อำเภอร่อนพิบูลย์

อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ร่อนพิบูลย์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440

อำเภอร่อนพิบูลย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ron Phibun
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
คำขวัญ: 
อุดมสินแร่ เมืองแม่เศรษฐี ผลไม้พันธุ์ดี
มีปศุสัตว์ เกจิหลวงพ่อ ใบพ้อสานพัด
ดุกย่างรสจัด ทิวทัศน์รามโรม
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอร่อนพิบูลย์
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอร่อนพิบูลย์
พิกัด: 8°10′48″N 99°51′18″E / 8.18000°N 99.85500°E / 8.18000; 99.85500
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด336.60 ตร.กม. (129.96 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด81,895 คน
 • ความหนาแน่น243.30 คน/ตร.กม. (630.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80130,
80350 (เฉพาะตำบลเสาธงและหินตก)
รหัสภูมิศาสตร์8013
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์ หมู่ที่ 12 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอร่อนพิบูลย์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาล ร่อนพิบูลย์เป็นแขวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นในมณฑลนครศรีธรรมราช โดยประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครอง จากแขวงเป็นอำเภอ อำเภอร่อนพิบูลย์ ได้ชื่อมาจาก "บ้านร่อน" ด้วยที่ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพร่อนแร่ขาย เมื่อมีการจัดตั้งแขวงขึ้น จึงได้ใช้ชื่อว่า "ร่อนพิบูลย์" และยังมีความหมายบ่งบอกถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสินแร่ ซึ่งเดิมทีการทำเหมืองแร่เป็นประเภทเหมืองขุดเจาะ

ครั้นถึง พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการได้จัดระเบียบการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราชเสียใหม่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 โดยแบ่งเขตปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลำพูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอกลาย

  • พ.ศ. 2466 แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็งจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอร่อนพิบูลย์
  • พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลควนชุม แยกออกจากตำบลควนพัง ตั้งตำบลเสาธง แยกออกจากตำบลหินตก ตั้งตำบลวังอ่าง แยกออกจากตำบลท่าประจะ ตั้งตำบลเคร็ง แยกออกจากตำบลท่าเสม็ด[2]
  • พ.ศ. 2492 โอนพื้นที่หมู่ที่ 6 (ในตอนนั้น) ของตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่[3]
  • พ.ศ. 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็น อำเภอชะอวด[4]
  • พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์[5]
  • พ.ศ. 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์[6] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • พ.ศ. 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง ในท้องที่หมู่ที่ 1, 2 ตำบลควนเกย[7]
  • พ.ศ. 2523 ตั้งตำบลทางพูน แยกออกจากตำบลเสาธง[8]
  • พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลนาหมอบุญ แยกออกจากตำบลสามตำบล[9]
  • พ.ศ. 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก ในท้องที่หมู่ที่ 3, 4, 5, 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลหินตก[10]
  • พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลทุ่งโพธิ์ แยกออกจากตำบลควนเกย ตั้งตำบลควนหนองคว้า แยกออกจากตำบลควนเกย ตำบลควนพัง และตำบลควนชุม[11] และโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลควนหนองคว้า จากอำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับอำเภอจุฬาภรณ์[12]
  • พ.ศ. 2537 แยกพื้นที่ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด จากอำเภอชะอวด และตำบลควนหนองคว้า ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลนาหมอบุญ ตำบลสามตำบล จากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอจุฬาภรณ์[12] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวโรกาสที่ทรงมีพระชันษาครบ 3 รอบ ในปีพุทธศักราช 2536
  • พ.ศ. 2539 แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวงจากอำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูนจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[13] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ สุขาภิบาลเขาชุมทอง และสุขาภิบาลหินตก เป็นเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ เทศบาลตำบลเขาชุมทอง และเทศบาลตำบลหินตกตามลำดับ[14]
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลควนเกยรวมกับเทศบาลตำบลเขาชุมทอง[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอร่อนพิบูลย์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[16]
แผนที่
1. ร่อนพิบูลย์ Ron Phibun
16
26,029
 
2. หินตก Hin Tok
12
18,685
3. เสาธง Sao Thong
8
11,128
4. ควนเกย Khuan Koei
6
4,323
5. ควนพัง Khuan Phang
8
13,170
6. ควนชุม Khuan Chum
7
8,419

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5–7, 10, 12–15
  • เทศบาลตำบลเขาชุมทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนเกยทั้งตำบล (เขตสุขาภิบาลเขาชุมทองเดิม)[7]
  • เทศบาลตำบลหินตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินตก เฉพาะหมู่ที่ 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–6
  • องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนพิบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์ เฉพาะหมู่ที่ 2–4, 8–9, 11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5–7, 10, 12–15
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินตก เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 7–8, 10–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–6
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนพังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนชุมทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. 16 กันยายน 2466.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (13 ง): 853–854. 1 มีนาคม 2492.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. 10 มีนาคม 2496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 125–127. 17 กันยายน 2498.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (57 ง): 1869–1870. 20 กรกฎาคม 2508.
  7. 7.0 7.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2556–2557. 26 สิงหาคม 2512.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (93 ง): 1796–1803. 17 มิถุนายน 2523.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (5 ง): (ฉบับพิเศษ) 78–79. 15 มกราคม 1993.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 31–32. 23 สิงหาคม 2536.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวดและอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (12 ง): 2–16. 10 กุมภาพันธ์ 2537.
  12. 12.0 12.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (4 ก): (ฉบับพิเศษ) 24–25. 4 กุมภาพันธ์ 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
  13. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-09-06.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-13.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. 29 กันยายน 2547.
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.