ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทย แลนด์ ดีวีลอปเมนท์ จำกัด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แกนนำกลุ่มวังพญานาค ร่วมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[1] และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย และภายหลังได้ย้ายเข้าสังกัด พรรคเพื่อแผ่นดิน
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | อนุรักษ์ จุรีมาศ |
ถัดไป | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุวรรณ วลัยเสถียร เนวิน ชิดชอบ วัฒนา เมืองสุข พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อนุทิน ชาญวีรกูล |
ถัดไป | อรนุช โอสถานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ถัดไป | สวนิต คงสิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2497 (67 ปี) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2497 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
การทำงานแก้ไข
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 และย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 จนกระทั่งได้ย้ายมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2535 ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537[3] และเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4] (2 สมัย) กระทั่งในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6] จึงได้นำสมาชิกในกลุ่มวังพญานาค ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ต่อมาได้แถลงลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาและตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมีเหตุผลว่า เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ และความเรียบร้อยในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และเพื่อให้เป็นไปตามข้อหารือของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งการแถลงลาออกครั้งนี้ได้กระทำพร้อมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ, นายสุชาติ ตันเจริญ, นางลลิตา ฤกษ์สำราญ, นายเอกภาพ พลซื่อ และนายสมศักดิ์ คุณเงิน[7]
ในการจัดตั้งของรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการนำสมาชิกในกลุ่มให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในนาม "3พี" (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับกลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2542 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2541 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[11]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ “พินิจ-ปรีชา” แถลงลาออกที่ปรึกษาเพื่อแผ่นดิน
- ↑ อนาคต “ 3 พี” ... สลาย “พผ.” เข้าร่วมรัฐบาล !!!
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๔,๘๙๖ ราย) เล่ม 116 ตอนที่ 20ข วันที่ 2 ธันวาคม 2542
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์