จังหวัดพังงา

จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก พังงา)

พังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

จังหวัดพังงา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phang Nga
คำขวัญ: 
แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา
ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ว่าง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด4,170.895 ตร.กม. (1,610.392 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 53
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด267,057 คน
 • อันดับอันดับที่ 71
 • ความหนาแน่น64.02 คน/ตร.กม. (165.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 68
รหัส ISO 3166TH-82
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เทพทาโร
 • ดอกไม้จำปูน
 • สัตว์น้ำเต่าตนุ
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนพังงา-ทับปุด ตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000
 • โทรศัพท์0 7641 2134
 • โทรสาร0 7641 2140
เว็บไซต์www.phangnga.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชื่อเรียก

แก้

เดิมจังหวัดพังงาเรียกว่า เมืองภูงา ซึ่งเป็นชื่อของ เขางา เขาพังงา เขากราภูงา หรือ เขาพังกา (ภาษามลายูแปลว่า ป่าน้ำภูงา) โดยเมืองภูงานั้นขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การตั้งชื่อว่า เมืองภูงา อาจสอดคล้องกับเมืองภูเก็ต เหตุที่ชื่อเปลี่ยนจากภูงาเป็นพังงา สันนิษฐานว่า เนื่องจากเมืองภูงามีต่างชาติเข้ามาติดต่อซื้อแร่ดีบุกจำนวนมาก จึงเขียนชื่อเมืองว่า Phunga หรือ Punga อ่านว่า ภูงา พังงา หรือ พังกา ต่อมาจึงออกเสียงเพี้ยนมาเป็น "พังงา"[3]

ประวัติ

แก้

จังหวัดพังงาเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ เช่น เศษเครื่องปั้นดินเผา กำไลหิน และเปลือกหอยบริเวณถ้ำในวัดสุวรรณคูหา อำเภอตะกั่วทุ่ง และภาพเขียนสีที่ผนังเขาเขียน อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา[3]

ในขณะที่มีการตั้งเมืองถลางที่พังงา พ.ศ. 2365 เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึก ไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า "เมืองนี้มีผู้คนอยู่ไม่เกิน 100 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกระท่อมซึ่งปลูกติดต่อกันประมาณ 30 หลังคาเรือน เป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกราก บ้านเรือนกว้างใหญ่สะดวกสบายและสร้างอย่างเป็นระเบียบ"[4]

เมื่อภัยคุกคามจากพม่าลดลงและพม่าสูญเสียมณฑลอารกันและตะนาวศรีให้อังกฤษ รัฐบาลจึงได้ย้ายผู้คนจากพังงาไปตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2367 จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงส่วนภูมิภาคทางหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกตอนบน ยกเมืองพังงาขึ้นเป็นเมืองโทขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองถลาง ตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่าขึ้นตรงต่อเมืองพังงา

เมืองพังงาเริ่มขยายตัวและเจริญตามลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2383 โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล ต่อมา พ.ศ. 2437 มีการปฏิรูปการปกครองมณฑลภูเก็ต พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ ณ นคร) เจ้าเมืองพังงาถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแบ่งพื้นที่ท้องที่การปกครองในเมืองพังงาออกเป็นอำเภอและตำบลต่าง ๆ การแบ่งพื้นที่นี้ได้โอนเมืองตะกั่วทุ่งมาเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองพังงา และแบ่งเมืองพังงาออกเป็น 4 อำเภอ 24 ตำบล จน พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองพังงาเป็น "จังหวัดพังงา" ครั้นเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ยุบจังหวัดตะกั่วป่าลดฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพังงา เมื่อ พ.ศ. 2473[3]

สภาพทางภูมิศาสตร์

แก้

จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

และมีเกาะต่าง ๆ อยู่ในทะเลอันดามันมากถึง 155 เกาะ นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะมากที่สุดในประเทศไทย[5]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แก้

หน่วยการปกครอง

แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองพังงา
  2. อำเภอเกาะยาว
  3. อำเภอกะปง
  4. อำเภอตะกั่วทุ่ง
  5. อำเภอตะกั่วป่า
  6. อำเภอคุระบุรี
  7. อำเภอทับปุด
  8. อำเภอท้ายเหมือง 

