อรนุช โอสถานนท์
นางอรนุช โอสถานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาล รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
อรนุช โอสถานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ – 23 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุริยา ลาภวิสุทธิสิน ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ |
ถัดไป | วิรุฬ เตชะไพบูลย์ บรรยิน ตั้งภากรณ์ พิเชษฐ์ ตันเจริญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เรือโท วีระ โอสถานนท์ |
ประวัติ
แก้นางอรนุช โอสถานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2481แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ อดีต ส.ส.ภูเก็ต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 28
เป็นบุตรของนายอุดม บุณยประสพ กับคุณหญิงนางอรนุช โอสถานนท์ เริ่มรับราชการในกระทรวงพาณิชย์ และได้รับรางวัลครุฑทองคำ ในปี พ.ศ. 2536 ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2541
การเมือง
แก้นางอรนุช โอสถานนท์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2514 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2515 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 จึงได้กลับเข้าสู่งานการเมืองอีกครั้งโดยการได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ [1] ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า มีนักการเมืองถือหุ้นทำธุรกิจเกินร้อยละ 5[2][3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นางอรนุช โอสถานนท์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ)
- ↑ คมชัดลึก
- ↑ โพสต์ทูเดย์ - รมต.ขิงแก่ ถือหุ้น5% ไม่ผิด [ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕๐, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