พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล)
มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทราชา สยามราชภักดี พิริยะพาหะ (นกยูง วิเศษกุล) [1] มีนามเดิมว่า นกยูง วิเศษกุล อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข อดีตสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เป็นผู้แปลนวนิยายเรื่อง ความพยาบาท จากเรื่อง Vendetta ของมารี คอเรลลี ใช้นามปากกา "แม่วัน" ถือเป็นนิยายแปลเล่มแรกของไทย[2] ซึ่งนิยายแปลเล่มแรกนี้ยังส่งผลให้เกิดนิยายภาษาไทยเล่มแรกคือ ความไม่พยาบาท ในปี พ.ศ. 2458 แต่งโดยนายสำราญ หรือหลวงวิลาศปริวัตร (ครูเหลี่ยม) โดยได้รับอิทธิพลหลังจากได้อ่านนิยายแปลเล่มดังกล่าว
มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) | |
---|---|
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2418 |
เสียชีวิต | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (66 ปี) |
นามปากกา | แม่วัน |
อาชีพ | รับราชการ |
สัญชาติ | สยาม, ไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา |
พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เดิมมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ถือศักดินา 600 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2441[3] เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรเกษตรศิลป์ ถือศักดินา 800 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2453[4]ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2457[5] และได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทราชา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สืบต่อจาก พระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ที่เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)[6] ต่อมาจึงได้ย้ายไปรับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468[7]จากนั้นจึงได้ย้ายมารับตำแหน่ง อธิบดีกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470 ก่อนจะถูกปลดออกจากประจำการรับพระราชทานบำนาญเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475[8]
พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมรสกับคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา มีธิดา 4 คน [9] คนสุดท้องคือหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร) พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) และคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา จึงเป็นพระสสุระและพระสัสสุในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภา
พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริอายุได้ 62 ปี
จากการที่ท่านเป็นผู้แปลนวนิยายเรื่องแรกของไทย ทำให้ได้รับการยกย่องจากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อรางวัลประจำปีที่มอบให้กับนักแปล และล่ามดีเด่น ใช้ชื่อรางวัลว่า "รางวัลสุรินทราชา" [10]
และในปัจจุบัน มีถนนวิเศษกุล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน[11]
รับราชการและยศตำแหน่ง
แก้- 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 จ่า[12]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2454 รั้งเจ้ากรมเพาะปลูก[13]
- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 อำมาตย์ตรี[14]
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 อำมาตย์โท[15]
- 10 กุมภาพันธ์ 2454 – อำมาตย์เอก[16]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 เจ้ากรมเพาะปลูก[17]
- 3 มกราคม 2456 – นายหมู่ตรี[18]
- – รักษาราชการแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
- 29 สิงหาคม 2457 – อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
- 15 กันยายน 2457 – มหาอำมาตย์ตรี[19]
- 10 พฤศจิกายน 2457 – พระยาอจิรการประสิทธิ์[20]
- 15 พฤศจิกายน 2457 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[21]
- 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จางวางตรี[22]
- 20 มกราคม 2462 – อาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[23]
- 2 กรกฎาคม 2463 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[24]
- 20 กรกฎาคม 2463 – สภานายกกรรมการจัดการลูกเสือมณฑลภูเก็ต[25]
- 10 สิงหาคม 2463 – นายกองโท[26]
- 20 กันยายน 2463 – รักษาราชการแทนผู้บัญชาการกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต[27]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2464 จางวางโท[28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[30]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[32]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[33]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[34]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[35]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[36]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "อัศจรรย์อสัญวาร หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- ↑ กำแพงสามชั้น...ของงานแปล
- ↑ ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า 2396)
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดอธิบดีกรมนคราทร
- ↑ ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2549. 240 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
- ↑ "วันนักแปลและล่าม ครั้งที่ 3" พ.ศ. 2552[ลิงก์เสีย]
- ↑ ยืนหยัด ใจสมุทร. ตรัง : เมืองท่าโบราณสองพันปี นายกรัฐมนตรีสองยุค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2539. 161 หน้า. ISBN 974-7115-60-3
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกระทรวงฯเกษตราธิการ เรื่อง ย้ายพระวิสูตรเกษตรศิลป์ข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ตมารับราชการในกรมเพาะปลูกและให้หลวงพินิจพืชการเป็นข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ต
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า 1782)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ
- ↑ เลื่อนและตั้งยศนายกองนายหมู่เสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ รายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนยศบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ
- ↑ "รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 กรกฎาคม 1920.
- ↑ "ประกาศตั้งสภานายกกรรมการจัดการลูกเสือมณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 กรกฎาคม 1920.
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า เรื่อง ย้ายและบรรจุสมาชิกเสือป่ารับราชการ
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า 2931)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕๖, ๑ มกราคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๒, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๗, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๒๖, ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๙๙, ๖ มีนาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๙, ๒๗ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๓, ๘ เมษายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๒, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๓