  

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา เป็นองค์การที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพังงา มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 24 คน[6]

ภายในพื้นที่ของจังหวัดพังงาแบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างหรือระดับพื้นฐานจำนวนทั้งหมด 51 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมือง 2 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง[7] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดพังงาจำแนกตามอำเภอ มีดังนี้

  • อำเภอเกาะยาว
    • เทศบาลตำบลเกาะยาว
    • เทศบาลตำบลพรุใน
    • เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่
  • อำเภอคุระบุรี
    • เทศบาลตำบลคุระบุรี
  • อำเภอตะกั่วทุ่ง
    • เทศบาลตำบลกระโสม
    • เทศบาลตำบลโคกกลอย
  • อำเภอทับปุด
    • เทศบาลตำบลทับปุด
  • อำเภอท้ายเหมือง
    • เทศบาลตำบลท้ายเหมือง
    • เทศบาลตำบลลำแก่น

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา

แก้
ที่ รายนาม/รายพระนาม ตั้งแต่ ถึง
1 หลวงศิริสมบัติ (เชย) 2441 2446
2 พระพินิจราชการ (ปิ๋ว บุนนาค) 2446 2450
3 พระยาบริรักษ์ภูธร (พลอย ณ นคร) 7 ส.ค. 2450 11 ธ.ค 2455
4 หลวงชินเขตรบรรหาร (สวาสดิ์ ณ นคร) 2455 13 ม.ค. 2456
5 พระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม เดชะคุปต์) 13 ม.ค. 2456 6 ส.ค. 2459
6 หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ 6 ส.ค. 2459 28 มี.ค. 2462
7 พระยาศิริธรรมบริรักษ์ (ทับ มหาเปารยะ) 28 มี.ค. 2462 2 ก.พ. 2468
8 พระอาคมคุติกร (สุดใจ ชลายนคุปต์) 18 เม.ย. 2469 18 พ.ค. 2472
9 พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) 18 พ.ค. 2472 7 มี.ค. 2476
10 พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) 3 มี.ค. 2476 1 ม.ค. 2480
11 หลวงนรกิจกำจร (ชื้น วรคามิน) 15 ม.ค. 2480 ธ.ค. 2481
12 หลวงรักษ์นราทร (โชค ชมธวัช) 11 ก.พ. 2482 21 เม.ย. 2484
13 นายพืชน์ เดชะคุปต์ 2 พ.ค. 2484 7 เม.ย. 2485
14 หลวงสฤษดิ์สารารักษ์ (เปรม สฤษดิ์สารารักษ์) 29 เม.ย. 2485 11 ก.ย. 2487
15 ขุนเสถียรประศาสน์ (เยื้อน ณ ตะกั่วทุ่ง) 11 ก.ย. 2487 1 มี.ค. 2490
16 นายจรูญ ณ สงขลา 5 พ.ค. 2490 13 ธ.ค. 2490
17 นายถนอม วิบูลมงคล 29 ธ.ค. 2490 1 ธ.ค. 2491
18 ขุนปัญจพรรคพิบูล (พิบูล ปัญจพรรค) 20 ธ.ค. 2491 1 มี.ค. 2493
19 นายเชวง ไชยสุต 1 มี.ค. 2493 3 เม.ย. 2496
20 นายพุก ฤกษ์เกษม 3 เม.ย. 2496 12 พ.ย. 2497
21 ขุนบุรราษฎร์นราภัย (สอาด สูตะบุตร) 12 พ.ย. 2497 6 ม.ค. 2499
22 นายเฉลิม ยูปานนท์ 6 ม.ค. 2499 23 พ.ค. 2500
23 นายฉลอง รมิตานนท์ 23 พ.ค. 2500 23 ก.ย. 2501
24 นายชู สุคนธมัต 23 ก.ย. 2501 18 พ.ย. 2506
25 นายพร บุณยประสพ 4 ธ.ค. 2506 4 มี.ค. 2509
26 นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ 16 มี.ค. 2509 23 พ.ค. 2512
27 นายมนตรี จันทรปรรณิก 1 มิ.ย. 2512 1 ก.ค. 2514
28 นายมนัส เจริญประสิทธิ์ 1 ก.ค. 2514 30 ก.ย. 2516
29 นายอนันต์ สงวนนาม 1 ต.ค. 2516 30 ก.ย. 2517
30 นายธวัช มกรพงศ์ 1 ต.ค. 2517 30 ก.ย. 2518
31 นายเชาน์วัศ สุดลาภา 1 ต.ค. 2518 23 ก.ค. 2520
32 นายธานี โรจนาลักษณ์ 6 ส.ค. 2520 6 ต.ค. 2521
33 นายสืบ รอดประเสริฐ 8 ต.ค. 2521 8 ต.ค. 2525
34 นายพร อุดมพงษ์ 8 ต.ค. 2525 30 ก.ย. 2528
35 ร้อยเอก ยงยุทธ บุญยวัฒน์ 1 ต.ค. 2528 30 ก.ย. 2532
36 ร้อยตรี ณรงค์ แสงสุริยงค์ 1 ต.ค. 2532 30 ก.ย. 2533
37 นายอนันต์ แจ้งกลีบ 1 ต.ค. 2533 30 ก.ย. 2534
38 ร้อยเอก เอก กาญจนาคพันธุ์ 1 ต.ค. 2534 30 ก.ย. 2536
39 นายปรีชา รักษ์คิด 5 ต.ค. 2536 30 ก.ย. 2539
40 นายดิเรก อุทัยผล 1 ต.ค. 2539 30 ก.ย. 2541
41 นายดุสิต จันทรบุตร 12 ม.ค. 2541 1 ก.ค. 2541
42 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช 1 ต.ค. 2541 30 ก.ย. 2542
43 นายอำนวย รองเงิน 1 ต.ค. 2542 30 ก.ย. 2544
44 นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช 1 ต.ค. 2544 15 ก.ค. 2546
45 นายสมัชชา โพธิ์ถาวร 16 ก.ค. 2546 30 ก.ย. 2547
46 นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ 1 ต.ค. 2547 30 ก.ย. 2548
47 นายวินัย บัวประดิษฐ์ 1 ต.ค. 2548 30 ก.ย. 2550
48 นายวิชัย ไพรสงบ 1 ต.ค. 2550 19 ต.ค. 2551
49 นายเยี่ยมสุริยา พาลุสุข 20 ต.ค. 2551 30 ก.ย. 2553
50 นายธำรงค์ เจริญกุล 1 ต.ค. 2553 6 ก.ค. 2557
51 นายประยูร รัตนเสนีย์ 17 พ.ย. 2557 30 ก.ย. 2558
52 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ 2 ต.ค. 2558 30 ก.ย. 2560
53 นายสิทธิชัย ศักดา 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561
54 นายศิริพัฒ พัฒกุล 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562
55 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2565
56 นายเอกรัฐ หลีเส็น 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566
57 นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย 1 ต.ค. 2566 16 พ.ย. 2567

