เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่เจริญเติบโตมายาวนาน และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของภาคใต้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้รับการยกฐานะเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 104,354 คน[1] บนเนื้อที่ 22.56 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่ตั้งศาลากลางของจังหวัด และจัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ลำดับต้น ๆ ของภาคใต้ที่มีความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันของประเทศไทย
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช | |
---|---|
ถนนราชดำเนิน | |
พิกัด: 8°26′11″N 99°57′47″E / 8.43639°N 99.96306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | เมืองนครศรีธรรมราช |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | กณพ เกตุชาติ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22.56 ตร.กม. (8.71 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 104,354 คน |
• ความหนาแน่น | 4,625.62 คน/ตร.กม. (11,980.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03800102 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้เทศบาลนครนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มแรกได้ประกาศจัดตั้งเป็น "สุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช" ขึ้น เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2456[2] มีเนื้อที่ 3.00 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวัง ตำบลคลัง ตำบลประตูไชยเหนือ และตำบลพระเสื้อเมือง โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2474 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2474[3] มีเนื้อที่ 3.20 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าซัก[4]
ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น "เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478[5][6] โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2508[7] มีเนื้อที่ 11.72 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 10 ตำบลท่าเรือ บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลศาลามีชัย บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลนา บางส่วนของหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลปากนคร บางส่วนของหมู่ที่ 5 ตำบลปากพูน และบางส่วนของหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 ตำบลท่าซัก[8] และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536[9] มีพื้นที่ 22.56 ตารางกิโลเมตร โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์เสด็จ และบางส่วนของหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลนาเคียน
ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น "เทศบาลนครนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478[10][11]
ประชากร
แก้ปัจจุบันเทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีประชากรทั้งหมด 104,354 คน แบ่งเป็น ชาย 49,460 คน หญิง 54,894 คน
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช | 2551 | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 | 2557 | 2558 | 2559 | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำบลในเมือง | 46,538 | 46,249 | 45,960 | 45,308 | 44,965 | 44,520 | 44,279 | 44,024 | 43,678 | 43,327 | 42,844 | 42,398 | 41,988 | 41,665 | |
ตำบลคลัง | 19,701 | 19,474 | 19,503 | 19,211 | 18,888 | 18,562 | 18,395 | 18,161 | 17,835 | 17,568 | 17,295 | 17,040 | 15,957 | 15,727 | |
ตำบลท่าวัง | 17,991 | 18,145 | 18,134 | 18,075 | 17,953 | 17,818 | 17,651 | 17,520 | 17,380 | 17,346 | 17,078 | 16,854 | 16,647 | 16,506 | |
ตำบลโพธิ์เสด็จ | 23,460 | 23,551 | 24,198 | 24,430 | 24,566 | 24,732 | 24,828 | 24,973 | 24,893 | 24,952 | 24,776 | 24,664 | 24,625 | 24,548 | |
ตำบลนาเคียน | 1,067 | 1,088 | 1,112 | 1,119 | 1,108 | 1,145 | 1,169 | 1,166 | 1,162 | 1,161 | 1,199 | 1,196 | 1,199 | 1,206 | |
รวม | 108,757 | 108,507 | 108,907 | 108,143 | 107,480 | 106,777 | 106,322 | 105,844 | 104,948 | 104,354 | 103,192 | 102,152 | 100,416 | 99,652 | |
อ้างอิง: [12]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
รายชื่อประธานสุขาภิบาล และนายกเทศมนตรี
แก้สุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช | ||
---|---|---|
ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. พระยาศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมะ) | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 | |
2. พระยาประชากิจกรจักร์ (ทับ มหาเปารยะ) | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2462 | |
3. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | 5 มีนาคม พ.ศ. 2462 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2474 | |
4. พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2474 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 | |
5. พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐรัต) | 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 | |
6. พระอรรถนิพนธ์ปรีชา (ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา) | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 | |
7. พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ) | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 | |
เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช | ||
ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. นายสวาท มิตรกูล | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2480 | |
2. พระยาคณาศัยสุนทร (สา สุวรรณสาร) | 1 มกราคม พ.ศ. 2481 - 28 เมษายน พ.ศ. 2483 | |
3. จำเริญ ลิมปิชาติ | 29 เมษายน พ.ศ. 2483 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 | |
4. ร.ต.มงคล รัตนวิจิตร | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |
5. ขุนบูรณวาท (พร้อย ณ นคร) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 | |
6. นายปลื้ม กมุกะมกุล | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2492 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 | |
7. นายอุส่าห์ มิตรกูล | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2496 | |
8. ขุนบูรณวาท (พร้อย ณ นคร) | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2496 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2501 | |
9. นายไสว สวัสดิสาร | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 - 4 กันยายน พ.ศ. 2504 | |
10. นายเหรียญ สร้อยสนธิ์ | 12 กันยายน พ.ศ. 2504 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 | |
11. นายอุส่าห์ มิตรกูล | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 | |
12. นายนอง ปานชู | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 | |
13. นายไสว สวัสดิสาร | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | |
14. นายอนันต์ สงวนนาม | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2515 | |
15. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
16. นายจรัส เสือทอง | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | |
17. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2524 | |
18. ร.ต.อนุกูล สุภาไชยกิจ | 25 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 27 เมษายน พ.ศ. 2524 | |
19. นายบุญส่ง กิจวิบูลย์ | 27 เมษายน พ.ศ. 2524 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2528 | |
20. นายสมนึก เกตุชาติ | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2528 - | |
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช | ||
ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. นายสมนึก เกตุชาติ | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
|
2. ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564 |
ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.[13] |
3. ดร.กณพ เกตุชาติ | 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน |
ชุมชน
แก้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 67 ชุมชน ดังนี้
- ตำบลในเมือง จำนวน 21 ชุมชน
- ตำบลคลัง จำนวน มี 11 ชุมชน
- ตำบลท่าวัง จำนวน มี 14 ชุมชน
- ตำบลโพธิ์เสด็จ จำนวน มี 20 ชุมชน (บางส่วนของหมู่ที่ 1,2,3,7,9)
- ตำบลนาเคียน จำนวน มี 1 ชุมชน (บางส่วนของหมู่ที่ 3,4)
|
|
สภาพภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 33.6 (92.5) |
35.4 (95.7) |
38.0 (100.4) |
37.7 (99.9) |
37.1 (98.8) |
37.8 (100) |
38.5 (101.3) |
37.6 (99.7) |
37.7 (99.9) |
35.8 (96.4) |
35.4 (95.7) |
32.6 (90.7) |
38.5 (101.3) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.7 (85.5) |
31.1 (88) |
32.7 (90.9) |
33.8 (92.8) |
33.5 (92.3) |
33.5 (92.3) |
33.3 (91.9) |
33.3 (91.9) |
32.7 (90.9) |
31.4 (88.5) |
29.6 (85.3) |
29.2 (84.6) |
31.98 (89.57) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 25.8 (78.4) |
