โรงเรียนสตรีสิริเกศ

โรงเรียนสตรีสิริเกศ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 879 ถนนปลัดมณฑล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ [1]

โรงเรียนสตรีสิริเกศ
Satreesiriket School

ตราหน้านาง
ตราประจำโรงเรียนสตรีสิริเกศ
ที่ตั้ง
879 ถนนปลัดมณฑล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ส.ก.
S.S.K.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาล
คำขวัญปญญา นรานํ สิริ
ปัญญาเป็นสิริ คือมิ่งขวัญของคนทั้งหลาย
สถาปนา6 มิถุนายน พ.ศ. 2482
โรงเรียนพี่น้องโรงเรียนสิริเกศน้อมเกล้า
หน่วยงานกำกับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส11330102
ผู้อำนวยการโรงเรียนดร. ภูมิภัทร มาลี
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สี  ชมพูและ   ขาว
เพลงมาร์ชสิริเกศ
เว็บไซต์http://www.ssk.ac.th

ประวัติโรงเรียน แก้

อดีตนักเรียนของโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรียนรวมกับนักเรียนชายของโรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์รังรักษ์ ปัจจุบันคือโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้แยกนักเรียนออกจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยโดยโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยรับนักเรียนชายล้วน ตั้งแต่ ม.1-6

  • พ.ศ. 2482 ตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ มีครู 7 คน มีนักเรียนชั้น ป.3, ป.4, ม.1(ม.1 เป็นนักเรียนหญิงล้วน ส่วน ป.3 และ ป.4 รับมาสอนทั้งชายและหญิง)
  • พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการพัฒนาโรงเรียน และพระราชทานนาม "'สิริเกศ"' ให้เป็นชื่อโรงเรียน จึงได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็น โรงเรียนสตรีสิริเกศ
  • พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ ค.ม.ภ.2 เพื่อให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง และดำเนินการสอนตามหลักสูตรกว้าง
  • พ.ศ. 2518 โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ. 2520 ได้รับอาคารเรียนจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ซึ่งย้ายออกไปอยู่สถานที่ใหม่ ทำให้โรงเรียนสตรีสิริเกศมีอาคารสถานที่เพิ่มขึ้น มีบริเวณ 2 ส่วนคือด้านสตรีสิริเกศ 1 และสตรีสิริเกศ 2
  • พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณเงินกู้จากธนาคารโลก 6,440,000 บาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนแบบ 424 สร้างอาคารเรียนแบบ 318 โรงฝึกงาน ห้องน้ำ-ส้วม และปรับปรุงบริเวณโรงเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2524 ได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสตรีสิริเกศ
  • พ.ศ. 2525 ได้รับอนุญาตจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีสิริเกศ
  • พ.ศ. 2527 ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งมูลนิธิสิริเกศและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนจัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น
  • พ.ศ. 2528 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนแบบสหศึกษาทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเสริมสร้างวินัยดีเด่น
  • พ.ศ. 2529 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร
  • พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล
  • พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหน่วยบริการแนะแนวประจำจังหวัดศรีสะเกษและได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของจังหวัดศรีสะเกษ (ERIC)
  • พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแม่แบบการแนะแนวอาชีพ
  • พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างอาคารแบบ 101 ล/27 ใช้เป็นหอประชุมและห้องสมุดและได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนพัฒนาห้องสมุดดีเด่นตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2537 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ
  • พ.ศ. 2539่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนจัดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2540 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ภาษาสากลของจังหวัดและเป็นศูนย์พัฒนางานแนะแนวของจังหวัดและได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
  • พ.ศ. 2541 ได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานสหวิทยาเขตสิริเกศและได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 9และได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2และได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ภาษาสากล ตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอน ภาษาสากล โรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2542 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนสีขาวเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติดและได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ให้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้กิจกรรมประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและได้ก่อตั้งมูลนิธิหม่อมคำเมียง ชุมพล ณ อยุธยา
  • พ.ศ. 2543 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนชุมชนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ของสมาคมสร้างสรรค์ไทย
  • พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้เครื่องคิดเลขกราฟิกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ (ตามที่ อ.ก.ค. กรมสามัญศึกษากำหนด) ของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 85 โรงเรียนทั่วประเทศ
  • พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Program)และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2548 ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล
  • พ.ศ. 2549 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบบูรณาการการเรียนการสอนเพศศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ(ERIC)และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายแกนนำคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและโรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  • พ.ศ. 2550 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นโรงเรียนนำร่องผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจและได้รับโล่เกียรติยศ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา”
  • พ.ศ. 2551 ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรม GSP
  • พ.ศ. 2551 ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์อาหาร 70 ปี สตรีสิริเกศ ด้วยเงินบริจาค จำนวน 8,500,000 บาท
  • พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สาม[2]