สถานศึกษา

แก้
อุดมศึกษา
การศึกษาพิเศษ
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา
โรงเรียน

การขนส่ง

แก้

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

แก้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

แก้

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ

น้ำตกตำหนัง เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 63 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร น้ำตกโตนต้นเตย เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 45 เมตร ตามทางเดินจะผ่านจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นป่าเขาที่สมบูรณ์ของอุทยาน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

แก้

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลันได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา และปลาไหลมอเรย์ (moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

แก้

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

หมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นที่บังคลื่นลมได้ดีทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ มอแกน หรือ “ยิบซีแห่งท้องทะเล” ประมาณ 200 คน ปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

แก้

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัด 190,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.17 ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ (พ.ศ. 2539) เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น

อุทยานอื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 14 มีนาคม 2565.
  3. 3.0 3.1 3.2 "บันทึกประเทศไทย ฉบับที่ 97 - จังหวัดพังงา".
  4. เจมส์ โลว์. (2542). จดหมายเหตุร้อยโทเจมส์โลว์“Journal of Public Mission to Raja of Ligor” แปลและเรียบเรียงโดย นันทา วรเนติวงศ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. หน้า 61–63.
  5. "แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย". แฟนพันธุ์แท้. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  6. "สมาชิกสภาอบจ". องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2024.
  7. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

8°27′N 98°32′E / 8.45°N 98.53°E / 8.45; 98.53