ประสพสุข บุญเดช
ศาสตราจารย์พิเศษ ประสพสุข บุญเดช (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) เป็นนักกฎหมายชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์ และประธานวุฒิสภา[1]
ประสพสุข บุญเดช | |
---|---|
ประสพสุข ในปี พ.ศ. 2552 | |
ประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (2 ปี 341 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุชน ชาลีเครือ |
ถัดไป | พลเอกธีรเดช มีเพียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ธัญญวดี บุญเดช |
ประวัติ
แก้ประสพสุขเกิดวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย[2] สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2509 รุ่นเดียวกับบัญญัติ บรรทัดฐาน ไตรรงค์ สุวรรณคีรี และประจวบ ไชยสาส์น[ต้องการอ้างอิง] จากนั้นสำเร็จเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ก่อนศึกษาเนติบัณฑิตอังกฤษ (Lincoln's Inn, Barrister-at-Law) ที่ประเทศอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]
ประสพสุขสมรสกับธัญญวดี บุญเดช[3]
การทำงาน
แก้หลังจากสำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิตอังกฤษในปี พ.ศ. 2515 กลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ปี ก่อนโอนย้ายไปเป็นผู้พิพากษา[ต้องการอ้างอิง]
ประสพสุขเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3,ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5, ประธานศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง รวมถึงเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัย ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย[ต้องการอ้างอิง]
ประสพสุขรับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[4] นอกจากนี้ได้เป็นกรรมการกฤษฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง] แล้วดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และได้เป็นกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ↑ "ประสพสุข บุญเดช - ThaiPoliticsGovernment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 2011-05-04.
- ↑ เปิดขุมทรัพย์ส.ว.รวย1.3 หมื่นล.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายประสพสุข บุญเดช)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 114 ตอนที่ 27 ข หน้า 4, 3 ธันวาคม 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109 ตอนที่ 154 ง ฉบับพิเศษ หน้า 10, 4 ธันวาคม 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2558 เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 132 ตอนที่ 32 ข หน้า 28, 4 ธันวาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 115 ตอนที่ 2 ข หน้า 408, 18 มกราคม 2541
ก่อนหน้า | ประสพสุข บุญเดช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุชน ชาลีเครือ | ประธานวุฒิสภา (14 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554) |
พลเอก ธีรเดช มีเพียร |