พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล)
พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) (30 เมษายน พ.ศ. 2424 - 30 มกราคม พ.ศ. 2509) อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 3 ของประเทศไทย
ประวัติ
แก้พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2424 ที่ตำบลตลาดสมเด็จ อำเภอบางใหญ่ กรุงเทพ เป็นบุตรของ นายขำ และนางบุญรอด มีพี่น้องทั้งหมด 5 ท่าน คือ
- นางปลั่ง สมรสกับ หลวงราชเดชา (ชม บุนนาค)
- นางผ่อง สมรสกับ พันตำรวจเอก พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (เชย ไชยคุปต์)
- นางแปลก สมรสกับ นายกราย บุนนาค
- นางสาวสาย พรหโมบล
- คุณหญิงน้อมพิชัยภูเบนทร์ สมรสกับ พระยาพิชัยภูเบนทร์ (ผ่าน อินทรทัต)
ท่านสืบเชื้อสายโดยตรงจากราชตระกูลแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยนายขำ บิดาของท่าน เป็นหลานตาของพระเจ้าอนุรุทราช มีมารดาชื่อ เจ้าหนูจีน เป็นธิดาลำดับที่ 18 ในจำนวน 23 คน ของพระเจ้าอนุรุทราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อพระเจ้าอนุรุทราชถึงแก่พิราลัยเมือ พ.ศ. 2371 ครอบครัวของพระยาบุเรศผดุงกิจ ยังได้ติดต่อใกล้ชิดกับญาติสมัยเมื่อท่านยังมีชิวิตอยู่ มีอยู่ 2 ท่าน คือ เจ้าคลี่ และ เจ้าเสือ
- เจ้าคลี่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของพระเจ้าอนุรุทราช ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาดวงคำ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชธิดา 2 พระองค์คือ
ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงญาติทางพระมารดาด้วยพระเมตตา พี่น้องฝ่ายหญิงของพระยาบุเรศผดุงกิจ โดยเฉพาะน้องสาวคนเล็กคือ คุณหญิงน้อม พิชัยภูเบนทร์ นั้น ก็ถวายตัวเป็นข้าหลวงในเสด็จทั้งสองพระองค์ และรับใช้จนพระองค์เจ้าประดิษฐาสารีสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนั้น บุตรและธิดาของพระยาบุเรศผดุงกิจ จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเสด็จพระองค์หญิงโดยสม่ำเสมอ
- เจ้าเสือ เป็นบุตรคนที่ 9 ของพระเจ้าอนุรุทราช มีบุตรคือเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี ท่านนี้มีศักดิ์เป็นท่านลุงของพระยาบุเรศผดุงกิจ ซึ่งพระยาบุเรศผดุงกิจได้รับพระราชทานนามสกุลจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ตามชื่อและบรรดาศักดิ์ของท่านลุงว่า "พรหโมบล"
ตอนที่พระยาบุเรศผดุงกิจท่านเกิดมานั้น ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย บิดาจึงได้ตั้งชื่อท่านว่า "รวย" แต่ต่อมาบิดาก็ถึงแก่กรรมลง ตั้งแต่ท่านเยาว์วัย จึงเป็นเหตุให้พระยาบุเรศผดุงกิจ ต้องอยู่ในอุปการะของพี่สาวคนโตทั้งสองคนคือ นางปลั่ง และนางผ่อง ซึ่งเป็นภริยาตำรวจ แต่หลังจากนั้นท่านเองก็ได้ไปสมัครเป็นตำรวจ เพราะพี่เขยเป็นตำรวจ ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้สนใจอาชีพนี้เลย เนื่องจากกลัวและไม่ชอบตำรวจเป็นทุนเดิม แต่ภายหลังพระยาบุเรศผดุงกิจได้เจริญก้าวหน้าในกรมตำรวจ จนได้รับตำแหน่งสูงสุดในกรม และบุตรหลานของพระยาบุเรศผดุงกิจ หลายคน ก็เป็นข้าราชการตำรวจเป็นส่วนใหญ่
ความเจริญก้าวหน้าในราชการของท่าน ตั้งแต่เข้ารับราชการเป็นตำรวจตั้งแต่ปี 2441 คือ
- ปี 2441 เริ่มรับราชการในตำแหน่งพลตำรวจเสมียน พลตระเวนประจำสถานีตำรวจนครบาลสามยอด
- ปี 2444 ได้เลื่อนยศเป็นนายหมวด สารวัตรแขวง สารวัตรใหญ่
- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 หลวงบุเรศผดุงกิจ ถือศักดินา ๖๐๐[1]
- พ.ศ. 2453 ปลัดกรมกองตระเวน
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - อำมาตย์ตรี[2]
- 17 มกราคม พ.ศ. 2458 - เปลี่ยนยศเป็น พันตำรวจตรี[3]
- 23 มิถุนายน พ.ศ. 2459 - ได้เลื่อนยศ เป็น พันตำรวจโท [4]
- 13 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - พระบุเรศผดุงกิจ ถือศักดินา ๘๐๐[5]
- 26 พฤศจิกายน 2460 – ได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[6]
- 26 เมษายน พ.ศ. 2461 - ได้เลื่อนยศ เป็น พันตำรวจเอก [7]
- 26 เมษายน 2463 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[8]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบุเรศผดุงกิจ ศักดินา ๑๐๐๐ [9]
