คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57

อดีตคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551)

คณะรัฐมนตรีสมัคร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 แห่งราชอาณาจักรไทย
กุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2551
วันแต่งตั้ง6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันสิ้นสุด24 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 224 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด35
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคพลังประชาชน
พรรคชาติไทย
พรรคเพื่อแผ่นดิน
พรรคมัชฌิมาธิปไตย
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
พรรคประชาราช
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
316 / 476
พรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์
ผู้นำฝ่ายค้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประวัติ
การเลือกตั้ง23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี28 มกราคม พ.ศ. 2551
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58

นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อรัฐมนตรี

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง   แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  รัฐมนตรีลอย   ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * สมัคร สุนทรเวช   29 มกราคม พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551   พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พลังประชาชน
สมชาย วงศ์สวัสดิ์   9 กันยายน พ.ศ. 2551 18 กันยายน พ.ศ. 2551   รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี พลังประชาชน
รองนายกรัฐมนตรี 1 สมชาย วงศ์สวัสดิ์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พลังประชาชน
2 นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
สหัส บัณฑิตกุล   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชาชน
3 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
สุวิทย์ คุณกิตติ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแผ่นดิน
4 พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
5 มั่น พัธโนทัย   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   เพื่อแผ่นดิน
สำนักนายกรัฐมนตรี   6 ชูศักดิ์ ศิรินิล   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  จักรภพ เพ็ญแข   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชาชน
กลาโหม   * สมัคร สุนทรเวช   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551   พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พลังประชาชน
การคลัง   * นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  7 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   รวมใจไทยชาติพัฒนา
  ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี เพื่อแผ่นดิน
  8 สุชาติ ธาดาธำรงเวช   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
เพื่อไทย[a]
  9 พิชัย นริพทะพันธุ์   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   เพื่อแผ่นดิน
การต่างประเทศ   นพดล ปัทมะ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชาชน
  เตช บุนนาค   26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 4 กันยายน พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง ไม่สังกัดพรรคการเมือง
  10 สาโรจน์ ชวนะวิรัช   4 กันยายน พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ไม่สังกัดพรรคการเมือง
การท่องเที่ยวและกีฬา   11 วีระศักดิ์ โควสุรัตน์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   สุธา ชันแสง   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชาชน
  ชวรัตน์ ชาญวีรกูล   23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลังประชาชน
  12 อนุสรณ์ วงศ์วรรณ   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
เกษตรและสหกรณ์   13 สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
  14 สมพัฒน์ แก้วพิจิตร   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
  15 ธีระชัย แสนแก้ว   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
คมนาคม   16 สันติ พร้อมพัฒน์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  17 ทรงศักดิ์ ทองศรี   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  18 วราวุธ ศิลปอาชา   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   19 อนงค์วรรณ เทพสุทิน   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   มัชฌิมาธิปไตย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   * มั่น พัธโนทัย   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   เพื่อแผ่นดิน
พลังงาน   20 พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   รวมใจไทยชาติพัฒนา
พาณิชย์   * มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พลังประชาชน
  21 ไชยา สะสมทรัพย์   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  22 วิรุฬ เตชะไพบูลย์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  23 พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   มัชฌิมาธิปไตย
  24 พิเชษฐ์ ตันเจริญ   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   เพื่อแผ่นดิน
มหาดไทย   ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี พลังประชาชน
  * พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  25 สุพล ฟองงาม   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  26 สิทธิชัย โควสุรัตน์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ชาติไทย
  27 ประสงค์ โฆษิตานนท์   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   เพื่อแผ่นดิน
ยุติธรรม   28 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
แรงงาน   29 อุไรวรรณ เทียนทอง   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   ประชาราช
วัฒนธรรม   อนุสรณ์ วงศ์วรรณ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551   ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พลังประชาชน
  30 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   31 วุฒิพงศ์ ฉายแสง   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
ศึกษาธิการ   * สมชาย วงศ์สวัสดิ์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  32 บุญลือ ประเสริฐโสภา   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  33 พงศกร อรรณนพพร   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
สาธารณสุข   ไชยา สะสมทรัพย์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551   พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พลังประชาชน
  34 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
    6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551   ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  35 วิชาญ มีนชัยนันท์   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
อุตสาหกรรม   * สุวิทย์ คุณกิตติ   6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551   ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแผ่นดิน
  36 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ   2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 24 กันยายน พ.ศ. 2551   พลังประชาชน
  1. เดิมสังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181[3]

นโยบายและผลงาน

  • เสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสุนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน" [4]
  • รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง [5]

ความมั่นคง

  • การประนีประนอมกับทหาร โดยสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วย [6]
  • เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่[7]

เศรษฐกิจ

  • ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% [8]
  • ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.[9]
  • มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ[10]
  • มาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา

สิทธิมนุษยชน

  • ใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาด
  • เสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก[11]

อื่นๆ

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

นายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ขี้เหร่นิดหน่อย" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้ว[12] เช่นกรณีที่อยากให้น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง (วุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แต่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม[12][13]

ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทยและวิพากษ์รัฐบาล โดยกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ตัวจริง เป็นรัฐบาลนอมินีที่ควรเรียกว่ารัฐบาลลูกกรอก ที่เกิดจากการปลุกเสกของผู้มีอำนาจ ทำให้รัฐบาลนี้ซื่อสัตย์และจงรักภักดี โดยมี "รักเลี๊ยบและยมมิ่ง"เป็นผู้นำ (รักเลี๊ยบ หมายถึง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ส่วนยมมิ่ง หมายถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์) ขณะเดียวกันก็มีหัวหน้าคณะลูกกรอกอยู่ 2 ตนเป็นกุมารทองคะนองฤทธิ์ ตนแรกเป็นกุมารทองคะนองปาก (หมายถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) คอยทะเลาะสร้างศัตรูไปทั่วทุกกล่ม ส่วนกุมารทองตนที่สองคือ กุมารทองคะนองอำนาจ (หมายถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย) ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร[14]

ข้อวิพากษ์ดังกล่าวทำให้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการวิจารณ์รัฐบาลของนายธีรยุทธว่ามีคุณค่าทางวิชาการน้อยมาก เป็นแค่การโชว์ความสามารถในการคิดถ้อยคำเท่านั้น และนายธีรยุทธ มักจะมองการเมืองในแง่ร้ายเสมอ[14]

การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล

สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กล่าวหาว่าทางรัฐบาลขาดคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารชาติบ้านเมือง เป็นรัฐบาลตัวแทนของระบอบทักษิณ ที่เน้นบริหารชาติบ้านเมืองเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยการชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมครั้งสุดท้าย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้าร่วมให้มากที่สุด [15]

25 พฤษภาคม 15.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นเคลื่อนย้ายไปที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนินนอก เมื่อเวลา 21.20 น. ขณะที่พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลนั้น [16] ทางตำรวจได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้เคลื่อนผ่านไปได้ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเองก็มีวิธีการรับมือกับตำรวจ [17] ขณะที่เดินขบวนไปนั้น ได้มีฝ่ายตรงข้าม ตั้งเวทีย่อยบนรถ 6 ล้อ ด่าทอพันธมิตรฯ และขว้างปาสิ่งของไปมาเป็นระยะๆ [18] ส่งให้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย [19] จนกระทั่ง ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก จนต้องหามส่งไปยังโรงพยาบาลกรุงเทพ[20]

26 พฤษภาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา [21]

30 พฤษภาคม เป็นวันชุมนุมใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศที่จะยกระดับการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประการ[22] [23] หลังจากนั้น สมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป [24]

1 มิถุนายน 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า

"เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่" [25]

อ้างอิง

  1. ผู้จัดการออนไลน์, “ในหลวง”ทรงแนะรมต.ใหม่ ทำให้ได้อย่างคำปฏิญาณ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 19 มิถุนายน 2551
  2. กรุงเทพธุรกิจ, "นพดล" แถลงลาออก รมว.ต่างประเทศ มีผล 14 ก.ค.[ลิงก์เสีย]
  3. ศาล รธน.ชี้ขาดคุณสมบัติ สมัครพ้นตำแหน่งนายกฯ จาก ไทยรัฐ
  4. "Samak's Mekong plan could hurt trade ties". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  5. รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์รัฐบาลทักษิณ[ลิงก์เสีย]
  6. จากมติชน 10 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 10 คอลัมน์ การเมือง
  7. "เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  8. เบญจพร วงศ์. ยกเลิกกันสำรอง 30%ปลดล็อกเศรษฐกิจแล้วปลด(ล็อก)อะไรอีก?. กรุงเทพฯ : เนชั่นสุดสัปดาห์, 2551.
  9. "เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  11. ""หมัก" ฟิวส์ขาด ลั่นไม่บ้าพอแก้ รธน.ตั้งกาสิโน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  12. 12.0 12.1 MCOT New,สมัคร ยอมรับ ครม.ชุดใหม่ขี้เหร่นิดหน่อย เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 กุมภาพันธ์ 2551
  13. กรุงเทพธุรกิจ, สมัครยอมรับโฉมหน้าครม.ขี้เหร่ เก็บถาวร 2008-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 กุมภาพันธ์ 2551
  14. 14.0 14.1 แนวหน้า, ธีรยุทธสับเละรบ.ลูกกรอก1 ชั่วครองเมือง ชี้แก้รธน.เพื่อตัวเองพังแน่ เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 พฤษภาคม 2551
  15. ผู้จัดการออนไลน์,ยามเฝ้าแผ่นดิน : “สนธิ” ลั่น “25 พ.ค.” สงครามครั้งสุดท้าย! เก็บถาวร 2012-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 พฤษภาคม 2551
  16. "พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  17. ผู้จัดการออนไลน์, คู่มือรับมือกับการ “สลายการชุมนุม” ของตำรวจ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 28 พฤษภาคม 2551
  18. "แก๊งป่วนปฏิบัติการยั่วยุ เคลื่อนจ่อพันธมิตรฯ ด่าทอ-ปาขวดน้ำใส่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  19. "ผู้จัดการออนไลน์หน้าพิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  20. "ผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  21. "ตร.แห่คุมสภาเข้ม! รับ "พันธมิตรฯ" ยื่นหนังสือไล่ถอด ส.ส.-ส.ว." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  22. "กล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  23. มติชน,พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่ทั้วหมด 12 ประการ[ลิงก์เสีย] 31 พฤษภาคม 2551
  24. ผู้จัดการออนไลน์ “สมศักดิ์” รัวกลองรบ! ขับไล่ “หมัก-รบ.นอมินี” ไร้ความชอบธรรม เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. ผู้จัดการออนไลน์,“จำลอง” ย้ำจุดยืนชุมนุมจนกว่าชนะ!! ยันไม่เคลื่อนย้ายไปทำเนียบ เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน1 มิถุยายน 2551

แหล่งข้อมูลอื่น