วิรุฬ เตชะไพบูลย์
วิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย
วิรุฬ เตชะไพบูลย์ | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน 2555 – 22 พฤษภาคม 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2554 – 28 ตุลาคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ – 5 สิงหาคม 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | อรนุช โอสถานนท์ |
ถัดไป | บรรยิน ตั้งภากรณ์ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2486 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | กัญญา เตชะไพบูลย์ |
ประวัติ
แก้นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายอุเทน เตชะไพบูลย์ กับนางจำเรียง เตชะไพบูลย์ ด้านครอบครัวสมรสกับนางกัญญา เตชะไพบูลย์ (พงศ์ไพโรจน์) มีบุตร 5 คน (เสียชีวิตแล้ว 2 คน)
การศึกษา
แก้นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์สตีเว่น ฮ่องกง จากนั้นเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัย HAWTHONE รัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา และเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร "ป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 2" วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และหลักสูตร "CORPORATE FINANCE" สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนั้นยังได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการตลาด) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย
งานการเมือง
แก้นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ (15 มี.ค. 2534 - 21 มี.ค. 2535) และสมาชิกวุฒิสภา (22 มี.ค. 2535 - 21 มี.ค. 2539) หลังจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค จนกระทั่งได้รับตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กระแส ชนะวงศ์) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (วราเทพ รัตนากร) และกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 วิรุฬ เตชะไพบูลย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 5 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย พร้อมกับสมาชิกคนอื่นๆ ของพรรคพลังประชาชน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] ต่อมาถูกปรับออกจาตำแหน่งรัฐมนตรีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 29[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ประสบการณ์ด้านงานสังคมและการกุศล
แก้- อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียน
- อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัญชัญ ศรีราชา
- กรรมการฝ่ายบริหาร มูลนิธิสมเด็จพระมหิตราธิเบศ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกพระบรมราชชนก
- กรรมการฝ่ายหาทุน มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- กรรมการฝ่ายหาทุน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
- ประธานหารายได้ มูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุช
- กรรมการ มูลนิธิสวนหลวง ร.9
- กรรมการบริหาร มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- ประธานกรรมการทุนธนชาต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