รายนามผู้บริหารโรงเรียนสตรีสิริเกศ แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางเปี่ยมจิต งามถิ่น(จุลกะ) พ.ศ. 2482-2485
2 นางสาวประชุมพร เหมะวานิช พ.ศ. 2485-2487
3 นางสาวระเบียบ ลิมอักษร พ.ศ. 2487-2489
4 นางสาวละแม้น ทองโรจน์ พ.ศ. 2489-2490
5 นางสาวภูมิจิต โกศัลวัฒน์ พ.ศ. 2490-2497
6 นางสาวถวิลวดี ไชยโย พ.ศ. 2497-2499
7 นางฉวี ถีระวงษ์ พ.ศ. 2499-2502
8 นางนันทิยา งามขำ พ.ศ. 2502-2506
9 นางสาวบุญมี โพพิพัฒน์ พ.ศ. 2506-2511
10 นางสาวพวงมาลัย เวียงใต้ พ.ศ. 2511-2523
11 นางสมนึก เชื้อโชติ
(ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2523-2524
12 นางนิด นาคอุดม พ.ศ. 2525-2528
13 นางภัทรพร พัชรินทร์ศักดิ์ พ.ศ. 2528-2530
14 นางกรรณิการ์ เถาว์โท พ.ศ. 2530-2534
15 นางสาวสมพร เทศะบำรุง พ.ศ. 2534-2540
16 นายสมบูรณ์ โพธิ์งาม พ.ศ. 2540-2547
17 นายวิบูลย์ รุ่งอดุลพิศาล พ.ศ. 2547-2553
18 นายสำรวย ไชยยศ พ.ศ. 2553-2554
19 นายสุธี ชินชัย พ.ศ. 2554-2560
20 นายสมศักดิ์ นันทวิสิทธิ์ พ.ศ. 2560-2564
21 ดร. ภูมิภัทร มาลี พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

 
ตราประจำโรงเรียน (หน้านาง)

สีประจำโรงเรียน แก้

  ชมพู หมายถึง การอยู่ด้วยกันด้วยความรักความสามัคคี

  ขาว หมายถึง การมีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ

ปรัชญาโรงเรียน แก้

ปญญา นรานํ สิริ ปัญญาเป็นสิริ คือมิ่งขวัญของคนทั้งหลาย

คำขวัญโรงเรียน แก้

วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม ผู้นำด้านกีฬา เห็นค่าความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล

วิสัยทัศน์โรงเรียน แก้

ภายในปี2568 โรงเรียนสตรีสิริเกศ สมนามพระราชทาน สืบสานศาสตร์พระราชา ก้าวหน้าในศตวรรษที่21 ระดับมาตรฐานสกล

อัตลักษณ์โรงเรียน แก้

ปัญญาดี มีมารยาทงาม สมนามพระราชทาน

พื้นที่บริเวณโรงเรียน แก้

โรงเรียนสตรีสิริเกศ แบ่งพื้นที่บริเวณโรงเรียนออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • สตรีสิริเกศ 1 มีพื้นที่ 9 ไร่ 1งาน 73.2 ตารางวา
  • สตรีสิริเกศ 2 มีพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน 32.0 ตารางวา
  • บ้านพักศึกษาธิการจังหวัดมีพื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 76.8 ตารางวา
  • คณะกรรมการสถานศึกษาดำเนินการจัดซื้อที่ดินจากนางประน้อม หม้อทิพย์และมอบให้โรงเรียน พื้นที่ 37.5 ตารางวา

รวมโรงเรียนสตรีสิริเกศมีพื้นที่ 26 ไร่ 2 งาน 82 ตารางวา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พูดคุยบนTwitter : #โรงเรียนสตรีสิริเกศ และ #โรงเรียนสองฝั่งย่านรถไฟศก

  1. "เกี่ยวกับโรงเรียน". www.ssk.ac.th. 2015-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
  2. "ประวัติโรงเรียน". www.ssk.ac.th. 2015-07-01.[ลิงก์เสีย]