อำเภอช้างกลาง

อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ช้างกลาง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอฉวางทั้งหมด ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539[1] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550[2] ท้องที่อำเภอมีทางรถไฟสายใต้ผ่าน มีสถานีรถไฟหลักช้าง เป็นสถานีรถไฟย่อยประจำอำเภอ

อำเภอช้างกลาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chang Klang
คำขวัญ: 
ตำนานเมืองคล้องช้าง น้ำยางพันธุ์ดี
มากมีผลไม้ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอช้างกลาง
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอช้างกลาง
พิกัด: 8°22′27″N 99°34′5″E / 8.37417°N 99.56806°E / 8.37417; 99.56806
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด232.5 ตร.กม. (89.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด28,378 คน
 • ความหนาแน่น122.06 คน/ตร.กม. (316.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80250,
80220 (เฉพาะหมู่ที่ 8, 16 ตำบลช้างกลาง)
รหัสภูมิศาสตร์8022
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอช้างกลาง เลขที่ 9 หมู่ที่ 7 ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอช้างกลางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ แก้

ท้องที่อำเภอช้างกลางเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอฉวาง กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอช้างกลาง โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอช้างกลาง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอช้างกลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
แผนที่
1. ช้างกลาง Chang Klang
17
15,606
  
2. หลักช้าง Lak Chang
10
7,658
3. สวนขัน Suan Khan
9
4,876

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอช้างกลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

สถานที่สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอช้างกลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 32. June 26, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.