สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนรัฐบาล)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. (อังกฤษ: Office of the Basic Education Commission : OBEC) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหัวหน้าส่วนราชการและขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[3] โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับพื้นฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ[4]

สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Office of the
Basic Education Commission
ตราสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(21 ปี 95 วัน)
สำนักงานก่อนหน้า
  • กรมสามัญศึกษา
  • สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
  • กรมวิชาการ
สำนักงานใหญ่วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
งบประมาณต่อปี278,317,466,700 บาท (พ.ศ. 2564)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • ธนุ วงษ์จินดา, เลขาธิการ[2]
  • เกศทิพย์ ศุภวานิช, รองเลขาธิการ
  • พัฒนะ พัฒนทวีดล, รองเลขาธิการ
  • ธีร์ ภวังคนันท์, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.obec.go.th

ประวัติ

แก้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติสิทธิและเสรีภาพด้านการศึกษาของปวงชนชาวไทยไว้ว่า " บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" และในบทเฉพาะกาลมาตรา 335 (3) ได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ดังนั้น รัฐจะต้องดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และต้องเตรียมการให้พร้อมที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[5] ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทยที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญกล่าวคือ มาตรา 10 ระบุว่า " การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"

เพื่อเป็นการตอบสนองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมวิชาการ จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องมารวมกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

หน่วยงานในสังกัด

แก้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน่วยงานส่วนกลางประจำภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา[6] จำนวน 183 เขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[7] จำนวน 62 เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานส่วนกลาง จำนวน 17 หน่วยงาน[8]

  • สำนักอำนวยการ
  • สำนักการคลังและสินทรัพย์
  • สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักทดสอบทางการศึกษา
  • สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
  • สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
  • สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  • สำนักบริหารงานบุคคลและนิติการ
  • สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
  • สถาบันภาษาอังกฤษ
  • สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษา
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • หน่วยตรวจสอบภายใน
  • สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
  • สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
  • หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

แก้
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายนามเลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายไพฑูรย์ จัยสิน 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[9] - 30 กันยายน พ.ศ. 2546[10] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (ครั้งที่ 1) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546[11] - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547[12] (ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สป. ศธ.)
3. นางพรนิภา ลิมปพยอม 2 มิถุนายน พ.ศ. 2547[12] - 30 กันยายน พ.ศ. 2549[13] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (ครั้งที่ 2) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[14] - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552[15] (ลาออกจากราชการ)
4. นายชินภัทร ภูมิรัตน 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552[16] - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556[17] (มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์)
5. นายอภิชาติ จีระวุฒิ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556[18] - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557[19] (ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สลน. นร.)
6. นายกมล รอดคล้าย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557[19] - 30 กันยายน พ.ศ. 2558[20] (ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สกศ. ศธ.)
7. นายการุณ สกุลประดิษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[20] - 21 กันยายน พ.ศ. 2560[21] (ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สป. ศธ.)
8. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร 22 กันยายน พ.ศ. 2560[21] - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562[22] (ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สอศ. ศธ.)
9. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[22] - 30 กันยายน พ.ศ. 2562[23][24] (มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์)
10. นายอำนาจ วิชยานุวัติ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[25] - 30 กันยายน พ.ศ. 2563[26]ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา สกศ. ศธ.)
11. นายอัมพร พินะสา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563[26] - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์)
12. นายธนุ วงษ์จินดา 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566[27] - ปัจจุบัน

อ้างอิ

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เล่ม 137 ตอนที่ 82ก วันที่ 7 ตุลาคม 2563
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 19 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  3. "พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-20.
  4. [1]เก็บถาวร 2020-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖ [ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒]
  5. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
  6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
  7. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
  8. "กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-07-29.
  9. "นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดี (นักบริหาร ๑๐) กรมสามัญศึกษา ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต้วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  10. "นายไพฑูรย์ จัยสิน พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-20.
  11. "คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  12. 12.0 12.1 นางพรนิภา ลิมปพยอม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
  13. นางพรนิภา ลิมปพยอม พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
  14. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร ๑๑) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
  15. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
  16. นายชินภัทร ภูมิรัตน พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
  17. นายชินภัทร ภูมิรัตน พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
  18. นายอภิชาติ จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
  19. 19.0 19.1 นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
  20. 20.0 20.1 นายการุณ สกุลประดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
  21. 21.0 21.1 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้พื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
  22. 22.0 22.1 นายสุเทพ ชิตยวงษ์ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
  23. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ข้าราชการพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  24. "รายชื่อท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ข้าราชการพ้นจากราชการเนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  25. นายอำนาจ วิชยานุวัติ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
  26. 26.0 26.1 นายอัมพร พินะสา พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  27. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา พ้นจากตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน