สมศักดิ์ โกศัยสุข

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอดีตหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) อดีตพ่อค้ายาปลุกใจเสือป่า เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้นำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย[1]

สมศักดิ์ โกศัยสุข
หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ถัดไปสนธิ ลิ้มทองกุล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าสนธิ ลิ้มทองกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองการเมืองใหม่

ประวัติและการศึกษา

แก้

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงเรียนมัธยมพัทลุงวิทยา จังหวัดพัทลุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขา การปกครอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทบาทการเมือง

แก้

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 โดยคู่เคียงข้าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และเป็น 1 ในผู้ที่ถูกหมายจับเช่นเดียวกับแกนนำคนอื่น ๆ เช่น นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ และนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อขับไล่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น จึงได้มีการลงมติเลือกให้นายสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมานายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อหลีกให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับเข้ามารับหน้าที่ดังกล่าวอีกครั้ง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553[2] ภายหลังการลาออกของนายสนธิ ลิ้มทองกุล

ต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายสมศักดิ์ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากทำตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จากการลงมติกันก่อนหน้านั้นไม่นาน[3]จากเรื่องการส่งพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 หรือไม่

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคการเมืองใหม่[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[5]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

แก้

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายสมศักดิ์ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีบทบาทเป็นผู้นำในการชุมนุมภายในพื้นที่กระทรวงมหาดไทย [6] รวมถึงก่อนหน้านั้นก็ยังเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยเวทีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายสูง ร่วมกับนายถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ด้วย[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายสมศักดิ์เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 39[8] [9]

อ้างอิง

แก้
  1. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  3. พันธมิตรแพแตก!'สมศักดิ์'ไขก๊อก!'พิเชษฐ'ทิ้งการเมืองใหม่[ลิงก์เสีย] จากประชาทรรศน์
  4. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
  5. หน้าแรกข่าว > การเมือง > ข่าวเลือกตั้ง 2554 จากสนุกดอตคอม
  6. "ขอคืนพื้นที่มหาดไทยเหลว". เดลินิวส์. 3 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. หน้า 059-061, ทวนเส้นทาง'มวลมหาประชาชน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้