26.6 (79.9) |
27.7 (81.9) |
28.5 (83.3) |
28.3 (82.9) |
28.3 (82.9) |
28.0 (82.4) |
27.9 (82.2) |
27.5 (81.5) |
26.9 (80.4) |
26.1 (79) |
25.8 (78.4) |
27.28 (81.11) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21.8 (71.2) |
21.8 (71.2) |
22.3 (72.1) |
23.4 (74.1) |
23.9 (75) |
23.8 (74.8) |
23.3 (73.9) |
23.3 (73.9) |
23.1 (73.6) |
23.0 (73.4) |
22.9 (73.2) |
22.5 (72.5) |
22.93 (73.27) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.2 (63) |
17.2 (63) |
17.8 (64) |
18.6 (65.5) |
20.2 (68.4) |
20.6 (69.1) |
19.4 (66.9) |
19.6 (67.3) |
20.0 (68) |
20.2 (68.4) |
19.2 (66.6) |
19.2 (66.6) |
17.2 (63) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 174 (6.85) |
42 (1.65) |
45 (1.77) |
94 (3.7) |
170 (6.69) |
95 (3.74) |
108 (4.25) |
97 (3.82) |
161 (6.34) |
338 (13.31) |
643 (25.31) |
414 (16.3) |
2,381 (93.74) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 10 | 4 | 3 | 7 | 14 | 10 | 10 | 11 | 13 | 17 | 20 | 17 | 136 |
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[14] |
การศึกษา
แก้สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
แก้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแก้
|
โรงเรียนแก้
|
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แก้
สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1แก้
|
สพม.นครศรีธรรมราชแก้
|
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
แก้
ตำบลในเมืองแก้
|
ตำบลท่าวังแก้
ตำบลโพธิ์เสด็จแก้
ตำบลนาเคียนแก้
|
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
แก้
รัฐบาลแก้
|
เอกชนแก้
|
สถาบันอุดมศึกษา
แก้สาธารณสุข
แก้
สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราชแก้
|
สังกัดกระทรวงสาธารณสุขแก้สังกัดเอกชนแก้
|
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
- ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
- สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด)
- เก๋งจีนวัดแจ้ง
- เก๋งจีนวัดประดู่
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
- พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด)
- กำแพงเมืองเก่า
- พระวิหารสูง หรือ หอพระสูง
- เจดีย์ยักษ์
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.9
- หอพระพุทธสิหิงค์
- วัดเสมาเมือง
- วัดหน้าพระลาน
- วัดหน้าพระบรมธาตุ
- วัดสวนหลวง
- วัดท้าวโคตร
- วัดท่าโพธิ์วรวิหาร
- กุฏิทรงไทย วัดวังตะวันตก
- สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดชายนา
- จวนออกญาเสนาภิมุข
- อนุสาวรีย์เจ้าพระยานคร (น้อย)
- บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์
- หอพระอิศวร
- หอพระนารายณ์
- เสาชิงช้า
- อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
- สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช
- ศาลาประดู่หก (ศาลาโดหก)
- ศาลพระเสื้อเมือง นครศรีธรรมราช
- สระล้างดาบศรีปราชญ์
- ฐานพระสยม เทวาลัยไศวนิกาย
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดเสมาไชย
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดเสมาเมือง
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดหน้าพระลาน
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดประตูขาว
- ถนนพุทธภูมิ
- ถนนท่าชี หรือ ตลาดท่าชี
- ตลาดโบราณ วัดท้าวโคตร
การคมนาคม
แก้ทางถนน
แก้- ถนนและการเดินทางภายในเขตเทศบาล
- ถนนราชดำเนิน เป็นถนนสายหลักในย่านตัวเมืองนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้ขยายถนนราชดำเนินใหม่ เพื่อให้มีนาดใหญ่และสะดวกมากขึ้น โดยใช้อิฐจากกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ที่รื้อออกมาทำเป็นพื้นถนนราชดำเนิน ถนนราชดำเนิน เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องทางเดินรถ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ถนนราชดำเนิน เริ่มตั้งแต่ทางเข้า ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ไปจนถึง สี่แยกหัวถนน ถนนราชดำเนิน เป็นถนนที่สำคัญเป็นถนนแห่งอารยธรรม ประวัติศาสตร์ แหล่งธุรกิจ แหล่งการค้า ถนนเส้นนี้ ผ่านย่านธุรกิจท่าวัง ศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัด วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถนนสายนี้เคยมีโครงการนำสายไฟลงดินเป็นระบบเคเบิล "โครงการถนนสายวัฒนธรรม" ซึ่งจะดำเนินตั้งแต่สนามหน้าเมือง ไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
