพชร คว้าแชมป์ 'เอสโคล่า' U14". smmsport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-17. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.
  11. "สวนนนท์มาแรงแซงคว้าชัยป้อมเพชรซิวแชมป์แอร์เอเชีย 14 ปี". smmsport. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้