กระแส ชนะวงศ์
ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม[1]และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตหัวหน้าพรรคพลังใหม่[2][3] อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [4] และผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซประจำปี พ.ศ. 2516
กระแส ชนะวงศ์ | |
---|---|
กระแส ใน พ.ศ. 2557 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 11 มีนาคม 2548 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ – 19 พฤษภาคม 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม 2537 – 11 กุมภาพันธ์ 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สุเทพ อัตถากร |
ถัดไป | ถวิล ไพรสณฑ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม 2522 – 3 มีนาคม 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | ประพนธ์ ปิยะรัตน์ |
ถัดไป | อำพัน หิรัญโชติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มีนาคม พ.ศ. 2477 จังหวัดขอนแก่น ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2549—ปัจจุบัน) ไทยรักไทย (2545—2549) ความหวังใหม่ (2536—2545) พลังธรรม (2531—2536) พลังใหม่ (2518—2531) |
คู่สมรส | เพ็ญแข ชนะวงศ์ |
ศิษย์เก่า | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล London School of Hygiene & Tropical Medicine Columbia University |
ประวัติการศึกษา
แก้กระแส ชนะวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพ จากนั้นเข้าศึกษาหลักสูตรเตรียมแพทย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) ในปี พ.ศ. 2503
ในปี พ.ศ. 2510 สำเร็จปริญญาโท ด้านบริหารงานสาธารณสุข Diploma Tropical Public Health (D.T.P.H.) จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาสำเร็จปริญญาเอก ด้านบริหารงานทางด้านประชากรศาสตร์ Doctor of Public Health (Dr. P.H.) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2526
นอกจากนี้ นายแพทย์กระแสได้รับมอบ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ (Ph.D) จากมหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2528 และปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2545
งานการเมือง
แก้กระแส ชนะวงศ์ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคพลังใหม่ ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรค โดยในการเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคพลังใหม่ มี ส.ส. จำนวน 12 คน และต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัย แต่พรรคพลังใหม่ของเขาได้รับเลือกตั้งเข้าสภาเพียง 3 คน
ในปี พ.ศ. 2522 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[5][6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[7] ในปีถัดมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ภายหลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 พรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากการร่วมเป็นรัฐบาล เขาจึงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย[8]
ต่อมาในในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคความหวังใหม่ อยู่ในลำดับที่ 11 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ดร.ทักษิณ ชินวัตร)[9]
งานด้านการศึกษา
แก้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาคนในชนบทอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกๆของชีวิตการทำงาน ท่านดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบท ที่สุขศาลา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จนกระทั่งได้รับรางวัลเกียรติยศ คือ รามอนแม็กไซไซ สาขาผู้นำชุมชน วาทะที่เป็นอมตะของท่านคือ " การศึกษาของชาวชนบท คือ อนาคตของประเทศ"
รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
แก้นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เคยได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในระดับต่างๆ อาทิ
- พ.ศ. 2507 รางวัลพนักงานเทศบาลดีเด่นประจำปี จากสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2510 รางวัลในฐานะแพทย์ในราชการส่วนภูมิภาคผู้มีผลงานดีเด่นจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2514 รางวัลในฐานะข้าราชการดีเด่นจากกรมการแพทย์และอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2515 รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น (คนแรก) จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2516 รางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2529 รางวัลนักสาธารณสุขดีเด่นระหว่างประเทศจาก Western Consortium in Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2536 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2538 รางวัลมหิดลทยากร จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2556 รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย โดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
แก้- กรรมการก่อตั้ง และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย CARE international thailand
- ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โรงเรียนกระแสพัฒนา เก็บถาวร 2012-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง วิทยาลัยเทคโนโลยีพลพาณิชยการ
- ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โรงเรียนเพชรบูรณ์การ์เด้นฮิลล์ เก็บถาวร 2012-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ผู้ก่อตั้ง วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
- นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
- อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น : พ.ศ. 2547 - The Grand Cordon of the Order of the Rising Sun ชั้นที่ 1
อ้างอิง
แก้- ↑ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง หน้า 192 วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ ผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2009-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ฉบับที่ 2769 ปีที่ 54 ประจำวัน อังคาร ที่ 13 พฤศจิกายน 2550
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "2.4.2 ประชาธิปไตยของไทยยุคปฏิรูปการเมือง (พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา)". ประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552. หน้า 100. ISBN 974-645-258-4
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๘๘/๒๕๔๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกระแส ชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-11-30. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า | กระแส ชนะวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุเทพ อัตถากร | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) |
ถวิล ไพรสณฑ์ |