กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จาติกวณิช; เกิด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2492) เป็นกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[1]และกรรมการกฤษฎีกา [2] เป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาคนสุดท้าย เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ปรึกษาโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และอีกหลายตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ


กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

เกิดกษมา จาติกวณิช
26 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
จังหวัดพระนคร
สัญชาติไทย
คู่สมรสรองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ
บุตรหม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ
บุพการีศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช
ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช

ประวัติ แก้

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จาติกวณิช) เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เป็นธิดาเพียงคนเดียวของศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราชและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีไทย โดยชื่อ "กษมา" หมายถึง ความอดทน อดกลั้น เป็นชื่อที่ พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้เป็นปู่ตั้งให้ เพื่อให้หลานสาวมีชื่อคล้าย ๆ กับบุตรชายของเขา คือ กษม กษาน และเกษม จาติกวณิช ทั้งนี้คุณหญิงกษมามีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับกรณ์ จาติกวณิช

คุณหญิงกษมาสมรสกับรองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ โอรสในหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมจิตรา(พี่สาวของอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี) มีบุตรด้วยกันคนเดียวคือ หม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ

คุณหญิงกษมานับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในวงการการศึกษาของไทยคนหนึ่ง เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการหลายตำแหน่ง เช่น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษา อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมวิชาการ และอื่น ๆ

เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 คุณหญิงกษมาได้ยื่นหนังสือลาออกต่อจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือในกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นระยะ ๆ ว่าคุณหญิงกษมาจะปลดระวางตัวเอง โดยลาออกแบบไม่ขอเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดเพื่อเปิดทางให้ผู้บริหารในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ขึ้นมาแทน ขณะเดียวกันก็มีกระแสว่าเหตุที่คุณหญิงกษมาลาออก เพราะครอบครัวมีที่ดินจำนวนมาก และกำลังมีการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ย่านเพลินจิต กรุงเทพมหานคร ดังนั้นหากเป็นข้าราชการจะทำอะไรได้ลำบาก และจะได้มีเวลาเลี้ยงหลานที่เกิดใหม่ด้วย ทั้งนี้คุณหญิงกษมาจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 จึงจะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2553 เพราะเกิดหลัง 30 กันยายน โดยคุณหญิงกษมากล่าวว่าตั้งใจไว้นานแล้วว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี เพราะอยากพัก แต่ยังไม่ขอให้สัมภาษณ์ เพราะเรื่องนี้ควรให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคนพูด[3]

ซึ่งคุณหญิงกษมาได้รับพระราชทานพระนิพนธ์จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสครบ 5 รอบ มีความตอนหนึ่งว่า "คุณหญิงกษมา วรวรรณ เป็นนักการศึกษาที่มีความรู้สูง มีประสบการณ์ยาวนาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกลการบริหารการศึกษา"[4]

ประวัติการศึกษา แก้

ประวัติการรับราชการ แก้

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ แก้

การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ แก้

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ได้เข้ารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยุติลงในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ[5]

ประกาศเกียรติคุณ แก้

  • รางวัล"ครุฑทองคำ" ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ปี พ.ศ. 2538 จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา, เล่ม 132, ตอนพิเศษ 309 ง ฉบับพิเศษ, 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, หน้า 1
  3. กษมา ยื่นลาออก
  4. 'กษมา' อำลา ศธ. บินรับรางวัล นักการศึกษาโลก
  5. เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๕๗๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้