- ถนนอ้อมค่าย ถนนสายนี้เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ (บางช่วงมีความกว้าง 8 ช่องทางเดินรถ) เป็นถนนที่ผู้เดินทางส่วนใหญ่ใช้ในการเลี่ยงจากการเข้าใน ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ถนนเส้นนี้สิ้นสุดลงที่โรงพยาบาลนครินทร์ มีความยาวโดยประมาณ 6 กิโลเมตร
- ถนนพัฒนาการคูขวาง เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อน ถนนเส้นนี้จะเป็นถนนเปลี่ยวๆสายหนึ่ง แต่สำหรับในปัจจุบัน เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ถนนสายนี้นับได้ว่าเป็นถนนสายสำคัญและเป็นถนนเศรษฐกิจของเขตเทศบาล เพราะเป็นถนนที่มีศูนย์ธุรกิจ สำนักงาน ศูนย์การค้าตั้งอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ห้างโรบินสัน โอเชี่ยน ห้างเทสโก้ โลตัส เป็นต้น ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ไปสิ้นสุด ณ สามแยกนาหลวง ผู้ที่รีบร้อนโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้
- ถนนเทิดพระเกียรติ เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้เป็นคล้ายๆ ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช เพราะส่วนใหญ่คนขับรถที่เบื่อหน่าย กับรถติดบริเวณหน้าห้างโรบินสัน โอเชี่ยน หันมาใช้เส้นทางนี้ ถนนเส้นนี้ได้รับการบำรุงซ่อมแซมหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ถนนสายนี้ได้รับการซ่อมแซมและทำใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นบริเวณชานเมือง ผู้ที่ขับรถผ่านถนนสายนี้ สามารถชมทิวทัศน์ของทัศนียภาพแห่งพระบรมธาตุเจดีย์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งฉากข้างหลังยังเป็นเทือกเขาหลวง หรือ "เทือกเขานครศรีธรรมราช" อีกด้วย ถนนสายนี้เทศบาลมีความประสงค์ที่จะทำการขยายเมืองออกมาอีกด้วย ถนนสายนี้ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร
- ถนนกะโรม เป็นถนนขนาด 6 ช่องทางเดินรถ ถนนสายนี้เป็นถนนย่านธุรกิจอีกแห่งหนึ่งของเทศบาล เพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งธุรกิจมากมาย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว ที่โด่งดังของเมืองนคร ไม่ว่าจะเป็น น้ำตกกรุงชิง พระตำหนักเมืองนคร เขาหลวง น้ำตกพรหมโลก เป็นต้น ถนนสายนี้เป็นถนนคอนกรีต ซึ่งมีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร นับได้ว่าเป็นถนนสายเดียวที่กว้างที่สุดในเขตเทศบาล
- ถนนปากนคร เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่สี่แยกท่าวัง ไปจนถึงเทศบาลตำบลปากนคร มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
- ถนนศรีธามา เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณหลังกำแพงเมือง ไปยังทิศใต้บริเวณชุมชนประตูไชยสิทธิ์
- ถนนศรีธรรมโศก เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ ซึ่งเริ่มจากชุมชนประตูไชยสิทธิ์ไปยังถึงสี่แยกประตูขาว
- ถนนศรีปราชญ์ เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ ซึ่งเริ่มจากสี่แยกประตูขาวไปจนถึงแยกบูรณาราม
- ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เริ่มจากถนนศรีธามา อ้อมถนนราชดำเนิน ไปออกทางไป อำเภอพระพรหม
- ถนนเทวบุรี (โพธิ์เสด็จ) เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นเส้นทางลัดเลาะจากศาลากลางจังหวัด ไปยังตลาดหัวอิฐ และถนนกะโรม
- ถนนชลประทาน เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ เริ่มจากชุมชนสะพานยาว ไปจนถึงถนนสนามบิน นครศรีธรรมราช
- ถนนประตูลอด เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางเดินรถ เป็นแหล่งการค้าและการแข่งขันทางด้านธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม เชื่อมต่อกับถนนพัฒนาการคูขวาง
- ถนนมณีวัตร เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ ขณะนี้เป็นถนนที่กำลังเติบโตทางด้านการแข่งขันทางด้านการก่อสร้างอาคาร และ บ้านพัก
- ถนนเอกนคร เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางเดินรถ เป็นแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ของเมืองนคร
- และอีกมากมาย
- สะพานและคลองในเขตเทศบาล
- สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองราเมศร์
- สะพานราเมศร์วรสินธู-ถนนอ้อมค่าย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองราเมศร์
- สะพานนครน้อย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองหน้าเมือง
- สะพานนครน้อย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองหน้าเมือง
- สะพานนครน้อย-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองหน้าเมือง
- สะพานนครน้อย-ถนนศรีธรรมราช ข้ามคลองหน้าเมือง
- สะพานท่าเรียน-ถนนกะโรม ข้ามคลองท่าเรียน
- สะพานป่าเหล้า-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองป่าเหล้า
- สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองป่าเหล้า
