หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร

พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ อดีตรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรองผู้บังคับการกองบินยุทธการ และอดีตเอกอัครราชทูตกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
หม่อมเจ้าชั้น 5
ประสูติ11 สิงหาคม พ.ศ. 2449
สิ้นชีพตักษัย30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
พระราชทานเพลิง22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
หม่อมหม่อมราชวงศ์ไพเราะ อาภากร
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ทิพย์ไพเราะ ศรโชติ
หม่อมราชวงศ์ดารณี วัฒนายากร
หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร
ราชสกุลอาภากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระมารดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
ศาสนาพุทธ
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
แปลก พิบูลสงคราม
เอกอัครราชทูตไทยประจำฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2501 – 2508
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
บริการ/สังกัดกองทัพอากาศไทย
ชั้นยศ พลอากาศโท

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร มีพระนามลำลองว่า ท่านชายรัง[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ประสูติเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นทรงรับราชการในกองทัพอากาศในตำแหน่งรองผู้บังคับการกองบินยุทธการในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นโอนไปทรงรับราชการกระทรวงการต่างประเทศในตำแหน่งเอกอัครราชทูตกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

หม่อมเจ้ารังษิยากรเสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ไพเราะ (ราชสกุลเดิม กฤดากร; ธิดาหม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร) มีโอรสธิดา 3 คน คือ[2]

  • หม่อมราชวงศ์ทิพย์ไพเราะ สมรสกับสุคนธ์ ศรโชติ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
    • อรทิพย์ รวคนธ์
    • ภัทเรก ศรโชติ
  • หม่อมราชวงศ์ดารณี สมรสกับ นายแพทย์วิบูลย์ วัฒนายากร มีบุตรธิดา 2 คน คือ
    • สลีลา วัฒนายากร
    • สิทธิ วัฒนายากร
  • หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร

หม่อมเจ้ารังษิยากรสิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 สิริชันษา 59 ปี[3] พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ต่างประเทศ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  2. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  3. กองทัพอากาศพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ม.ป.ช., ,ม.ว.ม., ท.จ. ร.ก., ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2509.
  4. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 82 ตอนที่ 111 วันที่ 23 ธันวาคม 2508
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  6. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานองพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๑๒๐๙ เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เล่ม 79 ตอนที่ 83 ราชกิจจานุเบกษา 8 กันยายน 2505
  9. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๖๒ เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๙๙
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