- 1 มกราคม 2463 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[10]
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 - พ้นจากตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจและโรงเรียนพลตำรวจและรั้งตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายบางรักแทน พันตำรวจเอก พระยาพลพรรคภิบาล ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายพระนคร[11]
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสายดุสิต[12]
- 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมตำรวจ สืบต่อจาก พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) [13]
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนชื่อ กรมตำรวจภูธร เป็น กรมตำรวจ [14] พระยาบุเรศผดุงกิจ สามารถปราบปรามอาชญากรรมต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า “มือปราบของกรมตำรวจ” ในยุคนั้น
นอกจากนี้ ยังนับได้ว่า ท่านเป็นต้นสกุล "พรหโมบล" (เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า Brahmopala) เนื่องจากท่านได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ ๑๔๐๔ ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบุเรศผดุงกิจ ปลัดกรมกองตระเวน ผู้บังคับการโรงเรียนนายหมวด [15]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ด้านครอบครัว พระยาบุเรศผดุงกิจมีภรรยาทั้งหมด 6 ท่านคือ
- คุณหญิงทองคำ บุเรศผดุงกิจ
- คุณพร้อม
- คุณเยื้อง
- คุณเปรื่อง
- คุณชวน
- คุณสุดใจ
พระยาบุเรศผดุงกิจท่านมีบุตร และบุตรี ตามลำดับทั้งหมด 19 ท่าน ดังรายนามดังนี้
- พลตำรวจตรี หลวงพรหโมปกรณ์กิจ(รื่น พรหโมบล)
- คุณ เริญ พรหโมบล
- คุณ เลื่อน พรหโมบล
- คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ (เนติบัณฑิตหญิงคนแรกของไทย)(มารดาของคุณอรนุช โอสถานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)
- คุณ ริ้ม พรหโมบล
- คุณ ร้อม พรหโมบล
- พันตำรวจเอก รัตน์ พรหโมบล
- คุณ เรียมหรือบุญช่วย พรหโมบล
- คุณ เรียบหรือผดุง พรหโมบล
- คุณ รุจีหรือไข่ขวัญ พรหโมบล
- คุณ รัมภา พรหโมบล (มารดาของ คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
- คุณ คลอใจ พรหโมบล
- คุณ รุ่งเรือง พรหโมบล
- คุณ เคลือวัลย์ พรหโมบล
- คุณ สุรศักดิ์ พรหโมบล
- คุณ จิระ พรหโมบล
- คุณ อมรา พรหโมบล
- พันตำรวจเอก คีรี พรหโมบล
- คุณ ดำรงศักดิ์ พรหโมบล
พระยาบุเรศผดุงกิจถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2509
ยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[21]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[22]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[23]
- 30 สิงหาคม 2458 - เข็มข้าหลวงเดิม[24]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๗๙๗)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๖๑๘)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนนามกรมพลตระเวน และเปลี่ยนยศข้าราชการกรมพลตระเวน
- ↑ พระราชทานยศนายตำรวจภูธรแลนายตำรวจพระนครบาล
- ↑ ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๕๕๙)
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๔๗๓)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรยศตำรวจภูธรและตำรวจพระนครบาลไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๒๔๖)
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจ
- ↑ เรื่อง ปลด ย้าย และตั้งนายตำรวจชั้นผู้บังคับการ (หน้า ๒๒๙)
- ↑ แจ้งความประธานคณะกรรมการราษฎร (หน้า ๑๒๘๔)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ จัดวางโครงการกรมตำรวจ
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๗ (หน้า ๕๙๘)
- ↑ เลื่อนและตั้งตำแหน่งยศนายกองนายหมู่เสือป่า (หน้า ๒๖๘๙)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (หน้า ๒๖๒๙)
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรมาลา
ก่อนหน้า | พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) |
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 8 (2475 – 2476) |
พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) |