- สะพานป่าเหล้า-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองป่าเหล้า
- สะพานป่าเหล้า-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานสวนหลวง-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานสวนหลวง-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานสวนหลวง-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานคูพาย-ถนนราชดำเนิน ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการคูขวาง ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานคูพาย-ถนนเทิดพระเกียรติ ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานคูพาย-ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง ข้ามคลองสวนหลวง
- สะพานยาว-ถนนสะพานยาว ข้ามคลองท่าเรียน
- ทางหลวงที่สำคัญ
- ทางหลวง 401 นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี
- ทางหลวง 403 นครศรีธรรมราช - ทุ่งสง - ตรัง - กันตัง
- ทางหลวง 408 นครศรีธรรมราช - หัวไทร - สงขลา
- ทางหลวง 4016 นครศรีธรรมราช - นบพิตำ
- ทางหลวง 4015 นครศรีธรรมราช - ลานสกา - จันดี - สุราษฎร์ธานี (บ้านส้อง)
- ทางหลวง 4013 นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
- ทางหลวง 4103 ถนนเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช ทางทิศตะวันตก
- ทางหลวง 4012 นครศรีธรรมราช - ท่าแพ
- รถโดยสารในเขตเทศบาล
- สายหัวถนน-สนามกีฬา
- สายสนามหน้าเมือง-ค่ายวชิราวุธ
- สายท่าแพ-สนามหน้าเมือง
- สายวิทยาลัยนาฏศิลป์-ห้างโลตัส-ห้างโรบินสัน-ท่าแพ
- สายห้างโรบินสัน-ท่าวัง
- สายบขส.-สถานีรถไฟ-ห้างโรบินสัน-ห้างโลตัส-สี่แยกหัวถนน
- สายม.ราชภัฏ
- สายน้ำแคบ
- รถตู้โดยสารประจำทางปรับอากาศ
- นครศรีธรรมราช - ขนอม
- นครศรีธรรมราช - สมุย
- นครศรีธรรมราช- ยะลา
- นครศรีธรรมราช- หาดใหญ่
- นครศรีธรรมราช - สิชล
- นครศรีธรรมราช - ท่าศาลา - ม.วลัยลักษณ์
- นครศรีธรรมราช- ดอนสัก
- นครศรีธรรมราช- สุราษฎร์ธานี
- นครศรีธรรมราช- กระบี่
- นครศรีธรรมราช- ภูเก็ต
- นครศรีธรรมราช- ตรัง
- นครศรีธรรมราช- เกาะลันตา
- นครศรีธรรมราช- บ้านส้อง
- นครศรีธรรมราช- ชุมพร
- นครศรีธรรมราช- ปัตตานี
- นครศรีธรรมราช - ทุ่งสง
- นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
- นครศรีธรรมราช - หัวไทร
- นครศรีธรรมราช - เชียรใหญ่
- นครศรีธรรมราช - ชะอวด
- นครศรีธรรมราช - ทุ่งใหญ่
- ทางรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
- นครศรีธรรมราช - กระบี่
- นครศรีธรรมราช- ภูเก็ต
- นครศรีธรรมราช- สุราษฎร์ธานี
- นครศรีธรรมราช - เกาะสมุย
- นครศรีธรรมราช- ระนอง
- นครศรีธรรมราช- หาดใหญ่
- นครศรีธรรมราช- สงขลา
- นครศรีธรรมราช - พัทลุง
- นครศรีธรรมราช- สุไหงโก-ลก
- นครศรีธรรมราช - บ้านส้อง
- นครศรีธรรมราช- สุไหงโกลก
- นครศรีธรรมราช- ทุ่งสง
- นครศรีธรรมราช- ปากพนัง
- นครศรีธรรมราช- ดอนสัก -ท่าเรือเฟอรี่
- นครศรีธรรมราช- ยะลา
- นครศรีธรรมราช- ตรัง
- กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช
- กรุงเทพฯ- นครศรีธรรมราช - ปากพนัง
ทางราง
แก้- ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพอภิวัฒน์ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถเร็วที่ 173/174 กรุงเทพอภิวัฒน์ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพอภิวัฒน์ (งดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 451/452 นครศรีธรรมราช - สุไหงโก-ลก – นครศรีธรรมราช
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 455/456 นครศรีธรรมราช – ยะลา – นครศรีธรรมราช
ทางอากาศ
แก้- ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 17 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน แต่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมายังเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "พระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2456" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2474
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2475
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2478" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2484
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2508" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2509
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2537" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
- ↑ http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/30319/6/Pradit_tip_ch2.pdf ประวัติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "Climate Normals for Nakhon Si Thammarat". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.