โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม

โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสระบุรี โดยมีดร.ทวน เที่ยงเจริญเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน[1]

โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
Saraburiwitthayakhom School
รูปมณฑปวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ยอดเปล่งรัศมี
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.บ.ว.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
สถาปนา28 เมษายน พ.ศ. 2445
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1006190101 (ใหม่)
06190101 (เก่า)
ผู้อำนวยการดร.ทวน เที่ยงเจริญ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
ประเทศเกาหลี ภาษาเกาหลี
สี██████ สีเหลือง-สีฟ้า
เพลงมาร์ชสระบุรีวิทยาคม บันทึกถาวร
เว็บไซต์http://www.sbw.ac.th/

โรงเรียนแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านทีมกีฬาวอลเลย์บอล ที่ได้รับการก่อตั้งและฝึกสอนโดยอาจารย์วิเชียร ศรีโมรา[2][3][4][5]

ประวัติ แก้

โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม ก่อตั้งโดยพระอธิการบุญ เจ้าอาวาสวัดศาลาแดงเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2445 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนวัดศาลาแดง และใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าของวัดศาลาแดงเป็นสถานที่เรียน เปิดสอนในระดับชั้นมูลศึกษาถึงระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งพระอธิการบุญได้ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดศาลาแดงควบคู่กับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาแดงไปด้วย[1]

ในปี พ.ศ. 2456 โรงเรียนวัดศาลาแดงได้ย้ายที่ตั้งไปยังวัดศรีบุรีรัตนาราม (วัดปากเพรียว) และได้รับเงินบริจาคจากประชาชนในการสร้างอาคารเรียน 1 หลัง และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามสถานที่ตั้งว่า โรงเรียนวัดปากเพรียว ซึ่งต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนปากเพรียวเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดและเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสหายชาย และแยกนักเรียนหญิงออกไปตั้งเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสระบุรี ซึ่งต่อมาคือ โรงเรียนสหายหญิง

ในปี พ.ศ. 2481 โรงเรียนสระบุรีได้ย้ายสถานที่ตั้งซึ่งมีความคับแคบไปยังสถานที่แห่งใหม่ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี) ทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและขยายถึงระดับชั้นเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาโรงเรียนได้รับการบริจาคที่ดินแห่งใหม่โดยมีพลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสารเป็นผู้ติดต่อทำให้มีดินเพิ่มเติมจากกรมการศาสนารวม 31 ไร่ 94 ตารางวา และได้รับการก่อสร้างอาคารเรียนจากกรมการศาสนาเป็นตึกสองชั้นหลังคาทรงไทยจำนวน 32 ห้องเรียน (เป็นอาคารเรียนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย แต่ต่อมามีการทุบออกบางส่วนเพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่ทำให้เหลือเพียงด้านขวาในปัจจุบัน) ซึ่งโรงเรียนสระบุรีได้ย้ายสถานที่ไปยังที่ดินบริจาคเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 [1]

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการได้รวมโรงเรียนสระบุรีเข้ากับโรงเรียนสหายหญิง และใช้ชื่อว่า โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม โดยจัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา[1]

จำนวนห้องเรียน แก้

  • ม.1 จำนวน 20 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMTE 1 ห้องเรียน,ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMP 2 ห้องเรียน,ห้องเรียน English Program 2 ห้องเรียน, ห้องเรียนสองภาษา SMBP (Education HUB) 1 ห้องเรียน)
  • ม.2 จำนวน 20 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMP 3 ห้องเรียน,ห้องเรียน English Program 2 ห้องเรียน, ห้องเรียนสองภาษา SMBP (Education HUB) 1 ห้องเรียน)
  • ม.3 จำนวน 20 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMP 3 ห้องเรียน,ห้องเรียน English Program 2 ห้องเรียน, ห้องเรียนสองภาษา SMBP (Education HUB) 1 ห้องเรียน)
  • ม.4 จำนวน 16 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMTE 1 ห้องเรียน,ห้องเรียน Mini English Program 1ห้องเรียน)
  • ม.5 จำนวน 15 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMTE 1 ห้องเรียน,ห้องเรียน Mini English Program 1ห้องเรียน)
  • ม.6 จำนวน 15 ห้องเรียน (ห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต SMTE 1 ห้องเรียน,ห้องเรียน Mini English Program 1ห้องเรียน)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 2011-11-08.
  2. "วอลเลย์บอลไทย: วิเชียร ศรีโมรา พ่อครูแห่งสระบุรีวิทยาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
  3. "จ๊อบวิศรุต วิเศษสุวรรณ เชียงราย วีซี 'ที่นี่คือบ้านของเรา (นะยะ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
  4. 'อ.แจ็คมนต์ชัย อุณหกะ เซตเตอร์ท้วมพลิ้ว-โค้ชอารมณ์ดี[ลิงก์เสีย]
  5. "วอลเลย์บอลไทย: ลอราช ทนทองคำนักตบเด็กวัดหนุ่มกตัญญู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

14°32′35″N 100°54′38″E / 14.543122°N 100.910522°E / 14.543122; 100.910522