โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม

โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอนชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 ห้องเรียน โรงเรียนมีเนื้อที่ 45 ไร่

โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นท พ
ประเภทโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
คำขวัญเรียนดี ประพฤติดี กิจกรรมเด่น
สถาปนา1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
ผู้ก่อตั้งนายชื่น ภู่พระอินทร์
เขตการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ผู้อำนวยการนายสมนึก ทองแก้ว
สี███ ฟ้า ███ ขาว
เพลงมาร์ชท่าข้ามพิทยาคม
เว็บไซต์www.takham.ac.th

ประวัติ แก้

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายชื่น ภู่พระอินทร์ มาทำการสำรวจเด็กในหมู่บ้านเพื่อจะได้จัดตั้งโรงเรียน ปรากฏว่ามีนักเรียนพอที่จะเปิดทำการสอนได้ทางราชการจึงได้ประกาศตั้งโรงเรียนวัดพรหมรัตนารามขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 โดยจัดให้มีการสอนชั้นเตรียมประถมโดยมีนายชื่น ภู่พระอินทร์ เป็นครูใหญ่สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดพรหมรัตนารามเป็นที่ศึกษาและได้จัดให้มีการสอนจนครบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ในปีพ.ศ. 2486 ในปีพ.ศ. 2511 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณมาก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข ขนาด 4 ห้อง ใต้ถุนสูงจำนวนหนึ่งหลัง โดยก่อสร้างขึ้นในที่ดินของวัด

  • ในปีพ.ศ. 2516 คณะกรรมการศึกษาโรงเรียนวัดพรหมรัตนารามได้จัดหาทุนทรัพย์มาต่อเติมอาคารชั้นล่างได้ 2 ห้องเรียน โดยมีพระภิกษุเขียว บุญมีเป็นผู้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
  • ในปีพ.ศ. 2518 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณมาต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างที่ค้างอยู่จนแล้วเสร็จและได้ขยายอาคารเรียนออกไปอีก จำนวน 2 ห้องเรียน โดยก่อสร้างขึ้นที่ชั้นล่าง 1 ห้องเรียน และชั้นบน 1 ห้องเรียน และมีเงินเหลือสร้างโรงอาหารขนาด 10x22 เมตร อีก 1 หลัง
  • ปีพ.ศ. 2519 ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับให้สูงขึ้นไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • ปีพ.ศ. 2537 นายสมนึก ทองแก้ว ได้ขอเปิดการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และได้ขยายพื้นที่โรงเรียนจากเดิมที่มี 5 ไร่เศษ เป็น 45 ไร่ โดยได้รับอนุญาตจากพระครูสิริพรหมคุณ (สมคิด ดีรัศมี) เจ้าอาวาสวัดพรหมรัตนาราม
  • ปีพ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนแบบสปช. 105/2526 จำนวน 1 หลัง ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมเพื่อถมสถานที่ก่อสร้างอีก 100,000 บาท
  • ปีพ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/2526 จำนวน 1 หลังจากการผลักดันงบประมาณจากนายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี และ ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี
  • ปีพ.ศ. 2549 โอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
  • ปีพ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนวัดพรหมรัตนาราม เป็น โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบล
  • ปีพ.ศ. 2553 ได้ขอเปิดการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ความหมายของตราสัญลักษณ์ แก้

สี ความหมาย
สีฟ้า ความรุ่งเรือน
สีขาว ความดี มีคุณธรรม

ยุวเกษตรกร แก้

ยุวเกษตรกร ในประเทศไทย หมายถึงเด็กและเยาวชน อายุ 10 - 25 ปีที่สนใจการเกษตร รวมตัวกันในระดับหมู่บ้านขอจัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรต่อสำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัด เพื่อรับบริการความรู้วิชาการเกษตรและเคหกิจเกษตรจากโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นโครงการอบรมความรู้ที่เหมาะสมกับอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น

กลุ่มยุวเกษตรกรส่วนใหญ่มีสมาชิก 15 - 30 คน อายุใกล้เคียงกันหรือเรียนอยู่ชั้นเดียวกันมีทั้งประเภท กลุ่มในโรงเรียน กลุ่มนอกโรงเรียน และ กลุ่มผสม และมีเกษตรกรในท้องถิ่นอาสาสมัครเป็น ที่ปรึกษายุวเกษตรกร ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้คำแนะนำกลุ่มในการดำเนินงานและกิจกรรม

กลุ่มยุวเกษตรกรส่วนใหญ่มีระยะเวลาเป็นกลุ่มประมาณ 2 - 4 ปี เพราะสมาชิกมีอายุมากขึ้น ไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรม มีครอบครัวและอาชีพต้องรับผิดชอบ บางคนเปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาชิกองค์กรหรือมีบทบาทหน้าที่อื่นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกกลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นต้น และมีกลุ่มยุวเกษตรกรหลายกลุ่มรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าเป็นสมาชิกรุ่นใหม่เพื่อดำเนินงานและกิจกรรมต่อไป โดยกลุ่มยุวเกษตรกรประเภทนอกโรงเรียนจะมีระยะเวลาเป็นกลุ่มมากกว่ากลุ่มยุวเกษตรกรประเภทในโรงเรียน[1]

อ้างอิง แก้

  1. ยุวเกษตรกรโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม, เว็บไซด์โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บไซด์โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม