พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)
พลตำรวจโท พระยาอธิกรณประกาศ เป็นอธิบดีกรมตำรวจคนที่ 2 ของประเทศไทย และต้นสกุลจาติกวณิช โดยเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1211 [1]
พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) | |
---|---|
เกิด | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (78 ปี) |
บุตร | 8 คน |
บิดามารดา |
|
พระยาอธิกรณ์ประกาศ มีชื่อจริงว่าว่า หลุย จาติกวณิช (ชื่อเดิม: ซอ เทียนหลุย) เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 ตรงกับวันเสาร์ ที่บ้านตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายปาน และ นางฮ้อ จาติกวณิช มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน
ในวัยเยาว์ ได้ศึกษาวิชา ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก สอบไล่ได้หลักสูตรชั้นที่ 5 แล้วจึงออกจากโรงเรียนไปทำงานเป็นเสมียนที่ห้างบอเนียว 4 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี บิดาถึงแก่กรรม จึงได้ลาออกจากห้างบอเนียว เมื่อ พ.ศ. 2441 มารับราชการในตำแหน่งล่ามภาษาอังกฤษ กรมกองตระเวน กระทรวงนครบาล หลังจากนั้นจึงได้เลื่อนยศและตำแหน่ง ดังนี้
ยศ
แก้- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - อำมาตย์เอก[2]
- 17 มกราคม พ.ศ. 2458 - เปลี่ยนยศเป็น พันตำรวจเอก[3]
- 16 มีนาคม พ.ศ. 2462 เป็นพลตำรวจตรี[4]
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 เป็นพลตำรวจโท [5]
บรรดาศักดิ์
แก้ตำแหน่ง
แก้- 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ตำแหน่งล่าม เงินเดือน 50 บาท
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2447 เป็นนายเวรสรรพการ[10] เงินเดือน 100 บาท
- 25 มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นปลัดกรมสรรพการ[11]เงินเดือน 200 บาท
- 31 ตุลาคม พ.ศ. 2452 เป็นเจ้ากรมกองพิเศษ [12] เงินเดือน 400 บาท
- 26 มีนาคม พ.ศ. 2458 เป็นผู้บังคับการกองพิเศษ เงินเดือน 500 บาท
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ[13]เงินเดือน 700 บาท
- 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ[14]เงินเดือนเท่าเดิม
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 รั้งอธิบดีกรมตำรวจภูธร [15] เงินเดือน 900 บาท
ราชการพิเศษ
แก้- 14 กันยายน พ.ศ. 2459 เป็นราชองครักษ์เวร [16]
- 29 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคนต่างชาติเข้าเมือง
- 4 เมษายน พ.ศ. 2466 เป็นองคมนตรี [17]
- 17 มิถุนายน พ.ศ. 2469 เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินทางเข้าในพระราชอาณาจักร พระราชบัญญัติค้าหญิงแลเด็ก
- 19 กันยายน พ.ศ. 2469 เป็นกรรมการไปประชุมข้อราชการที่เมืองปีนัง และสิงคโปร์
- 22 มิถุนายน พ.ศ. 2471 เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์
รับตำแหน่งสูงสุดเป็น อธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 เงินเดือน 1,100 บาท ตราบจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 จึงถูกพักราชการ ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ปลดออกราชการ[18]รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ มีอายุราชการได้ 33 ปี 7 เดือน 18 วัน
ครอบครัว
แก้ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับ คุณหญิงองุ่น อธิกรณ์ประกาศ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
- พ.ต.ท.กษม จาติกวณิช
- ศ.นพ.กษาน จาติกวณิช
และมีบุตรเกิดจากภรรยา ชื่อเสงี่ยม อีก 6 คน คือ
- นายเกษม จาติกวณิช
- นายเกษตร จาติกวณิช
- นายไกรศรี จาติกวณิช
- นางโกศล จรัลชวนะเพท
- นางโกสุม ศรุตานนท์
- นางโกศัลย์ ล่ำซำ
การเมืองและชีวิตหลังบำนาญ
แก้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน พระยาอธิกรณ์ประกาศ ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจและข้าราชบริพารใกล้ชิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้รักษาพระนคร และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ถวายรายงานต่อพระองค์ท่านถึงรายชื่อบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎร ที่มีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อบ้านเมือง แต่พระองค์ท่านไม่ทรงเชื่อ ด้วยทรงเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ไม่น่ามีศักยภาพเพียงพอ
แต่ทางตำรวจโดยพระยาอธิกรณ์ประกาศ ก็ยังได้ส่งตำรวจภูบาล (ตำรวจสันติบาล ในปัจจุบัน) เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎรอย่างใกล้ชิดถึงบริเวณหน้าบ้านพัก
ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาอธิกรณ์ประกาศ ได้ทราบรายงานเรื่องการปฏิวัติ ขณะที่นอนหลับอยู่ในบ้านพัก เมื่อสายตำรวจรายงานเข้ามาว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งเข้าทำการยึดกรมไปรษณีย์โทรเลข และตัดสายโทรศัพท์ โทรเลข ไว้ได้หมดแล้ว จึงเดาเรื่องราวทั้งหมดออก และตัดสินใจเดินทางเข้าสู่วังบางขุนพรหมทันที พร้อมกำลังตำรวจ เพื่อเข้าเฝ้าถวายรายงานแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ[19] เมื่อพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นผู้นำกองกำลังในการบุกเข้ามายังวังบางขุนพรหม เมื่อทรงทราบ และกำลังจะทรงหนีทางท่าน้ำหลังวังพร้อมด้วยครอบครัวและข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง แต่ยังทรงลังเลเมื่อมีเรือตอร์ปิโดหาญทะเลของทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรที่ควบคุมโดย เรือโท จิบ ศิริไพบูลย์ คอยลาดตระเวนดูอยู่ เมื่อทางพระประศาสน์ฯมาถึง พระยาอธิกรณ์ประกาศจะชักปืนยิง แต่ทางหลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรได้กระโดดเตะปืนจากมือของพระยาอธิกรณ์ประกาศกระเด็นลงพื้นเสียก่อน จึงยิงไม่สำเร็จ [20]
หลังจากนั้น พระยาอธิกรณ์ประกาศได้ถูกควบคุมตัวในพระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นที่บัญชาการของคณะราษฎร เฉกเช่นเจ้านายพระองค์อื่น และบุคคลสำคัญต่าง ๆ ด้วย และถือเป็นข้าราชการคนแรกที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันเดียวกันนั้นเอง โดยคำสั่งของผู้รักษาพระนคร คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร และได้ประกาศให้ พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) ขึ้นมารักษาการตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแทน[21] ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ก็ได้รับการปลดให้พ้นจากราชการโดยพระบรมราชโองการ เมื่อออกรับพระราชบำนาญแล้ว ได้ใช้ชีวิตอยู่กับบ้านด้วยการทำงานอดิเรก คือ ปลูกต้นไม้ และเลี้ยงไก่ จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2497 จึงป่วยเป็นไตพิการกำเริบ แพทย์รักษาสุดความสามารถ จนถึงอนิจกรรม เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 78 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า) [22]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[23]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3) [24]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[25]
- 2463 – เข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. เงิน[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 15 (หน้า 67)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนนามกรมพลตระเวน และเปลี่ยนยศข้าราชการในกรมพลตระเวน
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงนครบาล
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงนครบาล
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงนครบาล
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผู้บัญชาการตำรวจพระนครบาลกรุงเทพ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดและตั้งผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร
- ↑ แจ้งความกระทรวงนครบาล เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ พระราชพิธีตั้งองคมนตรี พุทธศักราช 2466
- ↑ แจ้งความประธานคณะกรรมการราษฎร
- ↑ นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
- ↑ 24 มิถุนายน (9) คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศราฐบุตร รศ.: เดลินิวส์
- ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 266.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า (หน้า 2348)
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรมาลา
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 3100)
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า (หน้า 3125)
- ↑ แจ้งความกรมราชองครักษ์
ก่อนหน้า | พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ |
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 7 (2472 – 2475) |
พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) |