อำเภอทุ่งสง

อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ทุ่งสง เป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นอันดับสองของจังหวัดนครศรีธรรมราช รองจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

อำเภอทุ่งสง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Song
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
คำขวัญ: 
ถ้ำตลอดงามตระการ อุทยานน้ำตกโยง
โรงงานมากมี สถานีชุมทาง ศูนย์กลางราชการ
ทรงประทานพระคู่เมือง ลือเลื่องแม่กวนอิม
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอทุ่งสง
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอทุ่งสง
พิกัด: 8°9′53″N 99°40′51″E / 8.16472°N 99.68083°E / 8.16472; 99.68083
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด919.31 ตร.กม. (354.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด161,269 คน
 • ความหนาแน่น175.42 คน/ตร.กม. (454.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80110, 80310 (เฉพาะตำบลกะปาง; หมู่ที่ 5 ตำบลเขาโร; หมู่ที่ 3-4, 11 ตำบลที่วัง)
รหัสภูมิศาสตร์8009
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งสง เลขที่ 103 ถนนชัยชุมพล ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคใต้และเป็นจุดศูนย์กลางคมนาคมทางบกทั้งรถยนต์และรถไฟ อำเภอทุ่งสงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ปรากฏตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าเคยเป็นแขวงขึ้นอยู่ในปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากมณฑล เป็นจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งสงขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข

อำเภอทุ่งสงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียงดังนี้

ภูมิอากาศแก้ไข

ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอทุ่งสง สามารถแบ่งออกได้ 2 ฤดู คือ

  1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม
  2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝนตกทั่วไป ในช่วงฤดูฝนยังมีช่วงความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย ดังนั้นจึงทำให้ฝนตกมาก และเนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยอย่างเต็มที่ ทำให้ฝนตกมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ด้วยเหตุนี้ อำเภอทุ่งสงจึงไม่มีหน้าหนาว มีเพียงฤดูร้อน และฤดูฝนที่ยาวนานมาก

ประวัติแก้ไข

  • พ.ศ. 1588 เจ้าศรีราชา ได้ยกพลจากเมืองเวียงสระ มาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองร้างในขณะนั้น และได้ให้ไพร่พลได้แผ้วถางป่าให้เป็นนา และตั้งเมืองมานั้นแต่นั้น
  • พ.ศ. 2354 ในสมัยรัชกาลที่ 2แห่งราชวงศ์จักรี ได้แบ่งการปกครองพื้นที่เมืองทุ่งสงออกเป็น 4 แขวง
  • พ.ศ. 2440 เมื่อเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบมณฑลเป็นระบบจังหวัด ได้รวบรวมพื้นที่จัดตั้งอำเภอทุ่งสงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีการปกครองแบ่งเป็น 22 ตำบล
  • พ.ศ. 2449 เนื่องด้วยพื้นที่ของอำเภอทุ่งสงมีขนาดใหญ่มาก ไม่สะดวกต่อการปกครอง ทางการได้แยกตำบลลำทับไปขึ้นกับอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอทุ่งสงออกไปจัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลกุแหระ ตำบลปริก ตำบลทุ่งสังข์
  • พ.ศ. 2474 เนื่องจากพื้นที่ส่วนราชการคับแคบลง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอออกไปยังพื้นที่ใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอทุ่งสงมาตราบจนทุกวันนี้ ส่วนที่ว่าการอำเภอเดิมนั้นปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งสง
  • พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทั่วภาคใต้ อำเภอทุ่งสงจึงเป็นสถานที่สำคัญในเป้าหมาย เพราะญี่ปุ่นได้วางแผนที่จะรวมพลที่อำเภอทุ่งสง และจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ จึงทำให้สถานที่หลายแห่งได้รับความเสียหายจากระเบิด โดยเฉพาะสถานีรถไฟร่องรอยจากระเบิดพอที่จะมีให้เป็นสระน้ำหลังสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และลูกระเบิดที่ตั้งแสดงที่บันไดทางขึ้นที่ว่าการอำเภอ 2 ลูก นอกจากนี้วัดโคกหม้อเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยชุมพล เนื่องจากมีการรวมพลทหารญี่ปุ่นกันที่วัด
  • พ.ศ. 2483 ตำบลปากแพรกได้ยกฐานเป็นเทศบาลตำบลปากแพรก มีนายเนย ศิลปรัศมี เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก แต่เนื่องด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ได้มีการย้ายสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงจากพื้นที่ตำบลทุ่งสงมาตั้งอยู่ในตำบลปากแพรก ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 30 กิโลเมตร จึงเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่เรียกพื้นที่ตำบลปากแพรกว่า ทุ่งสง ตามชื่อสถานีรถไฟ
  • พ.ศ. 2500 ได้เกิดอัคคีภัยในตลาดทุ่งสงครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้บ้านเรือนถูกไฟเผาผลาญวอดวาย เศรษฐกิจจึงซบเซาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
  • พ.ศ. 2518 ได้แยกตำบลนาบอน ตำบลทุ่งสง และตำบลนาโพธิ์บางส่วน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาบอน ได้ยกฐานะเป็นอำเภอนาบอน เมื่อปี พ.ศ. 2524
  • พ.ศ. 2522 ได้แยกตำบลนาโพธิ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 3, 7, 8 และ 9 ไปเป็นตำบลเขาขาว
  • พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกตำบลบางขัน ตำบลลำนาว และตำบลวังหิน เป็นกิ่งอำเภอบางขันและได้ยกฐานะเป็นอำเภอบางขันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลปากแพรกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองทุ่งสง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547

การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข

การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข

อำเภอทุ่งสงมีพื้นที่ประมาณ 802.977 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 501,860.02 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.08 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ทั้งนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,942.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,214,064 ไร่

อำเภอทุ่งสงแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ออกเป็น 13 ตำบล 124 หมู่บ้านได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1]
แผนที่
1. ปากแพรก Pak Phraek
29,465
  
2. ชะมาย Chamai
8
14,082
3. หนองหงส์ Nong Hong
14
10,920
4. ควนกรด Khuan Krot
13
10,860
5. นาไม้ไผ่ Na Mai Phai
14
9,777
6. นาหลวงเสน Na Luang Sen
9
10,102
7. เขาโร Khao Ro
11
10,625
8. กะปาง Kapang
11
14,441
9. ที่วัง Thi Wang
11
14,432
10. น้ำตก Namtok
6
3,376
11. ถ้ำใหญ่ Tham Yai
11
12,353
12. นาโพธิ์ Na Pho
5
6,468
13. เขาขาว Khao Khao
12
14,091

การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข

ท้องที่อำเภอทุ่งสงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองทุ่งสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลที่วัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลที่วังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลชะมาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะมายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำใหญ่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกะปาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะปางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหงส์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหงส์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนกรดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาไม้ไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหลวงเสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหลวงเสนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาโร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาโรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำตกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขาวทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยวแก้ไข

ตำบลถ้ำใหญ่แก้ไข

เทศบาลเมืองทุ่งสงแก้ไข

การคมนาคมแก้ไข

การคมนาคมขนส่งของอำเภอทุ่งสงเป็นการคมนาคมทางบก มีทางหลวงสายต่าง ๆ และทางรถไฟเป็นเส้นทางติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกอำเภอทุ่งสงได้สะดวกโดยแยกออกเป็น

ทางรถไฟแก้ไข

 
สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง นครศรีธรรมราช

เนื่องจากอำเภอทุ่งสง เป็นที่ตั้งของสถานีชุมทางรถไฟ โดยมีชื่อว่า สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ดังนั้นรถไฟโดยสารทุกขบวนที่เดินทางผ่านสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จะต้องหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงนี้ ทำให้การเดินทางโดยรถไฟมายังและจากอำเภอทุ่งสง ได้รับความสะดวกอย่างยิ่ง เนื่องจากมีรถไฟให้เลือกใช้บริการหลายขบวนต่อวัน อีกทั้งยังมีชั้นโดยสารให้เลือกใช้บริการที่หลากหลาย

นอกจากนี้ สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ยังเป็นจุดแวะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำที่ใช้บนขบวนรถไฟอีกด้วย

ทางรถยนต์แก้ไข

ทางรถประจำทางปรับอากาศ
ทางรถ
รถตู้โดยสารประจำทางปรับอากาศ

สถานศึกษาแก้ไข

โรงเรียนแก้ไข

สถาบันอาชีวศึกษาแก้ไข

สถาบันอุดมศึกษาแก้ไข

ธนาคารแก้ไข

  1. ธนาคารเกียรตินาคิน สาขาทุ่งสง
  2. ธนาคารกรุงเทพ สาขาทุ่งสง
  3. ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัส ทุ่งสง
  4. ธนาคารกรุงไทย สาขาทุ่งสง
  5. ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดเกษตร
  6. ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยเทสโก้โลตัส ทุ่งสง
  7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาทุ่งสง
  8. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสหไทยพลาซ่า ทุ่งสง
  9. ธนาคารกสิกรไทย สาขาทุ่งสง
  10. ธนาคารกสิกรไทย สาขาสหไทยพลาซ่า ทุ่งสง
  11. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สาขาทุ่งสง
  12. ธนาคารทหารไทย สาขาทุ่งสง
  13. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาทุ่งสง
  14. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้โลตัส ทุ่งสง
  15. ธนาคารธนชาต สาขาย่อยเทสโก้โลตัส ทุ่งสง
  16. ธนาคารธนชาต สาขาทุ่งสง
  17. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาทุ่งสง
  18. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาที่วัง
  19. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาทุ่งสง
  20. ธนาคารออมสิน สาขาทุ่งสง
  21. ธนาคารออมสิน สาขาไทยสมบูรณ์ทุ่งสง
  22. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาย่อยทุ่งสง
  23. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขาทุ่งสง

อ้างอิงแก้ไข

  1. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.