พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
พลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
![]() | |
หม่อม | หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา |
ราชสกุล | อาภากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
พระมารดา | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ |
ประสูติ | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 |
สิ้นพระชนม์ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (41 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ศาสนา | พุทธ |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา แปลก พิบูลสงคราม |
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474 – 19 เมษายน พ.ศ. 2486 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณนิติธาดา |
ก่อนหน้า | พระยาศรีสุทัศน์ |
ถัดไป | พระยาพิพิธอำพล |
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2476 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณนิติธาดา พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ |
ถัดไป | พระยาสุริยเดชรณชิต |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
บริการ/ | กองทัพเรือไทย |
ชั้นยศ | ![]() ![]() ![]() |
พระประวัติ แก้ไข
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 มีพระนามแรกประสูติว่า หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา มีพระโสทรภราดา 2 องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446
- พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508)
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ พระมารดาได้ปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง เนื่องจากทรงน้อยพระทัยพระสวามี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภาไปทรงเลี้ยงดู ทรงเอ็นดูเป็นพิเศษและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452[2]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[3]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เสกสมรสกับหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิเศษกุล) นางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 ไม่ทรงมีพระทายาท
พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม), พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)[4] และทรงลาออกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487[5] โดยในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[6]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 สิริพระชันษา 42 ปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส
พระยศและตำแหน่ง แก้ไข
- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470 - เรือตรีพิเศษ[7]
- - เลขานุการ มณฑลนครศรีธรรมราช
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 - ปลัดกรมกองบัญชาการกระทรวงมหาดไทย[8]
- 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - เรือโท[9]
- - ปลัดกรมเวรวิเศษ
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2473 - รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[10]
- 8 ตุลาคม พ.ศ. 2474 - อำมาตย์โท[11]
- 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474 - ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[12]
- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2474 - เรือเอก[13]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2476 - ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต[14]
- 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 - นาวาตรี[15]
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - นาวาเอก[16]
- 3 มกราคม พ.ศ. 2478 - พันเอก[17]
- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 - นาวาอากาศเอก[18]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2482 - พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี[19]
- 23 กันยายน พ.ศ. 2486 - พลเรือโท พลอากาศโท
พระเกียรติยศ แก้ไข
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ แก้ไข
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 : หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ แก้ไข
- พ.ศ. 2478 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2481 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[26]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[27]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- อิตาลี :
- สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. 2481 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์วิกตอเรีย ชั้น Knight Grand Cross[29]
- ไรช์เยอรมัน :
- พ.ศ. 2485 - เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 1[30]
พงศาวลี แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ขึ้นเป็นพระหลานเธอพระองค์เจ้า, เล่ม 26, ตอน 0ก, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452, หน้า 84
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 61, ตอน 45ก, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487, หน้า 730
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ, เล่ม 55, ตอน 0 ก, 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481, หน้า 672
- ↑ พระราชทานยศทหาร
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายเปลี่ยนและบรรจุผู้ว่าราชการจังหวัด
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ แจ้งความ
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๙๘๑ เล่ม ๕๒, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒๙๔๒ เล่ม ๕๗, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๐๓๓ เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๖, ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๘๐๒ เล่ม ๕๕, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๘๐๐ เล่ม ๕๖, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒๙๔๒ เล่ม ๕๗, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน หน้า ๑๙๔๗ เล่ม ๕๘, ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพยอาภาในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์, เล่ม 25, ตอน 49, 7 มีนาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1423
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
- ↑ 29.0 29.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481, หน้า 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 59 ตอนที่ 80 หน้า 3101, 22 ธันวาคม 2485
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- ลดา รุธิรกนก, มณีในอาทิตย์, ประวัติ-ชีวิตรักพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา-หม่อมกอบแก้ว, พ.ศ. 2549